กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

งาขี้ม่อน (Perilla seed)

รู้จักโภชนาการของงาขี้ม่อน สรรพคุณ ข้อควรระวังในการรับประทาน และไอเดียการรับประทานที่น่าสนใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
งาขี้ม่อน (Perilla seed)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • งาขี้ม่อน (Perilla seed) เป็นธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ ลักษณะของเมล็ดจะคล้ายงา คือเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทรงกลม มีสีน้ำตาลหรือสีเทา นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารกินเล่น เช่น คุกกี้ หรือข้าวหนุกงา
  • เมล็ดงาขี้ม่อน 104 กรัม ให้พลังงาน 568 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 25.6 กรัม โปรตีน 16.8 กรัม ไขมัน 48 กรัม ใยอาหาร 14.4 กรัม แคลเซียม 760 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 10.44 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 472 มิลลิกรัม โซเดียม 11.2 มิลลิกรัม
  • ตัวอย่างสรรพคุณของงาขี้ม่อน เช่น ช่วยรักษาอาการร้อนใน เพราะในงาขี้ม่อน มีโอเมก้า 3 สูง และมีกรดอัลฟาไลโนเลนิก จึงช่วยบรรเทาแผลร้อนในในช่องปากให้หายเร็วขึ้น และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลร้อนในได้ดี
  • สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานงาขี้ม่อนชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยถึงความปลอดภัยในสตรีขณะตั้งครรภ์ และสตรีขณะให้นมทารกและเด็ก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

งาขี้ม่อน หรืองาขี้ม้อน (Perilla frutescens วงศ์ Lamiaceae) เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพรา โหระพา เป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่พบได้มากในภาคเหนือของประเทศไทย จึงอาจทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักนัก 

ในปัจจุบัน งาขี้ม่อนเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรักสุขภาพ สามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพ และนำมารับประทาน เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำความรู้จักงาขี้ม่อน

งาขี้ม่อน (Perilla seed) เป็นธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ ลักษณะของเมล็ดจะคล้ายงา คือเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทรงกลม มีสีน้ำตาลหรือสีเทา นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารกินเล่น เช่น คุกกี้ หรือข้าวหนุกงา ส่วนใบของงาขี้ม่อน เป็นที่รู้จักกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "ใบชิโสะ"

คุณค่าทางอาหารของงาขี้ม่อน

เมล็ดงาขี้ม่อน 104 กรัม (8 ช้อนโต๊ะ) ให้พลังงาน 568 กิโลแคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของงาขี้ม่อน

เมล็ดงาขี้ม่อนมีสรรพคุณที่น่าสนใจดังนี้

  • ช่วยรักษาอาการร้อนใน งาขี้ม่อน เป็นธัญพืชที่มีโอเมก้า 3 สูง (สูงกว่าน้ำมันปลาถึง 2-3 เท่าตัว) และยังมีกรดอัลฟาไลโนเลนิก จึงช่วยบรรเทาแผลร้อนในในช่องปากให้หายเร็วขึ้น และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลร้อนในได้ดีอีกด้วย
  • ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ กรดโรสมารินิกในงาขี้ม่อน มีสรรพคุณช่วยต้านการอักเสบจากสารลิวโคไตรอีน โดยมีการทดลองกรดโรสมารินิก 200 มิลลิกรัมกับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศ 30 รายได้ระบุว่า ผู้ที่รับประทานธัญพืชชนิดนี้ติดต่อกัน 21 วัน มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนใน 3 วัน และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการหอบเหนื่อยจากอาการแพ้ได้อีกด้วย 
  • ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด งาขี้ม่อน มีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "เซซามอล" สารนี้มีคุณสมับติในการป้องกันมะเร็งที่เกิดจากฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • ช่วยปกป้องตับ กรดโรสมารินิกในงาขี้ม่อน ช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลาย โดยการลดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดสาร superoxide หรือ peroxynitirite และยับยั้งการเจริญของมะเร็งตับ
  • ช่วยบำรุงผิว การวิจัยล่าสุดในปี 2007 มีรายงานหนึ่งพบว่าสารสกัดจากงาขี้ม่อน มีฤทธิ์ในการทำให้ผิวขาวขึ้น โดยยับยั้งการทำงานของ tyrosinase ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน
  • บรรเทาอาการหอบหืด งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้ระบุว่า ให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบรับประทานน้ำมันงาขี้ม่อนติดต่อกัน ผลคือผู้ป่วยมีสารลิวโคไตรอีนที่คาดว่าเป็นสาเหตุของโรคหอบหืดลดลง จึงทำให้อาการดีขึ้นตลอดการทดลอง 2 และ 4 สัปดาห์
  • ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ โอเมก้า 3 ปริมาณมากในงาขี้ม่อน จะช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ โดยเฉพาะ LDL ที่มักเกาะตามผนังหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า กรดไขมันโอเมก้า 3 มีผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองและระบบประสาท เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการ การเรียนรู้ ความจำ และการมองเห็น เมื่อร่างกายได้รับโอเมก้า 3 เข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็น DHA และ EPA ซึ่งจะช่วยจัดการระบบต่างๆ ในสมอง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวลที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า ลดความผิดปกติของสมองในวัยชราได้

ทั้งนี้ยังไม่พบงานวิจัยที่สามารถบอกปริมาณในการรับประทานงาขี้ม่อนหรือสารสกัดงาขี้ม่อนเพื่อรักษาโรค

ตัวอย่างเมนูสุขภาพจากงาขี้ม่อน

  1. สลัดกะหล่ำงาขี้ม่อน ใส่มายองเนส ครีมชนิดเปรี้ยว น้ำตาล น้ำมะนาวและเกลือในชามขนาดใหญ่ คนให้เข้ากัน จากนั้นจึงใส่กะหล่ำปลี แครอท แอปเปิล และหัวหอมลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้งแล้วจึงโรยใบงาขี้ม่อน และงาขี้ม่อนในขั้นตอนสุดท้าย
  2. ข้าวหนุกงา  ล้างข้าวเหนียวแช่ไว้ 1 คืน แล้วนำมาล้างอีกครั้ง นึ่งให้สุก ระหว่างนี้ให้คั่วงาขี้ม่อนให้หอม แล้วเอามาโขลกกับเกลือให้ละเอียด เอามาผสมกับข้าวเหนียวแล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน รับประทานตอนยังอุ่นๆ แต่ถ้าชอบหวาน สามารถจิ้มน้ำตาลเพิ่มได้

ข้อควรระวัง

  • ควรใช้น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อนชนิดเจือจาง เนื่องจากการใช้ในรูปแบบที่เข้มข้น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังหรือทำให้ผิวหนังอักเสบ
  • สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานงาขี้ม่อนชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยถึงความปลอดภัยในสตรีขณะตั้งครรภ์ และสตรีขณะให้นมทารกและเด็ก
  • ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีอาการแพ้งาขี้ม่อน หากบริโภคแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์

งาขี้มอนเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย การรับประทานงาขี้ม่อนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการหลายอย่าง เช่น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ หรือบรรเทาอาการหอบหืด อย่างไรก็ตาม งาขี้ม่อนมีข้อควรระวังในการรับประทานเช่นกัน หากรับประทานแล้วมีอาการผิดปกติก็ควรหยุดรับประทาน แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Osakabe N, Yasuda A, Natsume M, Yoshikawa T.Rosmarinic acid inhibits epidermal inflammatory responses:anticarcinogenic effect of Perilla frutescens extract in the murine two-stage skin model.Carcinogenesis.2004 Apr;25(4):549-57. , 30 May 2019
Sanbongi C, et.al.Rosmarinic acid in perilla extract inhibits allergic inflammation induced by mite allergen, in a mouse model.Clin Exp Allergy.2004 Jun;34(6):971-7, 30 May 2019
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, งาขี้ม้อน (http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_ingredient.php?id_ingredient=342)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)