โรคตาจากเบาหวาน เป็นกลุ่มของปัญหาทางตาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบไปด้วยโรคหลายโรค ได้แก่ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy), จอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema), ต้อกระจก (cataracts) และต้อหิน (glaucoma)
เมื่อเวลาผ่านไป โรคเบาหวานสามารถสร้างความเสียหายกับดวงตา และนำไปสู่การมองเห็นที่ลดลง และอาจทำให้ตาบอดได้ แต่คุณสามารถปฏิบัติตนตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อป้องกันโรคตาจากเบาหวานได้ หรือช่วยให้อาการของโรคตาจากเบาหวานไม่ได้แย่ลง ได้โดยการควบคุมดูแลรักษาโรคเบาหวาน
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคเบาหวาน และช่วยให้ตายังคงมีสุขภาพดี มีดังนี้
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล หรือเรียกอีกอย่างว่า การใช้หลักการ ABCs
- ถ้าคุณสูบบุหรี่ แนะนำให้เข้ารับการช่วยเหลือเรื่องการเลิกบุหรี่
- เข้ารับการตรวจตากับจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง
ในช่วงแรกของการเป็นโรคตาจากเบาหวาน หรือ ขณะที่มีการสูญเสียการมองเห็นในระยะแรก จะไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพดวงตากับจักษุแพทย์จะช่วยให้แพทย์รู้ปัญหาได้เร็วและรักษาคุณอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะมีการสูญเสียการมองเห็นในขั้นรุนแรง
โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อตาได้อย่างไร
โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อตาเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป
ผลในระยะสั้น: คุณจะยังมีความเสี่ยงน้อยต่อการสูญเสียการมองเห็นจากระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูง ผู้ป่วยบางรายอาจมีการมองเห็นภาพไม่ชัดได้เป็นระยะเวลาไม่กี่วันหรือสัปดาห์หลังการเปลี่ยนแผนการรักษาโรคหรือเปลี่ยนยา ระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูงสามารถเปลี่ยนระดับของเหลวหรือทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อตาที่เกี่ยวข้องกับการโฟกัสวัตถุ ทำให้มีการมองเห็นภาพไม่ชัดเกิดขึ้น การมองเห็นภาพไม่ชัดในกรณีนี้เป็นเพียงชั่วคราว และจะหายได้หากระดับน้ำตาลกลูโคสลดระดับลงใกล้ค่าปกติ
ถ้าระดับน้ำตาลกลูโคสยังคงสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน: จะทำให้เกิดการทำลายเส้นเลือดขนาดเล็กข้างหลังดวงตาได้ ความเสียหายนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงมีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (ช่วงที่ระดับน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าค่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน) ความเสียหายที่เกิดกับหลอดเลือด จะทำให้ของเหลวในหลอดเลือดรั่วออกมา และทำให้เกิดการบวมเกิดขึ้น ทำให้หลอดเลือดใหม่ที่อ่อนแอมีการสร้างขึ้นทดแทน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หลอดเลือดเหล่านี้สามารถเกิดเลือดออกได้บริเวณส่วนกลางของตา ทำให้เกิดรอยแผลเป็น หรือทำให้เกิดความดันภายในลูกตาสูงที่อันตรายได้ โรคตาจากเบาหวานที่ร้ายแรงส่วนใหญ่เริ่มต้นจากปัญหาของหลอดเลือด โรคตาทั้ง 4 ชนิดที่สามารถคุกคามการมองเห็นมีดังนี้
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy)
จอประสาทตา หรือจอตา (retina) เป็นเนื้อเยื่อที่บุอยู่ด้านในลึกสุดของดวงตา จอประสาทตาจะมีความไวต่อแสงและเปลี่ยนสิ่งที่มองเห็นเป็นสัญญาณไปที่สมอง เพื่อให้สมองประมวลผลแล้วเห็นเป็นภาพเกิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตา ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy)
ในระยะแรกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสารทตานั้น หลอดเลือดจะอ่อนแอ บวม และมีการรั่วของสารน้ำในหลอดเลือดเข้าสู่จอประสาทตา ในระยะนี้เราเรียกว่า nonproliferative diabetic retinopathy
ถ้าโรคเป็นมากขึ้น หลอดเลือดบางเส้นจะหยุดการทำหน้าที่ เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดใหม่มีการสร้างและเติบโตขึ้นที่บริเวณผิวของจอประสาทตา ในระยะนี้เรียกว่า proliferative diabetic retinopathy ซึ่งหลอดเลือดใหม่ผิดปกติที่สร้างขึ้นนี้จะทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นที่ร้ายแรง
จอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema)
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจหมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
กดส่วนของจอประสาทตาที่จำเป็นสำหรับการอ่านหนังสือ การขับรถ และการมองเห็นใบหน้า เราเรียกส่วนนั้นว่า macula (บริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา) โดยโรคเบาหวานจะทำให้เกิดการบวมที่บริเวณ macula นี้ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema) เกิดขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไปโรคนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นที่คมชัด ทำให้สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทำให้เกิดการตาบอดได้ จอประสาทตาบวมน้ำนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอาการแสดงอื่นๆ ของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่แล้ว
ต้อหิน (glaucoma)
ต้อหิน คือกลุ่มโรคของดวงตา ที่สามารถทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทตา หรือ optic nerve ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นประสาทที่เสื่อมระหว่างตากับสมอง โรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินถึงสองเท่า ทำให้การมองเห็นลดลงและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดตาบอดในที่สุด อาการของโรคนี้จะขึ้นกับชนิดของต้อหิน
ต้อกระจก (cataracts)
เลนส์ตา ปกติจะเป็นลักษณะใส เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพที่คมชัด แต่เลนส์ตาจะมีแนวโน้มขุ่นมัวขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการขุ่นของเลนส์ตา หรือเรียกว่า โรคต้อกระจก (cataracts) ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเกิดโรคต้อกระจกได้ในช่วงอายุน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน นักวิจัยคิดว่าระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูงจะทำให้เกิดการสะสมที่เลนส์ดวงตา
โรคตาจากเบาหวานพบบ่อยแค่ไหน
ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีอาการแสดงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาบางอาการ ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นโรคที่พบบ่อย และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การตรวจพบและรักษาโรคนี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดตาบอดได้ 95%
ต้อหิน (glaucoma) และต้อกระจก (cataracts)
คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อหิน หรือ ต้อกระจกได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน 2 เท่า
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตาจากเบาหวาน
ใครก็ตามที่เป็นโรคเบาหวานสามารถเกิดโรคตาจากเบาหวานได้ทุกคน โดยความเสียงจะเพิ่มขึ้นถ้า
- มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง และไม่ได้รับการรักษา
- มีระดับความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษา
- ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูง และการสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาจากเบาหวาน
ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานและกำลังตั้งครรภ์ คุณจะมีโอกาสเกิดปัญหาที่ตาเร็วกว่าคนอื่นในขณะที่ตั้งครรภ์ ถ้าคุณมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้อาการแย่ลงได้ระหว่างตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จะทำให้เกิดแรงเครียดที่เส้นเลือดในดวงตา แพทย์จะพิจารณาให้คุณตรวจตาเป็นประจำระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะถ้าตรวจพบโรคนี้ระหว่างตั้งครรภ์ได้เร็วจะได้รีบรักษาได้ทันก่อนที่จะสูญเสียการมองเห็น
โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะระหว่างการตั้งครรภ์ เรียกว่า ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes) มักไม่ทำให้เกิดปัญหาที่ตา ซึ่งนักวิจัยยังไม่ทราบว่าทำไม โอกาสในการเป็นโรคตาจากเบาหวานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานของคุณ
อาการของโรคตาจากเบาหวาน
มักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรคตาจากเบาหวาน คุณอาจไม่มีอาการปวด หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงการมองเห็นใดๆ ในระยะเริ่มแรกที่มีความเสียหายเห็นขึ้นในภายดวงตา โดยเฉพาะภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เมื่อมีอาการเกิดขึ้น อาการเหล่านั้นมีดังนี้
- มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพเป็นคลื่น
- วิสัยทัศน์การมองเห็นเปลี่ยนบ่อย บางครั้งเปลี่ยนกันวันต่อวัน
- มองเห็นบางส่วนเป็นสีดำมืด หรือสูญเสียการมองเห็น
- การมองเห็นสีผิดปกติ
- เห็นจุดดำ
- เห็นการกระพริบของแสง
ให้พบจักษุแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์ทันที
ให้ไปพบแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการเตือนของการเปลี่ยนแปลงการมองเห็น รวมถึง การมองเห็นแสงกระพริบ หรือมีหลายจุดขึ้นในดวงตามากกว่าปกติ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการมองเห็นอาจเป็นอาการของการหลุดลอกของจอประสาทตา ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉิน
การวินิจฉัยโรคตาจากเบาหวานทำอย่างไร
การเข้ารับการตรวจตาโดยละเอียดกับจักษุแพทย์คือวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจเช็คปัญหาเกี่ยวกับดวงตาจากโรคเบาหวาน โดยแพทย์จะทำการหยดยาหยอดตาที่ดวงตาเพื่อขยายรูม่านตา ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถตรวจตาได้อย่างชัดเจน และมองเห็นได้กว้างจนถึงด้านหลังของดวงตาคุณ โดยแพทย์จะใช้เครื่องแว่นขยายพิเศษในการตรวจ การมองเห็นจะมัวลงได้ชั่วคราวไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ
แพทย์จะทำสิ่งต่อไปนี้
- ทดสอบการมองเห็น
- วัดความดันลูกตา
แพทย์อาจแนะนำการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับประวัติทางสุขภาพของคุณ
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเข้ารับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งทีมแพทย์ที่ดูแลคุณอาจแนะนำแผนการรักษาที่แตกต่างกันออกไปได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวานและระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานของคุณ
แนวทางในการตรวจตาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- เบาหวานชนิดที่ 1 : ตรวจตาทุกปี ควรเริ่มภายใน 5 ปีหลังการวินิจฉัยโรค
- เบาหวานชนิดที่ 2 : ตรวจตาทุกปี ควรเริ่มทันทีภายหลังการวินิจฉัยโรค
- ตั้งครรภ์ : ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาก่อนการตั้งครรภ์หรือภายใน 3 เดือนแรก แพทย์อาจต้องการการตรวจตาซ้ำในระหว่างการตั้งครรภ์และจนกว่าทารกจะมีอายุ 1 ปี
ผู้หญิงที่เป็นภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจตา เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่เกิดโรคตาจากเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ถ้าคุณมีคำถามเพิ่มเติม ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลคุณ
การรักษาโรคตาจากเบาหวาน
แพทย์อาจแนะนำให้คุณตรวจตามากกว่าปีละ 1 ครั้ง รวมกับการควบคุมดูแลโรคเบาหวาน ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามหลักการ ABCs คือ การควบคุมระดับน้ำตาลสะสม, ระดับความดันโลหิต, และระดับคอเลสเตอรอล และเลิกสูบบุหรี่ ให้ปรึกษาทีมแพทย์ที่ดูแลคุณว่าคุณควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด แพทย์อาจพิจารณารักษาโรคตาที่รุนแรงโดยการใช้ยา การใช้เลเซอร์ การผ่าตัด หรือใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน
ยา
แพทย์อาจพิจารณาใช้ยา anti-VEGF ในการรักษาตาคุณ เช่น ยา อะฟิเบอร์เซฟ (aflibercept), บีวาร์ซิซูแมบ (bevacizumab) หรือ รานิบิซูแมบ (ranibizumab) ยาเหล่านี้จะยับยั้งการเติบโตของเส้นเลือดผิดปกติภายในดวงตา ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งการเกิดการรั่วไหลของของเหลวในตา ทำให้รักษาจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัดได้
