ความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ของต่อมไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์

ทำความเข้าใจกับระดับ TSH ที่ต่ำและสูง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ของต่อมไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทั้งแม่และทารกที่กำลังเจริญเติบโต แนวทางวินิจฉัยและการรักษาโรคไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดของสมาคมไทรอยด์แห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งรวมถึง

  • ต่อมไทรอยด์ในผู้หญิงที่ไม่ได้มีการขาดไอโอดีน มักมีขนาดเพิ่มขึ้นประมาณ​ 10% ระหว่างการตั้งครรภ์
  • ต่อมไทรอยด์ในผู้หญิงที่มีการขาดไอโอดีน มักมีขนาดเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 20-40% ระหว่างการตั้งครรภ์
  • โดยทั่วไป การผลิต thyroxine (T4) และ  triiodothyronine (T3) มักเพิ่มขึ้น 50% ระหว่างการตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้น 50% จากความต้องการปกติต่อวัน
  • ขอบบนของค่ามาตรฐานของ thyroid-stimulating hormone (TSH) จะต่ำลงอยู่ที่ 2.5 mIU/L ในช่วงไตรมาสแรก
  • หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกประมาณ 10-20% มีค่า thyroid peroxidase (TPO) หรือ thyroglobulin (Tg) antibody เป็นบวก แม้ว่าระดับ TSH อยู่ในระดับปกติ
  • มีการประมาณว่าผู้หญิงที่มีค่า TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่มีค่า TPO หรือ Tg antibodies เป็นบวกในไตรมาสแรกประมาณ 16% จะมีระดับ TSH สูงกว่า 4.0 mIU/L ในไตรมาสที่ 3
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีค่า TPO หรือ Tg antibodies เป็นบวกในไตรมาสแรกประมาณ 33-50% จะมีภาวะไทรอยด์อักเสบหลังคลอด

ผู้เขียนแนวทางปฏิบัตินี้ได้กล่าวว่า “การคั้งครรภ์ถือเป็นความเครียดต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในผู้หญิงที่มีการสำรองไทรอยด์ฮอร์โมนจำกัดหรือขาดไอโอดีน และเกิดไทรอยด์อักเสบหลังคลอดในผู้หญิงที่เป็น Hashimoto’s disease ที่มีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนปกติก่อนการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเปลี่ยนแปลงของการทำงานของต่อมไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์

เนื่องจากการทำงานของต่อมไทรอยด์มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์ แนวทางปฏิบัติจึงได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานของการทดสอบไทรอยด์ โดยเฉพาะการทดสอบ TSH ตามแต่ละไตรมาส

โดยได้แนะนำต่อว่าหากห้องปฏิบัติการที่ตรวจนั้นไม่มีค่ามาตรฐานระหว่างแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ของตนเอง ควรอ้างอิงค่ามาตรฐานดังต่อไปนี้

  • ไตรมาสที่ 1 : 0.1-2.5 mIU/L
  • ไตรมาสที่ 2 : 0.2-3.0 mIU/L
  • ไตรมาสที่ 3 : 0.3-3.0 mIU/L

หากคุณมีโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ คุณจะต้องมีการตรวจติดตามการทำงานของไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหากคุณมีประวัติโรคไทรอยด์ในครอบครัวหรือมีอาการเข้าได้กับโรคไทรอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบ

โรคของต่อมไทรอยด์ระหว่างการตั้งครรภ์

การรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากไม่รักษาจะทำให้เกิดการพัฒนาของร่างกายและกล้ามเนื้อช้าในทารกได้ หากคุณมีภาวะนี้ อย่าหยุดรับประทานยาระหว่างการตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษหรือการคลอดก่อนกำหนดได้ ผู้หญิงที่เป็นโรค Graves disease ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติชนิดรุนแรงที่เรียกว่า thyroid storm

ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงแต่ไม่ได้รับการรักษาอาจมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย หัวใจเต้นเร็ว และมีความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ทารกตายคลอดได้ และหลังจากการคลอดบุตรแล้ว พบว่าผู้หญิงบางคน (น้อยกว่า 10%) อาจเกิดภาวะไทรอยด์อักเสบหลังคลอด ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาไทรอยด์ และผู้หญิงส่วนมากมักจะสามารถลดและหยุดยาได้ภายใน 6-12 เดือน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Underactive thyroid (hypothyroidism) - Complications. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/underactive-thyroid-hypothyroidism/complications/)
Thyroid Disease's Effect on Fertility and Pregnancy. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-effects-of-pregnancy-on-the-thyroid-and-tsh-levels-3232932)
8 Hypothyroidism during Pregnancy Effects on Baby. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hypothyroidism_during_pregnancy/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแท้งคุกคามและภาวะซีดอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค

อ่านเพิ่ม
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังจากผ่าตัดมดลูกว่าเป็นไปได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม