กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Minoxidil, Phenoxybenzamine, Prazosin และ Reserpine

เผยแพร่ครั้งแรก 1 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Minoxidil, Phenoxybenzamine, Prazosin และ Reserpine

Minoxidil

ชื่อสามัญ    Minoxidil
ชื่อการค้า       Loniten, Manoxidil, Minoxtrim, Modil, Neoxidil, NoxidiVNoxidil Forte
ประเภท          ยาลดความดันโลหิตสูง และขยายหลอดเลือดส่วนปลาย
ข้อบ่งใช้         ควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือทนอาการข้างเคียงของยาเหล่านั้นไม่ได้ และผู้ป่วยที่มี End organ เสื่อมสภาพไปแล้วเนื่องจากความดันโลหิตสูง การออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดให้คลายตัว และบางที่อาจมีผลยับยั้งต่อเอนไซม์ Phosphodiesterase เป็นผลให้หลอดเลือดขยายตัว โดยเฉพาะหลอดเลือด แดงเล็ก ไม่มีผลต่อหลอดเลือดดํา การขยายหลอดเลือดทําให้หลอดเลือดส่วนปลายมี แรงต้านลดลง ทําให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยให้หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวได้สมบูรณ์กว่าเดิม จึงช่วยให้ Stroke Volume เพิ่มขึ้น
ผลข้างเคียง   ปวดศีรษะ ปอดบวมน้ำ น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว ขาช่วงล่างและเท้าบวม แพ้ผื่นผิวหนัง ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจวาย T-wave เปลี่ยนแปลง มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ Hct ต่ำ และอาจมี อาการคลื่นไส้
การพยาบาล

  • ก่อนให้ยาต้องวัดความดันโลหิต และจับชีพจรทุกครั้ง หากพบการเปลี่ยนแปลง ให้รายงานแพทย์ทราบ
  • ชั่งน้ำหนัก ฟังเสียงปอด เพื่อสังเกตอาการแรกเริ่มของภาวะหัวใจวาย

Phenoxybenzamine

ชื่อสามัญ    Phenoxybenzamine
ชื่อการค้า          Dibenzyline
ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง
ข้อบ่งใช้            ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง
การออกฤทธิ์     ยับยั้งการทํางานของ Postganglionic adrenergic neuron ทําให้ Epinephrine ที่เก็บไว้บริเวณปลายประสาทน้อยลง ทําให้ความดันโลหิตต่ำ Pulse pressure แคบ เลือดไหล กลับเข้าสู่หัวใจลดลง พบมี Na+ และน้ำคั่ง ผู้ป่วยมักได้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วย
ผลข้างเคียง      คัดจมูก ปากแห้ง เปลือกตาหลุบลง Postural hypotension หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น วิงเวียน เป็นลม ซึมเศร้า คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อาจมีอาการช็อก
การพยาบาล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ห้ยาพร้อมกับนม หรืออาหาร เพื่อลดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  • วัดความดันโลหิต และจับชีพจรในท่ายืน เพื่อปรับขนาดยาให้แน่นอน เพราะเวลายืนความดันโลหิตมักจะต่ำ
  • แนะนําให้เปลี่ยนท่าช้าๆ หากมีอาการหน้ามืดเป็นลม หรืออ่อนเพลีย ให้นอนราบทันที 
  • ให้เก็บยาในขวดสีชา

