"อาการแพ้รุนแรง" หนึ่งในประเภทของอาการแพ้ในโรคภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ทำความรู้จักอาการแพ้รุนแรง เมื่อโรคภูมิแพ้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
"อาการแพ้รุนแรง" หนึ่งในประเภทของอาการแพ้ในโรคภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • อาการแพ้รุนแรง เป็นอีกประเภทของอาการโรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดขึ้นภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ และเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • อาการของอาการแพ้รุนแรงจะคล้ายกับอาการของโรคภูมิแพ้ทั่วไป แต่จะร้ายแรงกว่า เช่น อาเจียนอย่างหนัก ใบหน้า ลิ้น เพดานปากบวม หลอดลมบวม ชีพจรอ่อน ความดันโลหิตต่ำ หายใจไม่ออก
  • ยาอะดรีนาลีนคือ ยาสำคัญในการรักษาและปฐมพยาบาลผู้ป่วยอาการแพ้รุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้แบบนี้ ควรพกยาอะดรีนาลีนติดตัวเพื่อไว้ใช้เมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรงอย่างกะทันหัน
  • เพื่อป้องกันอันตรายจากอาการแพ้รุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต คุณควรตรวจหาว่า ร่างกายของตนเองมีอาการแพ้ต่อสารชนิดได้บ้าง โดยสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

คุณอาจคิดว่าอาการของโรคภูมิแพ้นั้น เป็นอาการที่เพียงต้องระมัดระวังและอยู่ให้ห่างจากสารก่อภูมิแพ้เท่านั้น ซึ่งหากระมัดระวังให้ดี อาการของโรคภูมิแพ้ก็จะไม่กำเริบ และสุขภาพของคุณก็จะยังคงแข็งแรงไม่เป็นอันตราย

แต่ความจริงแล้ว ยังมีอีกประเภทของโรคภูมิแพ้ซึ่งเป็นอันตรายได้ถึงชีวิตหากคุณไม่ระมัดระวัง หรือเผลอสัมผัส รับประทาน ถูกกัดต่อย หรือหายใจรับเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ซึ่งเราจะเรียกได้ในชื่อ “โรคภูมิแพ้เฉียบพลัน” หรือ “อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis)"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของอาการแพ้รุนแรง

อาการแพ้รุนแรง เป็นอาการของโรคภูมิแพ้ที่อันตรายร้ายแรงที่สุด เพราะจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และมีมากกว่า 1 ระบบของร่างกายที่เกิดความผิดปกติขึ้นในเวลาเดียวกันจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สำหรับระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้นส่วนมากจะไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป โดยอาการแพ้รุนแรงที่แสดงออกมาจะค่อนข้างร้ายแรงกว่าอาการของโรคภูมิแพ้ทั่วไป

อาการของอาการแพ้รุนแรง

อาการโดยหลักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการแพ้รุนแรงจะมีดังต่อไปนี้

  • ลิ้นบวม
  • ลำคอบวมและผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นภายในลำคอ
  • วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ
  • พูดลำบากหรือมีเสียงแหบ
  • ใบหน้า ริมฝีปากและดวงตาบวม
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • อาเจียนอย่างหนัก
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งอาการแพ้รุนแรงได้ตามระบบของร่างกาย 4 ระบบ ดังต่อไปนี้

  • ระบบผิวหนังและเยื่อบุในร่างกาย ผู้ป่วยจะรู้สึกคันตามตัว มีผื่นขึ้นนูนเป็นสีแดงหรือตัวแดงทั้งตัว มีอาการบวมที่ตา ปาก หรืออาจทั่วทั้งใบหน้า และอาจรวมไปถึงลิ้นและเพดานปากด้วย
  • ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจลำบากหรือหายใจไม่ได้เลย มีเสียงแหบ หายใจมีเสียงดังวี้ด หลอดลมบวมตีบ
  • ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะกลืนน้ำลายลำบาก ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม ความดันโลหิตต่ำลง ชีพจรอ่อนและอาจช็อกได้

สาเหตุของอาการแพ้รุนแรง

สาเหตุที่มักพบได้บ่อยของอาการแพ้รุนแรงคือ แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล นม ถั่ว ไข่ ส่วนสาเหตุรองลงมาจะเป็นแพ้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ส่วนสาเหตุอื่นๆ จะได้แก่อาการแพ้รุนแรงต่อพิษของแมลง เช่น มดคันไฟ ผึ้ง ตัวต่อ แตน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ทำจากยาง หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ยางลาเท็กซ์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรง

หากผู้ป่วยเกิดอาการแพ้รุนแรงขึ้น ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด แต่ให้หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นยืนหรือเปลี่ยนท่าทางโดยฉับพลัน เพราะหากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะความดันโลหิตต่ำอยู่อาจจะหมดสติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณเป็นผู้ป่วยที่เกิดอาการแพ้รุนแรงและอยู่ตามลำพัง ให้พยายามออกไปในที่ที่มีผู้คนและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือแทน

ผู้ที่ปฐมพยาบาลควรให้ผู้ป่วยนอนราบลง และเอนศีรษะผู้ป่วยให้สูงขึ้นหากผู้ป่วยหายใจไม่ออก และหากผู้ป่วยมียาแก้แพ้ติดตัวอยู่ก็สามารถรับประทานได้ แต่โดยปกติแล้ว ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานจะไม่สามารถบรรเทาอาการแพ้รุนแรงได้

