คุณสามารถจัดการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่คุณเป็น และมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีได้ด้วยการดูแลตนเองในทุกๆ วัน
โรคเบาหวานสามารถส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย คุณจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังต้องควบคุมความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวาน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ฉันจะจัดการดูแลรักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร
คุณสามารถวางแผนการรักษาร่วมกับทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณ แผนการรักษาโรคเบาหวานจะประกอบไปด้วย
- ใช้หลักการ ABCs
- ปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
- ร่วมมือกับทีมแพทย์ในการรักษาโรคเบาหวาน
- รับมือกับโรคเบาหวานด้วยวิธีการทางสุขภาพที่ดี
ใช้หลักการ ABCs
การใช้หลักการ ABCs จะช่วยให้คุณควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคส ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลได้ หากคุณสูบบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวานได้ การปฏิบัติตามเป้าหมายของหลักการ ABCs จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาจากโรคเบาหวานอื่นๆ
A = A1C test หมายถึง การตรวจระดับน้ำตาลสะสม
การตรวจระดับน้ำตาลสะสมหรือ A1C จะบอกค่าระดับน้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยในเลือดในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะมีค่าเป้าหมายของระดับน้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 % ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอว่าเป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมที่เหมาะสมสำหรับคุณคือเท่าใด
B = Blood pressure หมายถึงความดันโลหิต
เป้าหมายของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วๆ ไปคือ ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับค่าเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับคุณ
C = cholesterol หมายถึง คอเลสเตอรอล
ในร่างกายจะมีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดอยู่ 2 ชนิด คือ แอลดีแอล (LDL) และ เอชดีแอล (HDL) ไขมัน LDL คือไขมันเลว หรือไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด การมีไขมันไม่ดีปริมาณมากจะทำให้เกิดหัวใจวาย หรือ โรคหลอดเลือดสมองตามมาได้ ส่วนไขมัน HDL คือไขมันดี เป็นไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ที่มีหน้าที่ในการกำจัดไขมันชนิดไม่ดีออกจากเส้นเลือด
ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับค่าระดับไขมันคอเลสเตอรอลที่เหมาะสมสำหรับคุณ ถ้าคุณมีอายุมากกว่า 40 ปี คุณอาจจำเป็นต้องได้รับยาสะแตติน (statin) เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
S = Stop smoking หมายถึง หยุดการสูบบุหรี่
การไม่สูบบุหรี่จะมีความสำคัญมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะการสูบบุหรี่และโรคเบาหวานจะทำให้เส้นเลือดตีบแคบ เมื่อเส้นเลือดตีบแคบ จะทำให้หัวใจทำงานหนัก บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยเช่นกัน
ถ้าคุณเลิกบุหรี่:
- ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้จะลดลง ได้แก่ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางระบบประสาท โรคไต เบาหวานขึ้นตา และการตัดขา
- ระดับไขมันคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตจะดีขึ้น
- การไหลเวียนโลหิตจะดีขึ้น
- คุณจะออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น
ถ้าคุณสูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆ ให้หยุดทันที หากต้องการความช่วยเหลือแนะนำให้ปรึกษาสายด่วนเลิกบุหรี่เพื่อขอคำแนะนำ
การควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต และระดับไขมันคอเลสเตอรอลให้ใกล้ค่าเป้าหมายมากที่สุด และการหยุดสูบบุหรี่จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวานในระยะยาวได้ โดยโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต การทำลายของเส้นประสาท และโรคตา ให้ปรึกษาแพทย์ว่าเป้าหมายในการควบคุมดูแลรักษาโรคเบาหวานของคุณคือเท่าใด รวมถึงข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว และบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับคุณ
ปฏิบัติตามแผนรับประทานอาหาร
กำหนดแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับคุณร่วมกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลได้
เลือกผักและผลไม้ ถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด ไก่ หรือไก่งวงที่ไม่มีหนัง ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และนมปราศจากไขมัน หรือนมไขมันต่ำ และชีส ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มรสหวานที่ใส่น้ำตาลทุกชนิด เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณพลังงานต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานซ์ น้ำตาล และเกลือ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกาย พยายามออกกำลังกายให้ได้ 30 นาที ให้มีจำนวนวันต่อสัปดาห์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การเดินเร็วและว่ายน้ำ เป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มการออกกำลังกาย หากคุณไม่ใช่ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกายเสมอ เพื่อที่จะรู้ว่าการออกกำลังกายชนิดใดและปริมาณเท่าใดเหมาะสมสำหรับคุณ
การปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วน แนะนำให้ปรึกษาทีมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อออกแบบตารางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
รับประทานยาสำหรับโรคเบาหวานและยาสำหรับโรคอื่นๆ ตามแพทย์สั่ง แม้ว่าคุณจะรู้สึกแข็งแรงดีหรือมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลถึงเป้าหมายแล้วก็ตาม การใช้ยาจะทำให้คุณปฏิบัติตามหลักการ ABCs ได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถ้าคุณต้องการรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) เพื่อป้องกันโรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดเสมอ และแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณไม่สามารถจ่ายค่ายารักษาโรคได้ หรือเมื่อคุณมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดด้วยตนเองทุกวันเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมดูแลรักษาโรคเบาหวาน และจะยิ่งสำคัญมากหากคุณกำลังได้รับยาฉีดอินซูลิน ผลที่ได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาของคุณได้
วิธีในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านที่นิยมมากที่สุดคือการใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่มีขายทั่วไปตามร้านขายยา คุณจะต้องใช้เครื่องมือนี้เจาะเลือดที่บริเวณปลายนิ้ว จากนั้นจะใช้เลือดปริมาณเล็กน้อยหยดลงบนแผ่นตรวจ ซึ่งเครื่องจะแสดงผลค่าระดับน้ำตาลในเลือด ณ ขณะนั้นให้คุณทราบ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ในการตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน และให้จดบันทึกผลการตรวจทุกครั้ง และนำผลการตรวจระดับน้ำตาลนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์
เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดคือเท่าไร
ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงค่าปกติคือ:
- ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร : 80-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง : น้อยกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ปรึกษาแพทย์เสมอเกี่ยวกับค่าเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับคุณ เพื่อให้คุณสามารถแจ้งแพทย์ได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณขณะนี้สูงหรือต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
จะเกิดอะไรขึ้นหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
บางครั้งระดับน้ำตาลในเลือดอาจต่ำกว่าค่าปกติที่ควรจะเป็น เราเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoglycemia) โดยทั่วไประดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไปจะหมายถึงต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ และต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
จะเกิดอะไรขึ้นหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เรียกว่า hyperglycemia
อาการแสดงถึงภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ได้แก่
ถ้าคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีอาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูงบ่อยครั้ง ให้ปรึกษาแพทย์ เพราะคุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือยาที่กำลังใช้อยู่
ข้อควรรู้: เมื่อไรที่ควรเช็คระดับคีโตน
แพทย์อาจต้องการตรวจปัสสาวะของคุณเพื่อวัดปริมาณสารคีโตน ถ้าหากคุณมีอาการของภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนที่เกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อระดับคีโตนในร่างกายสูงขึ้น จะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อาการมีดังนี้
- หายใจลำบาก หายใจผิดปกติ
- คลื่นไส้ หรือ อาเจียน
- ปวดท้อง
- มึนงง สับสน
- รู้สึกเหนื่อยมาก หรือง่วงนอน
ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจะพบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
ร่วมมือกับทีมแพทย์ในการรักษาโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาโดยแพทย์ทั่วไป
นอกเหนือจากแพทย์ทั่วไปที่ดูแลคุณแล้ว ทีมแพทย์ยังอาจประกอบไปด้วย
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเบาหวานเป็นพิเศษ
- นักโภชนาการ
- พยาบาล
- เภสัชกร
- ทันตแพทย์
- จักษุแพทย์ (หมอตา)
- แพทย์ที่ดูแลเท้า
- ผู้ให้คำปรึกษา หรือ นักจิตวิทยา
เมื่อคุณต้องไปพบทีมบุคลากรทางการแพทย์ อย่าลืมที่จะถามคำถามที่คุณอยากรู้ ดังนั้นก่อนไปพบทีมบุคลากรทางการแพทย์ แนะนำให้จดข้อคำถามไปก่อน
คุณควรพบทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลคุณอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ หรือปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต หรือระดับคอเลสเตอรอล ให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ต้องมั่นใจว่าคุณได้รับการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจเท้า และชั่งน้ำหนัก และการทบทวนแผนการรักษาของคุณ ปรึกษาทีมแพทย์ที่ดูแลคุณเกี่ยวกับยาและการปรับเปลี่ยนที่ควรจะเป็น การพบแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้ตรวจพบปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว หรือช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นได้
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนที่คุณควรฉีดเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคปอดอักเสบ การป้องกันการเจ็บป่วยถือเป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจะสูงขึ้นได้ง่ายหากคุณกำลังเจ็บป่วย หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
รับมือกับโรคเบาหวานด้วยวิธีการทางสุขภาพที่ดี
ความเครียด อารมณ์เสียใจ หรือโกรธ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยร่วมกับการเป็นโรคเบาหวาน ความเครียดจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น พยายามหายใจเข้าออกลึกๆ ทำสวน การเดิน เล่นโยคะ นั่งสมาธิ ทำงานอดิเรก หรือพังเพลงที่คุณชอบ จะช่วยจัดการกับความเครียดได้
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคซึมเศร้าอาจมีสาเหตุมาจากความพยายามในการรักษาโรคเบาหวานที่คุณเป็น แนะนำให้ขอคำปรึกษาหากคุณกำลังมีอารมณ์ซึมเศร้า ได้แก่ ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อน หรือคนในครอบครัว ซึ่งจะช่วยรับฟังคุณและทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
พยายามนอนหลับพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและช่วยให้คุณหายจากอาการอ่อนเพลีย หากคุณมีอาการง่วงนอนระหว่างวันบ่อยครั้ง คุณอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีการหยุดหายใจหลายๆ ครั้งตลอดคืน ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หากคุณคิดว่าตัวคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
โปรดจำไว้ว่า การดูแลรักษาโรคเบาหวานไม่ง่าย แต่ก็คุ้มค่าที่จะทำ