Prazosin

ชื่อสามัญ           Prazosin hydrochloride
ชื่อการค้า           Atodel, Lopress, Mima, Minipress, Parabowl, Polypress, Pratsiol, Prazosin T.0. Pressin
ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง และ α1-adrenergic blocking drug
ข้อบ่งใช้            ลดความดันโลหิตสูงชนิดอ่อนและปานกลาง อาจใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตตัวอื่น รักษาโรค Raynaud และใช้บรรเทาอาการของต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia, BPH)
การออกฤทธิ์     ขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลายและหลอดเลือดดําส่วนปลาย โดยขัดขวางการออกฤทธิ์ ของ Norepinephrine ที่ α1adrenergic-receptor ยาออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตโดย ไม่เปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจ ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที อัตราเลือดผ่าน ไต และอัตราการกรองผ่าน Glomerulus
ผลข้างเคียง      ทําให้ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถและเป็นลมหมดสติชั่วคราว ภายใน 1-3 ชั่วโมง หลังได้รับยาครั้งแรก จากการที่ยาขยายหลอดเลือด โดยไม่มีการเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อชดเชย เวียนศีรษะชนิดเรื้อรังขณะเปลี่ยนท่าทาง (พบไม่บ่อย) อื่นๆ เช่น ง่วงนอน ไม่มีแรง คัดจมูก ซึมเศร้า สมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น หากผู้ป่วยที่ได้รับยาขนาดสูง
การพยาบาล

  • ตรวจสอบค่าความดันโลหิตก่อนและหลังให้ยาทุกครั้งเป็นระยะๆ
  • หลังรับประทานยาครั้งแรกให้ผู้ป่วยนอนราบนาน 3 ชั่วโมง และค่อยๆ ลุกขึ้นหลังรับประทานยา จึงควรรับประทานยาครั้งแรกก่อนนอน
  • สังเกตอาการของความดันโลหิตต่ำ เช่น เป็นลม วิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงซึม เป็นต้นหากพบอาการดังกล่าวให้นอนพัก
  • แนะนําผู้ป่วยลดอาหารที่มีรสเค็ม ไขมันสูง ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักรและการขับขี่ยานพาหนะ
  • เก็บยาให้พ้นแสง ใส่ซอง (ขวด) สีชา

Reserpine

ชื่อสามัญ           Reserpine
ชื่อการค้า           “Bedin, “Brinerdin, “Hydrares, “Hyperdine, “Hypery, “Iso-Triraupin SP, *Mano-Ap-Es, *Medeserpine Co, “Reser, Reserpina, Reserpine PP Lab, *Ser-Ap-Es
ประเภท             ยาลดความดันโลหิตสูง
ข้อบ่งใช้            ลดความดันโลหิตสูงที่ไม่รุนแรง และใช้ร่วมกับยาตัวอื่น เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงที่รุนแรง ลดการเก็บ Catecholamines ในสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด ต่อมหมวกไต สกัดกั้น การออกฤทธิ์ การดูดกลับของ Noradrenaline ทําให้แรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลายลดลง ความดันโลหิตลดลง
ผลข้างเคียง      ง่วงนอน ฝันร้าย ซึมเศร้า คัดจมูก หายใจลําบาก มีอาการหอบหืดได้ ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หัวใจเต้นช้าลง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เป็นลม มีการคั่งของโซเดียมและน้ำ มีผลทําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อ่อนเพลีย
การพยาบาล       

  • ตรวจสอบค่าความดันโลหิตก่อนและหลังให้ยาทุกครั้ง
  • ในรายที่มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ให้รายงานแพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาให้ยาเคลือบกระเพาะอาหารร่วมด้วย
  • ในรายที่มีอาการคัดจมูกอาจให้ยาพ่นจมูกที่มีฤทธิ์ทําให้หลอดเลือดหดตัว
  • สังเกตอาการซึมเศร้า บุคลิกภาพเปลี่ยน
  • แนะนําผู้ป่วยให้ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มและรสจัด
  • เตรียมยา Adrenalin 1:1,000 ทันที ถ้าเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • แนะนําผู้ป่วยว่าไม่ควรเปลี่ยนยาบ่อย เพราะยาจะได้ผลมากที่สุดเมื่อใช้ไปได้ 10-14 วัน

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HYPERTENSION’S 3 DILEMMAS & 3 SOLUTIONS Pharmacology of the Kidney in Hypertension. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5341696/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม