นมถั่วเหลือง คือ เครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลือง ด้วยการนำถั่วเหลืองมาบดปั่นกับน้ำเปล่าแล้วคั้นกรองเอากากทิ้ง แล้วเอาเฉพาะน้ำที่ได้ อาจปรุงรสเพิ่มเติมด้วยการใส่เกลือหรือน้ำตาลลงไปด้วย เราก็จะได้รสชาดน้ำถั่วเหลืองที่ดื่มได้ง่ายมากขึ้น
สารอาหารในน้ำถั่วเหลืองมีอะไรบ้าง?
ถั่วเหลืองดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 430 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- โปรตีน 34 กรัม
- ไขมัน 18.7 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 31.4 กรัม
- ไฟเบอร์ 4.7 กรัม
- น้ำ 11.1 มิลลิลิตร
- แคลเซียม 245 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 500 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 10 มิลลิกรัม
- ไธอามีน 0.73 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.19 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
นมถั่วเหลือง มีโปรตีนเทียบเท่ากับนมวัว แถมยังมีไขมันน้อยกว่าจริงหรือ?
ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพราะถั่วเหลืองมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ อีกทั้งมีทั้งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน กรดไขมันไม่อิ่มตัว และปราศจากคอเลสเตอรอล (cholesterol)
โปรตีนในถั่วเหลืองนั้น ทำหน้าที่ในการลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) รวมทั้งช่วยลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด ตลอดจนยับยั้งการเกิดไขมันต่างๆ ที่จะไปอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
เพราะฉะนั้น นมถั่วเหลืองจึงเหมาะสำหรับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือผู้ที่กลัวอ้วน แม้ว่านมถั่วเหลืองจะให้แคลเซียมน้อยกว่านมวัว แต่ก็ให้เหล็กและวิตามินบีหนึ่งมากกว่า ในเด็กไทยที่เป็นโรคขาดโปรตีน ซึ่งจะมีผลเสียต่อร่างกายและสติปัญญาของเด็ก หากเด็กได้ดื่มนมทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว ก็จะช่วยเสริมปริมาณโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้
เด็กไทยมีทางเลือกในการเลือกดื่มนมถั่วเหลือง ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการทัดเทียมนมวัวแต่ราคาถูกกว่า ด้วยเหตุนี้เอง คนจีนจึงนิยมดื่มนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้กันมาก จนถือกันว่านมถั่วเหลืองเป็นแม่โคของคนจีน
ประโยชน์ของนมถั่วเหลือง
แม้ว่านมวัวจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและมักนำมาใช้ในการผลิตแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่นมถั่วเหลืองก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ถูกใจสำหรับกลุ่มคนที่รักสุขภาพ เนื่องจากนมชนิดนี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่แพ้นมวัว อีกทั้งยังมีสรรพคุณหลายประการที่ล้วนแต่ดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น เราลองมาดู 8 คุณประโยชน์ของนมถั่วเหลืองกัน ดังต่อไปนี้
1. ลดไขมันในเลือด
นมถั่วเหลือง มีสรรพคุณในการลดไขมันในเลือด เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งแบบเชิงเดี่ยว (Monounsaturated) และเชิงซ้อน (Polyunsaturated) ที่ช่วยป้องกันการเกิดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากนี้ มีผลการศึกษาหนึ่งพบว่า การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำสามารถช่วยลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งหากมีไขมันชนิดนี้สูงเกินไป จะก่อให้เกิดอันตรายแก่หลอดเลือดได้ ยิ่งไปกว่านั้น ถั่วเหลืองไม่เพียงแต่จะช่วยลดระดับของไขมันที่ไม่ดีอย่าง LDL (low density lipoproteins) เท่านั้นแต่ก็ยังช่วยเพิ่มระดับของไขมันดีอย่าง HDL ได้อีกด้วย (High density lipoproteins) ดังนั้น หากรู้ตัวว่ามีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ การดื่มนมถั่วเหลืองก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
มีการทดลองเพื่อหาประสิทธิผลในการลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายด้วยเครื่องดื่มที่ทำมาจากถั่วเหลือง โดยทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่างชาวฝรั่งเศสที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงในกลุ่มความเสี่ยงระดับปานกลาง
ผลที่ได้คือ การบริโภคเครื่องดื่มจากถั่วเหลืองที่มีสารแพลนท์ สเตอรอล (Plant Sterol) ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดเลว (non-HDL และ LDL) ลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า น้ำเต้าหู้อาจช่วยควบคุมและลดระดับไขมันในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่อยู่ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง
2. เสริมความแข็งแรงให้หลอดเลือด
นอกจากนมถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 และกรดไขมันโอเมก้า-6 แล้ว ก็ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถช่วยปกป้องเส้นเลือดจากการบาดเจ็บ อีกทั้งสารอาหารดังกล่าวยังช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระ ที่อาจทำอันตรายต่อเซลล์ และช่วยป้องกันการสะสมของคอเลสเตอรอล รวมถึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด
3. ช่วยลดน้ำหนัก
โดยธรรมชาติแล้ว นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณของน้ำตาลน้อยกว่านมชนิดอื่นๆ เนื่องจากนมวัวหนึ่งถ้วยจะมีปริมาณของน้ำตาลถึง 12 กรัม ในขณะที่นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณน้ำตาลเพียงแค่ 7 กรัม
นอกจากนี้ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดเชิงเดี่ยวในนมถั่วเหลืองจะป้องกันการดูดซึมของไขมันบริเวณลำไส้ จึงอาจเป็นผลดีสำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ยิ่งไปกว่านั้นนมถั่วเหลืองยังมีไฟเบอร์ซึ่งจะทำให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นอีกด้วย จากงานวิจัยพบว่าการบริโภคนมถั่วเหลือง ช่วยลดภาวะอ้วนและภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มตัวอย่างทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
4. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
