กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

นิโคติน

วิธีรับมือกับการขาดนิโคติน
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
นิโคติน

อาการของการขาดนิโคตินมักจะขึ้นสู่จุดสูงสุดในช่วง 2-3 วันหลังจากที่คุณหยุดสูบบุหรี่

สารนิโคติน เป็นสารสารเคมีที่ไม่มีรสชาติ ซึ่งยาสูบและพืชชนิดอื่น ๆ จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสารในการไล่แมลง โดยสารนิโคตินนั้นมีความสามารถในการเสพติดเทียบเท่ากับเฮโรอีนหรือโคเคน และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเรื่องที่อยากสำหรับคนที่อยากเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งจากผลิตภัณฑ์ยาสูบสารนิโคตินนำความอยากที่มีมากมาให้กับผู้ที่สูบบุหรี่ และยังทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่นั้นเสพติดไปกับคุณสมบัติของมันเลย แต่สารนิโคตินที่เป็นส่วนประกอบของบุหรี่นั้นไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง (น้ำมันดินที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นสารที่สงสัยว่าเป็นสารก่อมะเร็ง)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีการออกฤทธิ์ของสารนิโคติน

ในแต่ละครั้งที่คุณสูดดมควันบุหรี่ซิกกาเรต สารนิโคตินได้ดูดซึมเข้าสู่ปอดและดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด โดยสารนิโคตินยังได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆของร่างกายไปพร้อมกับคาร์บอนโมนอกไซด์และสารพิษชนิดอื่น ๆ ซึ่งสารพิษเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ เส้นเลือด ฮอร์โมน สมอง และส่วนต่าง ๆของร่างกายอีกมากมาย สารนิโคตินที่คุณสูดดมนั้นจะเดินทางเข้าสู่สมองของคุณเร็วกว่ายาที่ให้ผ่านเส้นเลือดดำเสียอีก

ผลข้างเคียงของนิโคติน

สารนิโคตินมีผลข้างเคียงต่อร่างกายของคุณมีหลากหลายวิธี ดังนี้

  • กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้การตื่นตัวของคุณมีเพิ่มมากกว่าปกติ
  • ยกระดับอารมณ์ของคุณและนำคุณให้รู้สึกว่าเป็นสุขดี
  • ลดความอยากอาหาร
  • เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อนาที
  • เพิ่มความดันโลหิตที่ 5-10 มิลลิเมตรปรอท
  • ก่อให้เกิดภาวะเหงื่อออก คลื่นไส้ และท้องเสีย
  • เพิ่มการทำงานของลำไส้
  • ทำให้ร่างกายผลิตน้ำลายและเสมหะเพิ่ม

การสูบบุหรี่เป็นการเสพติดอย่างสูงเพราะว่ามันจะทำให้เรามีความเป็นสุขและยังเป็นที่พึ่งด้านร่างกายและจิตใจได้อีกด้วย นอกจากนี้ ถ้าคุณยิ่งสูบบุหรี่มากเท่าไรคุณก็จะเกิดความชินชากับสารนิโคตินมากขึ้นเท่านั้น ก็หมายความว่าคุณจะต้องสูบบุหรี่อยู่ตลอดเพื่อรักษาระดับของสารนิโคตินให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม

การขาดสารนิโคติน

ร้อยละ 70-90% ของผู้ที่สูบบุหรี่บอกว่าอาการขาดสารนิโคตินเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งคุณจะเริ่มรู้สึกถึงผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคตินตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงจากการสูบบุหรี่มวนสุดท้ายไปแล้ว

โดยผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานหรือสูบบุหรี่จัดจะรู้สึกถึงผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคตินเร็วและรุนแรงกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ไม่จัด และถ้าคุณกำลังจะหยุดสูบบุหรี่ อาการของการขาดสารนิโคตินจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2-3วันหลังจากที่คุณสูบบุหรี่ครั้งสุดท้าย ซึ่งอาการทั่วไปที่พบได้มากสุดมีดังนี้

แม้ว่าอาการของการขาดสารนิโคตินนั้นอาจจะฟังดูแล้วน่ากลัว และอาการเหล่านี้ยากที่จะเกิดขึ้น แต่ผลกระทบต่อสุขภาพของการหยุดสูบบุหรี่ในระยะยาวมีมากกว่าความไม่สบายตัวที่คุณรู้สึกในระยะสั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการต่างๆ

การเลิกบุหรี่ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนสารนิโคติน

หากคุณพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่และทำไม่สำเร็จสักที อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะจากงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าจำนวนครั้งที่คุณพยายามเลิกสูบบุหรี่มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการที่คุณจะเลิกสูบบุหรี่สำเร็จก็มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่าเฉลี่ยที่คุณพยายามเลิกสูบบุหรี่นั้นจะอยู่ที่ 6 ครั้งก่อนที่คุณจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ แต่ถ้าคุณพบว่าอาการขาดสารนิโคตินเป็นเรื่องยากเกินจะต้านทานไหวให้ปรึกษากับนักวิชาชีพผู้ดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ด้วยการให้สารนิโคตินทดแทน (NRT)

NRT จะทำให้อาการขาดสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่นั้นหายไปและยังสามารถรับมือกับอารมณ์ในช่วงเวลาที่กำลังหยุดสูบบุหรี่ด้วย ซึ่งมีหลากหลายการศึกษาได้เผยให้เห็นว่าการใช้ NRT นั้นสามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จเกือบครึ่ง โดยให้ปรึกษากับแพทย์ของคุณว่าการเลิกในรูปแบบใดที่เห็นผลและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณมากที่สุด และคุณอาจจะผสมผสานรูปแบบ NRT กับรูปแบบอื่นๆเข้าด้วยกันก็ได้

