กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณและจัดอาหารลดโซเดียม

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณและจัดอาหารลดโซเดียม

การสั่งอาหารลดโซเดียม แพทย์เป็นผู้ทำหน้าที่สั่งอาหารให้กับผู้ป่วย ซึ่งคำสั่งอาหารต้องระบุชนิดอาหาร ปริมาณพลังงาน สารอาหารและปริมาณโซเดียมให้ชัดเจน หน่วยของโซเดียมที่นิยมให้มีทั้ง กรัม มิลลิกรัม และมิลลิอิควิวาเลนต์ ดังนั้นนักกำหนดอาหารจึงจำเป็นต้องสามารถแปลงหน่วยของโซเดียมให้ถูกต้องก่อน

ยกตัวอย่างเช่น แพทย์กำหนดให้ผู้ป่วยชายคนหนึ่ง ได้รับอาหารธรรมดาลดโซเดียมพลังงานวันละ 1,900 กิโลแคลอรีต่อวัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันร้อยละ 60:15:25 ของพลังงานทั้งหมด และให้ได้รับโซเดียมไม่เกิน 80 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อวัน กำหนดสัดส่วนอาหารที่ควรได้รับ โดยใช้ตารางแลกเปลี่ยน

ขั้นตอนการคำนวณและจัดอาหารลดโซเดียม

ขั้นที่ 1  แปลงหน่วยของโซเดียมจากมิลลิอิควิวาเลนต์ 80 mEq. ให้เป็นมัลลิกรัม

น้ำหนักมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม    = มิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม x 23

                                                              = 80 x 23

                                                              = 1,840 มิลลิกรัม หรือ 1.84 กรัมต่อวัน

ขั้นที่ 2  การกระจายสัดส่วนพลังงานที่ควรได้รับ โจทย์กำหนดให้ คาร์โบไฮเดรต 60% โปรตีน 15% และไขมัน 25% ของจำนวนแคลอรีทั้งหมดต่อวัน

  1. 1)  พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 ของพลังงานทั้งหมด

     =   1,140 กิโลแคลอรีต่อวัน

  2. 2)  พลังงานจากโปรตีน ร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมด
     =   745 กิโลแคลอรีต่อวัน

  3. 3)  พลังงานจากโปรตีน ร้อยละ 15 ของพลังงานทั้งหมด
    =   285 กิโลแคลอรีต่อวัน

ขั้นที่ 3  การคำนวณหาปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการต่อวัน

  1. 1)  ปริมาณสารอาหารคาร์โบไฮเดรต          

     =  (คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่)

                                                                          = 285 กรัม

  2. 2)  ปริมาณสารอาหารไขมัน                    

    = (ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี)

                                                                                 = 285 กรัม

                 

  3. 3)  ปริมาณสารอาหารโปรตีน             

       = (โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี)

                                                                                  = 71 กรัม

ขั้นที่ 4 การกำหนดปริมาณอาหารที่คำนวณได้ โดยใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยน (ตารางที่ 9.6)

ตารางที่ 9.6 การคำนวณกำหนดส่วนอาหารสำหรับพลังงาน 1,900 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต วันละ 285 กรัม โปรตีน วันละ 71 กรัม และไขมัน วันละ 53 กรัม

หมวดอาหาร ส่วน น้ำหนัก

(กรัม)

คาร์โบไฮเดรต

(กรัม)

โปรตีน

(กรัม)

ไขมัน

(กรัม)

พลังงาน

(กิโลแคลอรี่)

นมพร่องมันเนย 0.5 120 6(12) 4(8) 2.5(8) 60(150)
ผัก ข 5 500 25(5) 10(2) 125(25)
ผลไม้ 7 ตามชนิด 105(15) 420(60)
น้ำตาล 7   35(5)     140(20)
รวมคาร์โบไฮเดรต     171      
ข้าวหรือธัญพืช

285-171  = 7.6

15

7.5 ตามชนิด 112.5(15) 22.5(2) 600(80)
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด     283.5      
รวมโปรตีน       36.5    
เนื้อสัตว์ (ข)

71-36.5  = 7.9

7

5 ตามชนิด   35(7) 25(5) 375(75)
รวมโปรตีนทั้งหมด       71.5    
รวมไขมัน         27.5  
ไขมัน

53-27.5  = 5.1

5

4.5 ตามชนิด     22.5(5) 202.5(45)
รวมไขมันทั้งหมด         50  
พลังงานทั้งหมด           1,922.5