นมถั่วเหลืองมีสารต้านอนุมูลอิสระ จากงานวิจัยของ Molecular Nutrition & Food Research ในปีพ.ศ. 2554 ระบุว่าสาร ‘ไอโซฟลาโวน’ ในนมถั่วเหลืองสามารถต้านทานมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งปากมดลูก
5. บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในหญิงวัยหมดจำเดือน
มีผลการศึกษาหนึ่งพบว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ในถั่วเหลืองสามารถช่วยรักษาระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ เนื่องจากผู้หญิงในวัยนี้จะมีฮอร์โมนดังกล่าวลดลง ซึ่งการดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคที่อาจเกิดจากการสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจน
นอกจากนี้ ไอโซฟลาโวนยังมีสรรพคุณช่วยในการบรรเทาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือนอีกด้วย
6. ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
หญิงสาววัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่กระดูกเริ่มเปราะบางและมีการสูญเสียแคลเซียม ซึ่งการดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มมวลและความหนาแน่นกระดูกได้ เพราะไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มที่มีโปรตีนสูงเท่านั้นแต่ยังอุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
7. ดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีผลการศึกษาหนึ่งพบว่า การรับประทานถั่วเหลืองสามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในชายสูงวัยได้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจลดลง อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับของความดันเลือดในผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่านมถั่วเหลืองจะมีโปรตีนน้อยกว่านมวัว แต่ก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้นมวัว
8. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
สารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองเป็นสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ (Antioxidant) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการที่ทำลายภูมิคุ้มกันและเซลล์ต่างๆ จนนำไปสู่เกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาหนึ่งพบว่า สารแอนตี้ออกซิเด้นท์ในนมถั่วเหลืองยังสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะในหญิงวัยหมดประจำเดือนอีกด้วย
ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเหลือง
- เด็กทารกที่ดื่มน้ำนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียว จะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานต่ำกว่าปกติได้ จึงไม่ควรให้นมที่ทำจากถั่วเหลืองในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน และจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กแพ้ถั่วเหลืองด้วย
- ในบางรายที่แพ้นมผงที่ทำจากนมวัว แพทย์อาจแนะนำให้บริโภคนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองแทน
- สำหรับในเด็กผู้ชาย การบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณสูงและเป็นประจำ อาจทำให้มีเต้านมที่โตผิดปกติ
- บางข้อมูลระบุว่า อาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชายได้ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงจะไปกดการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- โปรตีนถั่วเหลือง อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดเพิ่มมากขึ้น ในเพศหญิงก่อนวัยทองและวัยทอง
- ในกระบวนการผลิตโปรตีนถั่วเหลือง อาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า ไนโตรซามีน (Nitrosamines) และสารพิษที่เรียกว่า ไลซิโนอะลานีน (Lysinoalanine)
- สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร ควรบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณที่พอดี
- ในผู้ป่วยบางกลุ่ม ควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- มะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองมีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน จึงอาจมีผลกระทบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองเพิ่มความเสี่ยงในการก่อเซลล์มะเร็งทั้งในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- ไตวาย หากมีระดับสารไฟโตรเอสโตรเจนในเลือดมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะพิษ เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยภาวะไตวาย
- นิ่วในไต การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตจากการสะสมของสารออกซาเลต (Oxalates) มากจนเกินไป
คำแนะนำในการรับประทานถั่วเหลือง
- เมล็ดถั่วเหลืองแก่มีสารยับยั้งเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยย่อยโปรตีน จึงต้องทำให้สุกเสียก่อนจึงจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และสำหรับผู้ที่เกิดอาการอาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงหลังการดื่มน้ำเต้าหู้ และเข้าใจว่าเป็นอาการแพ้ ซึ่งความจริงแล้วสาเหตุอย่างหนึ่งของอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการดื่มน้ำเต้าหู้ที่ไม่เดือดเต็มที่ ทำให้ไม่สามารถทำลายสารซาโพนีนได้
- แม้ว่านมถั่วเหลืองจะสามารถใช้ทดแทนนมวัวได้ แต่สำหรับในเด็กที่ไม่ได้แพ้นมวัวก็ไม่ควรที่จะดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัว เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต และนมวัวก็มีแคลเซียมมากกว่านมถั่วเหลือง ให้พลังงานมากกว่า มีโปรตีนที่สมบูรณ์กว่า แต่ทั้งนี้ยังสามารถดื่มร่วมกับนมวัวได้
- การเลือกซื้อนมถั่วเหลือง ควรดูรายละเอียดที่ข้างกล่องด้วย ซึ่งนมถั่วเหลืองที่ดีต่อสุขภาพนั้นนอกจากจะมีโปรตีนที่สูงแล้ว ยังต้องมีแคลเซียมสูงด้วย
- การเก็บถั่วเหลืองไว้นานเกินไป หรือเก็บรักษาไม่ดี เต้าหู้หรือเต้าเจี้ยวอาจมีการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน(Aflatoxin) ได้ ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า นมถั่วเหลือง มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ซึ่งหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่แพ้นมวัวหรือมักมีอาการปวดท้องเมื่อดื่มนมวัว การดื่มนมถั่วเหลืองก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android