สำหรับตัวยาสำคัญที่สามารถรักษาอาการแพ้รุนแรงได้ก็คือ ยาอะดรีนาลีน หรืออีลิเนฟริน (Adrenaline หรือ Epinephrine) ซึ่งจะใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเพราะยาดังกล่าวนี้เป็นตัวยาตัวแรกที่จะต้องใช้ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วย ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตเครื่องฉีดอะดรีนาลีนอัตโนมัติ ซึ่งถูกออกแบบมาให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ใช้ได้

แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องทราบก็คือ การฉีดอะดรีนาลีนเพื่อปฐมพยาบาลฉุนเฉินนั้น ไม่สามารถทดแทนการไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการได้ ดังนั้นหากคุณได้ฉีดอะดรีนาลีนเข้าร่างกายเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการต่อไปด้วย

และนอกเหนือจากยาอะดรีนาลีนหรืออีลิเนฟรินแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังใช้สารน้ำ การพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม และให้ออกซิเจนเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย

การวินิจฉัยอาการแพ้รุนแรง

ในเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยก่อนว่า ก่อนหน้านั้นผู้ป่วยได้รับยา หรืออาหารอะไรเข้าไปก่อนเกิดอาการประมาณ 2 ชั่วโมง รวมไปถึงสถานที่ และกิจกรรม สภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ด้วย เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยอีกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลังจากนั้น แพทย์จะมีการทดสอบบางอย่าง เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการตรวจเลือด และตรวจทางผิวหนังซึ่งจะไม่ต่างจากการตรวจภูมิแพ้ธรรมดา

นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบโดยให้สารที่สงสัยซ้ำ (Challenge Test) โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับสารก่อภูมิแพ้ที่มักจะทำให้ผู้ป่วยแพ้เข้าไป เพื่อสังเกตอาการว่าผู้ป่วยแพ้สารดังกล่าวใช่หรือไม่ วิธีการทดสอบนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยง และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

แนวทางการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการแพ้รุนแรง

เพราะอาการแพ้รุนแรงนั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องดูแล และระมัดระวังตนเองให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบอีก ซึ่งลักษณะการดูแลตนเองก็จะแตกตางกันไปตามอาการแพ้ที่เกิดขึ้น เช่น

1. แพ้อาหาร

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้อยู่ หากเป็นอาหารปรุงในร้านก็ให้ถามทางร้านเสียก่อนว่า มีอาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ประกอบอยู่ด้วยหรือไม่ หรือหากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารก็ควรอ่านฉลากให้ดี และถี่ถ้วนเสียก่อน

นอกจากนี้ หากคุณมีเด็กๆ ในบ้านที่มีอาการแพ้รุนแรงจากอาหาร อย่าลืมกำชับกับทางโรงเรียนให้ระมัดระวังเรื่องวัตถุดิบและส่วนประกอบของอาหารที่โรงเรียนด้วย หรือเพื่อความปลอดภัย คุณอาจทำอาหารจากบ้านไปให้เด็กรับประทานเอง

2. แพ้ยา 

พกชื่อยาที่แพ้ไว้กับตัว เมื่อต้องไปพบแพทย์หรือตรวจสุขภาพ ให้แจ้งกับทางแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาตัวไหนบ้าง

3. แพ้อากาศ 

หลีกเลี่ยงไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะหรืออากาศที่แพ้ ใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ออกข้างนอก หรือหากมียาหยอดตา ยาพ่นจมูก ก็ให้พกติดตัวไว้ทุกครั้ง และมีสำรองไว้ในกระเป๋าส่วนตัวเพื่อกันลืมด้วย

4. แพ้แมลง

ป้องกันอย่าให้แมลงชนิดดังกล่าวกัดหรือต่อยซ้ำ รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในสถานที่ที่แมลงชนิดนั้นๆ ชุกชุม รวมถึงสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ไม่เดินเท้าเปล่า

นอกเหนือจากการระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแพ้รุนแรงแล้ว ผู้ที่เคยมีอาการแพ้รุนแรงมาก่อนยังควรพกยาอะดรีนาลีนสำหรับใช้ฉุกเฉินไว้กับตัวด้วย โดยคุณสามารถขอให้แพทย์ช่วยสอนวิธีฉีดยาให้กับตนเองและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพื่อจะได้ปฐมพยาบาลได้ทันเวลา

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, โรคภูมิแพ้ รับมืออย่างไรเมื่ออาการรุนแรง (Anaphylaxis) (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/832/Anaphylaxis).
พญ.ชามาศ วงค์ษา, อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1402_1.pdf).
ผศ.พญ. อารยา ยืนยงวิวัฒน์, การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) (https://meded.psu.ac.th/binla/class05/388_551/Anaphylaxis/index.html#).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
7 อาหารเสี่ยงเกิดอาการแพ้พร้อมวิธีป้องกัน
7 อาหารเสี่ยงเกิดอาการแพ้พร้อมวิธีป้องกัน

อาหารที่มักทำให้เกิดอาการแพ้มีอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่าง กลุ่มผู้ที่เสี่ยงเกิดอาการแพ้ และวิธีป้องกัน

อ่านเพิ่ม
อาการแพ้ไข่ หนึ่งในโรคภูมิแพ้อาหารที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก
อาการแพ้ไข่ หนึ่งในโรคภูมิแพ้อาหารที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก

ไม่ใช่แค่อาหารทะเลที่คนมักจะแพ้กัน แต่ "ไข่" ก็เป็นอาหารอีกประเภทที่มีคนแพ้ด้วย แพ้ไข่เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบ

อ่านเพิ่ม