NRT ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แผ่นแป หมากฝรั่ ยาอม สเปรย์พ่นจมูก และหลอดสูดทางปาก

แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน

แผ่นแปะผิวหนังนิโคตินนั้นจะปล่อยปริมาณสารนิโคตินเข้าสู่ผิวกายของคุณ โดยมีให้เลือกระดับความแรงของสารนิโคตินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งแผ่นแปะนั้นสามารถหาซื้อได้แบบไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ และในการที่คุณจะเลิกติดสารนิโคตินได้นั้น คุณจะต้องลองเปลี่ยนใช้แผ่นแปะที่มีขนาดความแรงในระยะประมาณ 8 สัปดาห์ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำว่าควรใช้แผ่นแปะในระยะเวลาทั้งหมด 3-5 เดือน

ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากกการใช้แผ่นแปะผิวหนังนิโคตินมีดังนี้ อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง (ผื่นแดงและอาการคัน) มึนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว อาการนอนไม่หลับหรือฝันแปลก ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อและข้อติดขัด

หมากฝรั่งนิโคติน

สำหรับหลาย ๆ คนที่ต้องการเลิกบุหรี่จะเลือกวิธีการใช้หมากฝรั่งนิโคตินเพราะว่ามันออกฤทธิ์เร็ว สารนิโคตินที่ได้จะเข้าสู่เยื่อเมือกบุผิวภายในปาก โดยเมื่อที่คุณรู้สึกอยากสารนิโคตินคุณก็เพียงแค่เคี้ยวหมากฝรั่งนิโคติน และหมากฝรั่งนิโคตินนั้นสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ซึ่งระยะเวลาในการใช้วิธีเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน ถ้าคุณเป็นคนที่มีผิวแพ้ง่ายและระคายเคืองกับการใช้แผ่นแปะ วิธีการใช้หมากฝรั่งก็เป็นตัวเลือกน่าสนใจเหมือนกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ของหมากฝรั่งนิโคตินมี ดังนี้ รับรสชาติอาหารได้ไม่ดี ระคายคอ แผลในปาก สะอึก คลื่นไส้ ปวดขากรรไกร หัวใจเต้นเร็ว ปัญหาเรื่องช่องปากและปัญหาอื่น ๆ ทางทันตกรรม

ยาอมนิโคติน

ยาอมนิโคตินมีให้เลือกถึง 2 รูปแบบที่แตกต่างกันและสามารถวางจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยจะเหมือนกับผลิตภัณฑ์ NRT อื่น ๆ ซึ่งยาอมนิโคตินนั้นควรใช้สูงสุดไม่เกิน 12 สัปดาห์

ผลข้างเคียงของยาอมนิโคตินอาจมีดังนี้ อาการนอนไม่หลับ คลื่นไส้ สะอึก ไอ อาการแสบร้อนกลางอก ปวดหัว และมีลมในกระเพาอาหาร

สเปรย์พ่นจมูก

สเปรย์พ่นจมูกจะปล่อยสารนิโคตินเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และยังบรรเทาอาการของการขาดสารนิโคตินได้เร็วกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วย แต่การซื้อสเปรย์พ่นจมูกนิโคตินนั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้จัดหาให้ และควรใช้สเปรย์พ่นจมูกนิโคตินในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน

ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้มากที่สุดมีดังนี้ อาการระคายเคืองจมูก น้ำมูกไหล น้ำตาไหล จาม คันคอ และไอ

นิโคตินชนิดหลอดสูดทางปาก

โดยนิโคตินชนิดหลอดสูดทางปากจะเหมือนกันมวนบุหรี่อันใหญ่ที่มาพร้อมกับที่คาบปาก แต่อันที่จริงคือหลอดพลาสติกขนาดบางซึ่งบรรจุแท่งนิโคตินไว้ด้านในเท่านั้น เมื่อคุณสูบไปหนึ่งครั้งแท่งจะระเหยไอสารนิโคตินบริสุทธิ์ไปยังปากของคุณแล้วเข้าสู่กระแสเลือด แนะนำให้ใช้นิโคตินชนิดหลอดสูดทางปากไม่เกิน 6 เดือน

ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้บ่อยซึ่งมักจะเกิดขึ้นในครั้งแรกของการใช้อุปกรณ์นี้มีดังนี้ ไอ ระคายเคืองในปากและคอ และท้องไส้ปั่นป่วน

ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกผลิตภัณฑ์ NRT วิธีไหน คุณก็ต้องปรึกษาผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่คุณจะต้องเจอ คุณควรบอกแพทย์ของคุณเกี่ยวกับปัญหาในการเลิกบุหรี่ของคุณให้ฟัง เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำคุณอย่างถูกต้อง


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aaron Kandola, nicotine withdrawal (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323012.php), January 15, 2019
Darla Burke and Ana Gotter, nicotine withdrawal (https://www.healthline.com/health/smoking/nicotine-withdrawal), March 23, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีเลิกสูบบุหรี่
วิธีเลิกสูบบุหรี่

อยากเลิกบุหรี่ มีวิธีไหนบ้าง?

อ่านเพิ่ม
อันตรายของบุหรี่มือสอง มีวิธีการจัดการอย่างไรบ้าง?
อันตรายของบุหรี่มือสอง มีวิธีการจัดการอย่างไรบ้าง?

บุหรี่มือสอง อันตรายอย่างไรบ้าง? มีวิธีรับมืออย่างไร?

อ่านเพิ่ม