การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจคัดกรองโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่แสดงอาการออกมา หรือตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค โดยการตรวจสุขภาพในผู้หญิงช่วงอายุ 18-39 ปี ถือเป็นวัยที่ควรเริ่มเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
เป้าหมายของการตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจร่างกายในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี โดยมีเป้าหมายหลักๆ คือ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ตรวจคัดกรองโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่แสดงอาการ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก หรือมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
- ตรวจปัจจัยเสี่ยง หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคในอนาคต เช่น มีความเครียด ชอบรับประทานของหวาน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ตรวจดูการรับวัคซีนป้องกันโรคในแต่ละช่วงวัย
ตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 18–39 ปี มีอะไรบ้าง?
รายการตรวจสุขภาพในผู้หญิงอายุ 18-39 ปี คล้ายกับการตรวจสุขภาพทั่วไป ประกอบด้วย การซักประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างการตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะ
อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพผู้หญิงในวัยนี้จะเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงเข้ามาด้วย เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปากมดลูก
การซักประวัติสุขภาพ
การซักประวัติสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แพทย์ค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยประเด็นที่แพทย์จะสอบถาม เช่น
- สุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตทั่วไป
- ประวัติสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจ และคนในครอบครัว
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย การนอนหลับ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
- อาชีพที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน
หลังจากซักประวัติสุขภาพร่างกายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจร่างกายในด้านต่างๆ ตามรายการพื้นฐานที่ควรตรวจ หรือตามที่แพทย์ประเมินแล้วว่า อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรค จึงจำเป็นต้องตรวจเพื่อวินิจฉัยให้ชัดเจน
การตรวจความดันโลหิต
คนทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี แต่หากมีโรคประจำตัว หรือค่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ อาจจำเป็นตรวจบ่อยกว่านั้น เช่น
- หากเลขความดันโลหิตตัวบน (Systolic number) อยู่ระหว่าง 120-139 หรือเลขตัวล่าง (Diastolic number) อยู่ระหว่าง 80-89 mmHg หรือมากกว่านั้น ควรตรวจวัดความดันโลหิตทุกปี
- หากเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
- หากเลขตัวบนสูงกว่า 140 mmHg หรือเลขตัวล่างสูงกว่า 90 mmHg ควรไปพบแพทย์ทันที
- หากความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mm Hg แพทย์อาจตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อหาภาวะเบาหวานด้วย
การตรวจระดับคอเลสเตอรอล
การตรวจระดับคอเลสเตอรอล ควรเริ่มตรวจในช่วงอายุระหว่าง 20-45 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจไปอีก 5 ปี
- หากมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นภายในช่วง 5 ปีหลังตรวจ ควรกลับมาตรวจคอเลสเตอรอล
- ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาโรคไต หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลบ่อยกว่าข้างต้น
การตรวจเบาหวานสำหรับผู้หญิงอายุ 18–39 ปี
การตรวจเบาหวานเป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยในผู้หญิงอายุ 18-39 ปีที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจะคล้ายกับผู้มีความเสี่ยงทั่วไป ดังนี้
- เด็กอายุ 10-18 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวาน เช่น น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือมารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- กำลังตั้งครรภ์ หรือเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีภาวะอ้วนมาก หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะอ้วนลงพุง หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร่วมด้วย
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mmHg
- มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน โดยการคลำหาก้อนเนื้อที่เต้านม หรือดูลักษณะรูปร่างของเต้านม อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมไม่ได้ช่วยให้ตรวจค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้
ปกติแล้ว จะไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม หรือตรวจอัลตราซาวด์ในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้ารับการตรวจมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี
การตรวจภายใน และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี ควรเริ่มเข้ารับการตรวจภายใน และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
โดยวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่นิยมคือ การตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA
การตรวจผิวหนัง
แพทย์จะตรวจดูผิวหนังของคุณเพื่อดูว่ามีสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน มีญาติใกล้เคียงเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การตรวจสุขภาพช่องปาก
ควรไปพบทันตแพทย์ปีละ 1-2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาดช่องปากและฟัน
การตรวจตา
ในผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา ควรตรวจสายตาทุก 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์
อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรเข้าตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
การตรวจคัดกรองอื่นๆ
รายการตรวจสุขภาพในแต่ละโรงพยาบาลอาจมีการตรวจคัดกรองอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น
- ในผู้ที่เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือเป็นติ่งเนื้อเมือกมาก่อน หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการตรวจกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่ควรตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกบ่อยๆ
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งในเลือด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกัน
การฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันในผู้หญิงอายุ 18-39 ปี แพทย์จะดูว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้น หรือจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมไหม เช่น
- ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
- ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
- หากยังไม่เคยได้รับวัคซีน HPV หรือฉีดวัคซีนไม่ครบกำหนด ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
- ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน ควรต้องเข้ารับวัคซีนอีสุกอีใส 2 โดส
- แพทย์จะประเมินว่า คุณควรได้รับวัคซีนโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) อย่างน้อย 1 โดสหรือไม่
- แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หากมีความเสี่ยงภาวะอื่นๆ เช่น โรคปอดบวม
การตรวจสุขภาพเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ ไม่ให้ลุกลาม หรือรุนแรงกว่าเดิมได้ รวมทั้งยังช่วยให้ตระหนักถึงการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้น้อยลง
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
รพ. ยันฮี (อายุ 20 ปีขึ้นไป) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 15-30 ปี) |
รพ. เพชรเวช (อายุน้อยกว่า 30 ปี) |
รพ. ธนบุรี 1 (อายุน้อยกว่า 30 ปี) |
รพ. สุขุมวิท (อายุ 21 ปีขึ้นไป) |
รพ. พญาไท 2 (อายุ 25 ปีขึ้นไป) |
---|---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | |||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | |||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | |||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | |||||
ตรวจปัสสาวะทั่วไป (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด | ✓ | |||||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP | ✓ | |||||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA | ✓ | |||||
ตรวจหัวใจและหลอดเลือด | ✓ | |||||
ราคา | 2,300 | 2,500 | 2,500 | 2,850 | 3,200 | 6,900 |
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 30-40 ปี*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
มิตรไมตรีคลินิก (Standard อายุ 35ปีขึ้นไป) |
มิตรไมตรีคลินิก (Executive อายุ 35ปีขึ้นไป) |
รพ. นครธน (Silver A อายุ 30-40 ปี) |
รพ. นครธน (Silver B อายุ 30-40 ปี) |
รพ. ธนบุรี 1 (Advance Program อายุ 30-40 ปี) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 30-40 ปี) |
รพ. ยันฮี (อายุ 30-40 ปี) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | ||||||
ตรวจวัดระดับแคลเซียม | ✓ | ||||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | ||||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (eGFR) | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP) | ✓ | ||||||
ตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PV, Pap Smear) | ✓ | ||||||
ตรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก (HPV Self-Collection Test) | ✓ | ||||||
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs) | ✓ | ✓ | |||||
ราคา | 1,299 | 1,550 | 4,200 | 4,200 | 4,400 | 4,500 | 5,100 |
*ราคาและรายการตรวจสุขภาพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนซื้อแพ็กเกจ
เช็ครายการตรวจสุขภาพแล้ว ต้องทำอะไรต่อ?
คลิก เพื่อดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ
- ตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น
- ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 40-64 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุ 18-39 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุ 40-64 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android