กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจสุขภาพสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี

ตรวจสุขภาพวัยรุ่น ควรมีรายการตรวจอะไรบ้าง แพทย์ควรให้คำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องใด
เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจสุขภาพสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่นจะเน้นไปที่การตรวจให้แน่ใจว่า อวัยวะทุกส่วนของเด็กยังทำงานสมบูณ์อยู่ เช่น ตรวจตา ตรวจการได้ยิน ตรวจฟัน ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด
  • นอกจากการตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น แพทย์ยังจะให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีนที่จำเป็นต่อเด็กวัยนี้ด้วย เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
  • เด็กอายุ 13-18 ปีเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง แพทย์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อความปลอดภัย และความเหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปรับตัวเข้ากับสังคมที่โรงเรียน
  • เด็กวัยนี้ยังเป็นวัยที่เสี่ยงได้รับบาดเจ็บจากการเล่นดีฬากับเพื่อน หรือปวดศีรษะจากความเครียด การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ซึ่งควรให้แพทย์วินิจฉัยว่า ต้องดูแล แลรักษาเด็กอย่างไร
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

การเข้าพบแพทย์ตั้งแต่ช่วงวัยที่เข้าสู่วัยรุ่นทุกปีจะช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และพัฒนาการทางสังคมได้ 

นอกจากนี้แพทย์จะยังสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขลักษณะที่ไม่ดีได้อีกด้วย เช่น การสูบบุหรี่ การหัดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การอยากลองเสพยาเสพติด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์สามารถช่วยให้เด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเข้าใจถึงความสำคัญในการดำเนินวิถีชีวิตที่ถูกสุขภาพ ตั้งแต่เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไปจนถึงความปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์ และเรื่องเพศที่เด็กวัยนี้อาจกำลังอยากรู้อยากเห็น

ยิ่งเด็กวัยรุ่นมีความตระหนักถึงพัฒนาการทางร่างกาย และเพศของพวกเขามากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งตระหนักถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของพวกเขามากขึ้นเท่านั้น

การตรวจสุขภาพเด็กอายุ 13-18 ปีซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นอาจยังไม่จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองโรคร้ายแรงเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน แต่จะเป็นการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่า อวัยวะทุกส่วนของเด็กยังทำงานสมบูรณ์พร้อมอยู่

การตรวจสุขภาพที่เด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปีควรตรวจ

เด็กวัยรุ่นควรเข้าพบแพทย์เป็นประจำทุกปี โดยรายการที่เด็กควรตรวจ มีดังต่อไปนี้

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน 
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจไขมันในเลือด
  • ตรวจตา ค่าสายตา ทดสอบการมองเห็น
  • ตรวจคัดกรองการได้ยิน
  • ตรวจสุขภาพเหงือก และฟัน
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • ตรวจการทำงานของตับ
  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจคัดกรองโรคกระดูกสันหลังคด และความแข็งแรงของกระดูก
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และบี
  • ตรวจคัดกรองภาวะซีด หรือภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • ตรวจปัสสาวะ 

สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะสุขภาพ มีโรคประจำตัวแต่กำเนิด หรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย แพทย์มีการแนะนำให้เข้ารับการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น 

  • ตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้
  • ตรวจความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจระดับสารแอลกอฮอล์ และสารเสพติด 
  • ตรวจวัณโรค
  • ตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า โรคเครียด 
  • ตรวจประเมินพัฒนาการด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม และอารมณ์

การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี

นอกจากการตรวจสุขภาพ ผู้ปกครองยังควรตรวจสอบ และขอคำแนะนำจากแพทย์ด้วยว่า ควรให้เด็กเข้ารับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันตัวใดบ้าง โดยเด็กที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันต่อโรคเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วัคซีน Tdap ยังถูกแนะนำให้กับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงครึ่งที่สองของการตั้งครรภ์ โดยไม่เกี่ยวว่า แม่จะเคยได้รับวัคซีนตัวนี้มาแล้วหรือไม่ แพทย์ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดก่อนเข้าฤดูเสี่ยงทุกปีอีกด้วย

การให้ความรู้ด้านสุขภาพที่เด็กช่วงอายุ 13-18 ปีควรได้รับ

เมื่อเด็กวัยรุ่นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ผู้ปกครองควรมีการอบรมในประเด็นสุขภาพทางเพศแก่พวกเขา เพราะเป็นวัยเริ่มอยากรู้อยากลอง วัยรุ่นผู้หญิงอาจถูกส่งไปพบนรีแพทย์ครั้งแรกในช่วงนี้ ส่วนวัยรุ่นผู้ชายก็ควรไปตรวจภาวะไส้เลื่อนกับมะเร็งอัณฑะ พร้อมกับเรียนรู้วิธีการตรวจอัณฑะด้วยตัวเองด้วย

นอกจากนี้ผู้ปกครองยังควรทำการสอบถามเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์หรือพฤติกรรมของวัยรุ่นเพื่อเฝ้าระวังสัญญาณของภาวะซึมเศร้า หรือความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยแพทย์สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง และประเด็นอื่นๆ ได้ เช่น

  • กิจกรรมทางเพศที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยเรียน และเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสารเคมีต่างๆ
  • การสูบบุหรี่ ตั้งแต่ซิการ์ไปจนถึงบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ไฟฟ้า
  • การดื่มเหล้า และการขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัย
  • ความสำคัญของหมวกกันน็อก เข็มขัดนิรภัย และอุปกรณ์ป้องกันร่างกายขณะเล่นกีฬา
  • วิธีจัดการกับความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง รวมไปถึงวิธีการเลี่ยงไม่ใช้อาวุธ
  • ปัญหาทางการเรียนรู้ หรือความอึดอัดระหว่างเพื่อนๆ ที่โรงเรียน รวมถึงการปรับตัวเข้ากับสังคม
  • ความสำคัญของการออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และปัญหาอื่น ๆ อย่างอาการปวดเข่า และปวดศีรษะเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากเช่นกัน โดยแพทย์ผู้ดูแลเด็กวัยรุ่นจะสามารถประเมินความเจ็บปวดว่า มีความรุนแรงอย่างไร หรือจะเกิดขึ้นระยะยาว หรือไม่ได้

สำหรับประเด็นเรื่องพัฒนาการทางเพศ และการเจริญพันธุ์บางอย่าง หากผู้ปกครองไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้อง หรือรู้สึกว่า ไม่รู้จะพูดอย่างไรให้เด็กเข้าใจ ก็สามารถปรึกษากับแพทย์ หรือขอให้แพทย์เป็นผู้ตอบคำถามที่เด็กๆ สงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศได้ 

นอกจากนี้หากผู้ปกครองล่วงรู้ความลับเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือเกี่ยวกับกิจกรรมบางอย่างที่วัยรุ่นเคยเก็บไว้เป็นความลับ ก็ไม่ควรนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ แต่ควรแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นว่า พร้อมจะเก็บความลับไว้เช่นเดิม และเด็กสามารถปรึกษาพูดคุยด้วยได้ทุกเรื่อง 

เพราะหากเด็กไม่มีความไว้ใจต่อผู้ปกครอง ก็ยากที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะสื่อสารหากันได้ในอนาคต และจะส่งผลทำให้ความสัมพันธ์เหินห่างกันมากกว่าเดิม 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medical Care and Your 13- to 18-Year-Old (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/medical-care-13-18.html)
Adolescents: health risks and solutions. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescents-health-risks-and-solutions)
Vaccines for Teens 13-18 Years. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/parents/by-age/years-13-18.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ท้องเสีย สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน
ท้องเสีย สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

จัดการตัวเองอย่างไรให้หายจากท้องเสีย สาเหตุของท้องเสียเกิดจากอะไร และจะป้องกันอย่างไรดี?

อ่านเพิ่ม