น่าแปลกที่แม้คนจะรู้ว่า "บุหรี่" มีพิษภัยอย่างไรต่อสุขภาพของผู้สูบและผู้ได้รับควันบุหรี่ที่เรียกกันว่า "บุหรี่มือสอง" แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีคนสูบบุหรี่กันอยู่มากมายและที่สำคัญยังมีนักสูบมือใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะบุหรี่มีสารสำคัญที่เรียกว่า "นิโคติน (Nicotine)" ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยตรง ถ้าสูบน้อยๆ จะรู้สึกมีความสุข แต่หากสูบมากๆ จะยิ่งก่อให้เกิดโทษกับระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง
อย่างไรก็ดี คนบางกลุ่มก็มีความจำเป็นต้องเลิกบุหรี่ทั้งที่ใจไม่อยากเลิกด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างเช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านหน้าที่การงาน แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยเมื่อได้ชื่อว่า เสพติดนิโคตินเข้าเสียแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิด "สารนิโคตินทดแทน (NRT)" ขึ้นมา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคติน หรืออาการถอนยาที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สารนิโคตินทดแทน (NRT)
สารนิโคตินทดแทน (Nicotine Replacement Therapy : NRT) ผลิตจากใบยาสูบนำมาสกัดเป็นยาในรูปแบบต่างๆ
การเลิกบุหรี่ด้วยการให้สารนิโคตินทดแทน (NRT)
องค์การอาหารและของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองยาที่ใช้ในการเลิกสูบบุหรี่โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์มาแล้ว 5 ประเภท ซึ่งเป็นการเลิกบุหรี่โดยการให้สารนิโคตินทดแทน (NRT) ส่วนในประเทศไทยมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ หมากฝรั่งนิโคตินและแผ่นแปะผิวหนัง ทั้งสองอย่างนี้เป็นยาทางเลือกที่นิยมใช้มากที่สุดและหาได้ตามร้านขายยาทั่วไป
- หมากฝรั่งนิโคติน มีสองขนาด คือ 2 มิลลิกรัม และ 4 มิลลิกรัม ขณะเคี้ยวหมากฝรั่ง นิโคตินจะถูกดูดซึมผ่านกระพุ้งแก้ม ผู้ที่จะเลิกบุหรี่จะต้องเคี้ยวหมากฝรั่งอย่างน้อย 10 ชิ้นต่อวัน แม้ว่าจะไม่อยากบุหรี่ก็ตามเพื่อให้ได้สารนิโคตินทดแทนประมาณครึ่งหนึ่งของที่ได้จากการสูบบุหรี่
- แผ่นแปะนิโคติน ในประเทศไทยที่มีใช้อยู่มี 3 ขนาดคือ 10 มิลลิกรัม 20 มิลลิกรัม และ 30 มิลลิกรัม เมื่อแปะแผ่นแปะนิโคตินจะถูกดูดซึมทางผิวหนัง โดยแผ่นแปะจะมีข้อได้เปรียบกว่าหมากฝรั่งคือ ใช้ง่าย และผลข้างเคียงน้อยกว่าแบบหมากฝรั่ง
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานพบว่า หมากฝรั่งนิโคติน หรือแผ่นแปะนิโคติน มีประสิทธิภาพมากกว่ากัน
ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อให้คุณหยุดสูบบุหรี่
ปัจจุบันมียาหลายชนิดซึ่งช่วยให้คุณสามารถหยุดบุหรี่ได้ แต่ต้องจ่ายตามใบสั่งแพทย์ ยาเหล่านี้ยังสามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ให้สารนิโคตินทดแทน ทั้งนี้คุณควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อเลือกวิธีการเลิกบุหรี่ที่ดีสำหรับคุณ
ยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
ยาบูโบรพิออน (Bupropion)
ยาบูโบรพิออน หรือชื่อทางการค้า Wellbutrin Zyban หรือ Aplenzin เป็นยาที่ไม่มีส่วนประกอบของนิโคติน เป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าจะจ่ายตามใบสั่งแพทย์ มีผลคือ ช่วยให้อาการการขาดสารนิโคตินลดลง อย่างไรก็ตาม เพื่อผลลัพธ์ที่ดี คุณควรเริ่มรับประทานยาบูโบรพิออน 1-2 สัปดาห์ก่อนจะเริ่มหยุดสูบบุหรี่ แพทย์อาจให้รับประทานยานี้ต่อีกอ 7-12 สัปดาห์ จนกว่าคุณจะสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร หากคุณเป็นโรค หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรรับประทานยาบูโบรพิออน
- อาการชัก
- ดื่มแอลกอฮอล์หนัก
- โรคตับแข็ง
- การบาดเจ็บศีรษะที่รุนแรง
- โรคอารมณ์สองขั้ว
- โรคอะนอเร็กเซีย(Anorexia) หรือโรคคลั่งผอม
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปของยาบูโบรพิออนมีดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- อาการปากแห้ง
- อาการนอนไม่หลับ
- อ่อนเพลีย
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว
- อาหารไม่ย่อย
- ปวดหัว
ยาวาเรนิคลิน (Varenicline)
ยาวาเรนิคลิน (Varenicline) หรือชื่อทางการค้า Chantix พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยผู้ที่กำลังเลิกสูบบุหรี่อยู่โดยเฉพาะ ยานี้จะทำปฏิกิริยารบกวนกับตัวรับสารนิโคตินในสมองโดยออกฤทธิ์ได้สองทางคื อลดความสุขในการสูบบุหรี่และช่วยลดอาการของการขาดสารนิโคตินได้ ควรรับประทานยาวาเรนิคลิน 1 สัปดาห์ก่อนจะเริ่มหยุดสูบบุหรี่
จากรายงานการศีกษาได้แสดงให้เห็นว่า ยาวาเรนิคลิน varenicline สามารถเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถหยุดบุหรี่ได้ถึงสองเท่าและอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาบูโบรพิออนในระยะสั้นอีกด้วย อย่างไรก็ดี ควรรับประทานยาวาเรนิคลินอย่างต่อเนื่องไม่เกิน 12 สัปดาห์ รววมทั้งควรตระหนักว่า ยาวาเรนิคลินมีผลข้างเคียงที่รุนแรงเพราะยาตัวนี้เชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย และการฆ่าตัวตาย ผู้ที่รับประทานยาวาเรนิคลินควรจะต้องได้รับการดูแลเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ เช่น อารมณ์ซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหรือความคิด หรือความคิดหรือพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตาย
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปของยาวาเรนิคลิน มีดังนี้
ยาที่ช่วยยับยั้งการสูบบุหรี่อื่น ๆ
ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์อื่นๆ เช่น ยานอร์ทริปไทลีน (Pamelor) และยาโคลนิดีน (Catapres) ได้รับการแนะแนะนำให้ใช้ในผู้สูบบุหรี่ที่ไม่สามารถใช้ยาบูโบรพิออน และยาวาเรนิคลินได้ในบางครั้ง ซึ่งยาทั้งสองชนิดนี้เป็นยาเก่าที่มีผลข้างเคียงมาก ควรปรึกษากับแพทย์ให้ก่อนว่า ยาสองตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณในการเลิกบุหรี่หรือไม่
นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมียาทางเลือกอื่นๆ ที่นิยมใช้เลิกบุหรี่อีกมากมาย เช่น ยาสมุนไพรชาชงหญ้าดอกขาวซึ่งอาจช่วยให้เลิกบุหรี่ง่ายขึ้นได้ เพราะมีสรรพคุณทำให้ลิ้นฝาด ไม่รับรู้รสชาติ ทำให้ไม่อยากสูบบุหรั้ รู้สึกเหม็นบุหรี่ มีข้อดีคือ ราคาถูก เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และมีหลักฐานสนับสนุนสรรพคุณที่ชัดเจน
ทั้งนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ในผู้สูบทุกราย แต่ผู้สูบทุกรายควรได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมถึงแนวทางในการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เพื่อป้องกันการหวนกลับไปสูบบุหรี่อีก อย่างไรก็ตาม หากต้องการเลิกบุหรี่สามารถเข้ารับคำแนะนำและคำปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกร โดยแพทย์ หรือเภสัชกรจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและพิจารณาว่า ควรใช้ยาเพื่อเลิกบุหรี่หรือไม่