หมายเหตุ :   สารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน  ±ไม่เกิน 3 กรัม (คาร์โบไฮเดรต = 282-288

               โปรตีน = 68-74 และไขมัน = 50-56 กรัม)

พลังงานรวมทั้งหมด  ±ไม่เกิน 30 กิโลแคลอรี (1,870-1,930 กิโลแคลอรี)

ในตัวอย่างตารางที่ 9.6 ที่คำนวณจะไม่ได้นำสัดส่วนของโซเดียมมาคำนวณด้วยในขั้นตอนนี้เพื่อสะดวกในการคำนวณ และเพิ่มส่วนผสมที่มีส่วนผสมของโซเดียมแตกต่างกันของ ผัก ข. และเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียม จึงนำโซเดียมมาคำนวณในขั้นตอนที่ 6 ในส่วนของการกำหนดรายการอาหาร

ขั้นที่ 5 การแบ่งส่วนอาหารที่คำนวณไว้ทั้งวันเป็นมื้อ นำสัดส่วนอาหารที่ได้จากตารางที่ 9.6 มากำหนดมื้ออาหารเป็น 5 มื้อ ดังแสดงในตารางที่ 9.7

ตารางที่ 9.7 ตัวอย่างการแบ่งส่วนของอาหารเป็นมื้อสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 1,922.5 กิโลแคลอรี

หมวดอาหาร ส่วนอาหารต่อวัน ส่วนอาหารแบ่งออกเป็นมื้อต่าง ๆ
มื้อเช้า มื้อว่างเช้า มื้อกลางวัน มื้อว่างบ่าย มื้อเย็น
นมพร่องมันเนย

ผัก ข

ผลไม้

น้ำตาล

ธัญพืชหรือข้าว

เนื้อสัตว์ (ง)

ไขมัน

0.5

5

7

7

7.5

5

4.5

1

2

1

2

1

1

0.5

2

1

3

2.5

2

1.5

2

2

2

2

1

3

2

2

            ขั้นที่ 6 การกำหนดรายการอาหารที่คำนวณได้ เนื่องจากเป็นผู้มีจำเป็นต้องลดโซเดียมในอาหารในการจัดรายการอาหารควรเลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียมน้อย ดังตัวอย่างในตารางที่ 9.8 และ 9.9

ตารางที่ 9.8  ตัวอย่างรายการอาหาร พลังงาน 1,922.5 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 283.5 กรัม

โปรตีน 71.5 กรัม ไขมัน 50 กรัม

มื้อเช้า ว่างเช้า มื้อกลางวัน ว่างบ่าย มื้อเย็น
ข้าวต้มหมูสับ

มะละกอ

นมพร่องมันเนย ข้าวสวย

ไก่ผัดเปรี้ยวหวาน

น้ำส้มคั่น ข้าวสวย

ต้มยำไก่ใส่เห็ด

ผัดฟักทองใส่ไข่

ส้มโอ

 

ตารางที่ 9.9 สัดส่วนและปริมาณอาหารในรายการอาหาร พลังงาน 1,922.5 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 283.5 กรัม โปรตีน 71.5 กรัม ไขมัน 50 กรัม และโซเดียมต่อวันน้อยกว่า 80 mEq. (หรือ 1,840 mg. ของโซเดียม)

มื้ออาหาร รายการอาหาร ส่วนประกอบ จำนวน

ส่วน

น้ำหนัก

(กรัม)

ปริมาณโซเดียม

ต่อหนึ่งหน่วย

บริโภค

โซเดียม

(mg.)

เช้า 1. ข้าวต้มหมูสับ

 

 

 

 

 

2. มะละกอ

ข้าวสวย

หอมหัวใหญ่สับ

แครอทสับ

เนื้อหมูบด

น้ำมันพืช

น้ำตาล

น้ำปลาตราคนแบกกุ้ง

มะละกอ

2

0.5

0.5

1

1

1

 

2

110

50

50

40

1 ช้อนชา

5

5

230

11.5

4

58

23

1,300

23

2

29

23

433.3*

ว่างเช้า นมพร่องมันเนย นมพร่องมันเนย 0.5 120 5 2.5
กลางวัน 1. ข้าวสวย

2. ไก่ผัดเปรี้ยว

หวาน

ข้าวสวย

เนื้อไก่

พริกหวาน

หอมหัวใหญ่

มะเขือเทศ

สับปะรด

น้ำมันพืช

น้ำตาล

ซีอิ๊วขาวตราภูเขาทอง

2.5

2

0.5

0.5

1

1

1.5

3

137.5

80

50

50

100

125

1¾

ช้อนชา

15

5

11.5

23

14

4

12

1179

28.75

46

7

2

12

393*

ว่างบ่าย น้ำส้มคั้น

 

น้ำส้มคั้น

น้ำตาลใส่น้ำส้ม

2

2

240

10

 

ตารางที่ 9.9 สัดส่วนและปริมาณอาหารในรายการอาหาร พลังงาน 1,922.5 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 283.5 กรัม โปรตีน 71.5 กรัม ไขมัน 50 กรัม และโซเดียมต่อวันน้อยกว่า 80 mEq. (หรือ 1,840 mg. ของโซเดียม)

มื้ออาหาร รายการอาหาร ส่วนประกอบ จำนวน

ส่วน

น้ำหนัก

(กรัม)

ปริมาณโซเดียม

ต่อหนึ่งหน่วย

บริโภค

โซเดียม

(mg.)

เย็น 1. ข้าวสวย

2. ต้มยำไก่ให้เห็ด

 

 

 

 

3. ผัดฟักทองใส่ไข่

 

 

 

 

 

4. ส้มโอ

ข้าวสวย

เนื้อไก่

เห็ดฟาง

มะเขือเทศ

หอมหัวใหญ่

นมพร่องมันเนย

น้ำปลาตราคนแบกกุ้ง

ฟักทอง

ไข่ไก่

น้ำมันพืช

น้ำตาล

น้ำมันหอยตรากู๊ดไลฟ์

ส้มโอ

2

1

1

0.5

0.5

0.5

 

1

1

2

2

 

2

110

40

100

50

50

120

5

65

50

2 ช้อนชา

10

15

260

11.5

23

21

12

4

115

1,300

9.1

23

200

23

23

21

6

2

57.5

433.3*

9.1

23

200*

รวมปริมาณโซเดียมในอาหาร 1799.45 mg

หมายเหตุ : ข้อมูลจากเครื่องปรุงรสชนิดต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 9.10

ตารางที่ 9.10 ปริมาณโซเดียมฝนเครื่องปรุงรสชนิดต่าง ๆ

เครื่องปรุงรส (ยี่ห้อ) ปริมาณ/1 หน่วยบริโภค

(1 ชต. = 15 มิลลิลิตร)

โซเดียม (mg.) โซเดียม (mEq.)
น้ำปลา

   ทิพรส

เมกาเชฟ

คนแบกกุ้ง

ปลาหมึก

หอยนางรม

หอยหลอด

ตราชั่ง

กู๊ดไลฟ์

ซีอิ๊ว

   เด็กสมบูรณ์เพิ่มไอโอดีน

แม่ครัวฉลากทอง

เด็กสมบูรณ์

ง่วนทองฝาเขียว

ภูเขาทองฉลากเขียว

เมกาเชฟ

กู๊ดไลฟ์

ซอสหอยนางรม

   เมกาเชฟ

   เด็กสมบูรณ์

   แม็กกี้

แม่ครัว

กู๊ดไลฟ์

 

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

 

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนโต๊ะ

 

15 มิลลิลิตร

17 กรัม

14 กรัม

16 กรัม

15 กรัม

 

1,620

1,520

1,300

1,200

1,195

1,170

1,170

770

 

1,390

1,270

1,240

1,180

1,179

1,060

560

 

690

610

540

440

200

 

70.43

66.09

56.52

52.17

51.96

50.87

50.87

33.48

 

60.43

55.22

53.91

51.30

51.26

46.09

24.35

 

30.00

26.52

23.48

19.13

8.70

ที่มา : ดัดแปลงจากวีรนุช และสิริสวัสดิ์, ม.ป.ป.


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sodium sources: Where does all that sodium come from?. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/sodium/sodium-sources)
Sodium. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/sodium.html)
Sources of Sodium in US Adults From 3 Geographic Regions. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5417577/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"
การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"

ไม่ใช่ทุกคนที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ได้ ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทำเพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจร้ายแรงกว่าที่คิด

อ่านเพิ่ม
รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก
รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก

เราจะพูดถึงการอ่านฉลากโดยทั่วไป และการเลือกซื้อ “นม”

อ่านเพิ่ม