แพทย์จะฉีดยา anti-VEGF เข้าไปในดวงตาของคุณ คุณอาจมีหลายการรักษาร่วมกันในช่วงเดือนแรกๆ ของการรักษา และลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แพทย์จะใช้ยาชากับดวงตาของคุณก่อนการฉีดยาเข้าไป ดังนั้นคุณจะไม่รู้สึกเจ็บ โดยเข็มจะมีความหนาเท่าเส้นผมของมนุษย์เท่านั้น
ยา Anti-VEGF จะหยุดยั้งการสูญเสียการมองเห็นในอนาคต และอาจช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย
การรักษาด้วยเลเซอร์
การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาด้วยวิธีนี้จะรักษาการรั่วของหลอดเลือดและของเหลวภายในดวงตา หรือที่เรียกว่าการบวม (edema) แพทย์จะรักษาคุณโดยใช้ยาชากับดวงตาก่อนใช้แสงเลเซอร์รักษา การใช้เลเซอร์รักษาจะป้องกันไม่ให้โรคแย่ลงกว่าเดิม และป้องกันการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด แต่การใช้เลเซอร์จะได้ผลในการรักษา คือทำให้การมองเห็นกลับมาเหมือนเดิมได้ไม่ดีเท่ากับการใช้ยา anti-VEGF
ชนิดของเลเซอร์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ
- Focal/grid laser ซึ่งจะทำงานบนพื้นที่เล็กๆ ของจอประสาทตา เพื่อรักษาจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด
- Scetter laser จะเป็นการรักษาบนพื้นที่กว้างกว่าของจอประสาทตา ทำให้รักษาการเติบโตที่ผิดปกติของเส้นเลือดในตา ที่เรียกว่า proliferative diabetic retinopathy ได้
การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy)
การผ่าตัดวุ้นตา หรือ vitrectomy คือการผ่าตัดเพื่อกำจัดเอาเจลใสที่อยู่ภายในส่วนกลางของลูกตาออก หรือเรียกว่า vitreous gel การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้รักษาการเกิดเลือดออกที่รุนแรง หรือเนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดจาก proliferative diabetic retinopathy เนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นให้จอประสาทตาลอกออกได้ คล้ายๆ กับวอลเปเปอร์ลอกออกจากผนังบ้าน ถ้าจอประสาทตาลอกอย่างสมบูรณ์แบบจะทำให้ตาบอดในที่สุด
ระหว่างการผ่าตัดวุ้นตา จะมีการปั้มสารละลายเกลือใสเข้าไปในดวงตา เพื่อรักษาความดันภายในลูกตาระหว่างการผ่าตัด การผ่าตัดนี้จะต้องกระทำในโรงพยาบาลที่มีห้องผ่าตัด
การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา (Cataract Lens Surgery)
แพทย์จะผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นออก (หากเป็นต้อกระจก) และใช้เลนส์ตาเทียมแทน ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาจะมีการมองเห็นที่ดีขึ้น ภายหลังจากหายดีแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการสั่งตัดแว่นตา การมองเห็นภายหลังการผ่าตัดนี้จะขึ้นอยู่กับปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือ จอประสาทตาบวมน้ำ ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น
ฉันควรทำอย่างไรเพื่อปกป้องดวงตา
ในการป้องกันโรคตาจากเบาหวาน หรือป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ให้ปฏิบัติตามหลักการควบคุมโรคเบาหวาน หรือหลักการ ABCs คือ ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และเลิกสูบบุหรี่ ถ้าคุณสูบ
เข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียดกับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือบ่อยมากกว่านั้นตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ที่ดูแลคุณ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปกป้องดวงตาของคุณและป้องกันตาบอดได้
ยิ่งดูแลรักษาโรคเบาหวานและโรคร่วมอื่นๆ ได้เร็วแค่ไหน ยิ่งดีเท่านั้น และแม้ว่าในอดีตคุณจะมีปัญหาในการควบคุมดูแลโรคของคุณ การดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่วันนี้จะช่วยปกป้องสุขภาพดวงตาของคุณได้ ไม่มีคำว่าสายเกินไป
ถ้าฉันมีการสูญเสียการมองเห็นจากโรคเบาหวาน จะต้องทำอย่างไร
ให้ปรึกษาจักษุแพทย์ จักษุแพทย์จะช่วยคุณจัดการปัญหาการมองเห็นที่ลดลงได้ การใช้อุปกรณ์พิเศษและการเข้ารับการอบรมจะช่วยให้คุณยังคงสภาพการมองเห็นให้ดีที่สุด และมีชีวิตต่อไปตามปกติได้ เช่น สังสรรค์ พบปะเพื่อนฝูง ครอบครัว ทำงานอดิเรก และมีชีวิตโดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่น
เราป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานรับยาต่อเนื่อง