กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Hyperglycemia (ภาวะน้ำตาลสูง)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องระมัดระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ การตรวจระดับเลือดเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในวันนี้ HonestDocs จะพาไปทำความรู้จักภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) ลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการป้องกันอย่างถูกต้อง

ภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) คืออะไร 

ภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่เลือดมีกลูโคสสูง หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นสัญลักษณ์ของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนในแต่ละช่วงของวัน ซึ่งจะสูงขึ้นหลังมื้ออาหาร เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยกลายเป็นกลูโคส (น้ำตาล) และระดับน้ำตาลจะต่ำลง หลังจากที่คุณออกกำลังกาย เพราะกลูโคสถูกเผาผลาญเมื่อคุณทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดับค่าน้ำตาลในเลือด

  • คนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดจะคงที่อยู่ในช่วงที่ไม่เยอะมากระหว่างมื้ออาหาร ความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ช่วง 60 ถึง 100 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) หลังอาหารระดับน้ำตาลอาจอยู่ที่ 120 ถึง 130 mg/dl แต่มีน้อยมากที่จะเพิ่มสูงถึง 140 mg/dl 
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเพิ่มสูงมากกว่านี้ เช่นจาก 200 ถึง 300 หรือ 400 mg/dl และจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกถ้าคุณไม่หาทางทำให้มันลดลง เช่น การออกกำลังกาย

อาการของภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia)

โรคภาวะน้ำตาลในเลือดสูงไม่ได้แสดงอาการให้เห็นเสมอไป การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยลักษณะอาการของโรคภาวะน้ำตาลสูง ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • กระหายน้ำเป็นอย่างมาก
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • มองเห็นไม่ชัดเจน
  • รู้สึกหิวแม้จะเพิ่งกินไป
  • น้ำหนักลด
  • ในกรณีที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการซึมจนกระทั่งหมดสติ หรือบางรายอาจจะมีอาการชักกระตุกด้วย

สาเหตุของภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia)

เมื่อคุณเป็นโรคเบาหวานแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้ ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่

  • ลืมทานยาตามที่กำหนด ทานยาผิดเวลา หรือทานผิดขนาด
  • ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าที่ควรทาน
  • อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีความเครียดทางอารมณ์
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ได้รับยาที่มีฤทธิ์ต้านอินซูลิน เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะบางชนิด

วิธีการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรปฏิบัติต้วดังนี้ 

  • ดื่มน้ำแก้วใหญ่ 1 แก้ว
  • ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว

หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 3 ครั้งในช่วง 2 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัว

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis (DKA)

เป็นภาวะฉุกเฉินที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดภาวะเลือดเป็นกรดมากผิดปกติจากการที่มีกรดคีโตนคั่งในร่างกาย ภาวะนี้พบได้ทั้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ซึ่งมีปัจจัยชักนำร่วมด้วย เช่น ภาวะติดเชื้อ การผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบสุดขีด Hyperosmolar Hyperglycemic State (HHS)

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบสุดขีดนั้นสามารถทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Hyperosmolar Hyperglycemic State (HHS) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาภายในโรงพยาบาล เมื่อเกิดภาวะ HHS ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงมากถึง 600 mg/dL และอาจเพิ่มสูงไปถึง 2,000 mg/dL

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากๆ จะมาพร้อมกับภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เลือดจะเริ่มข้น เพราะความเข้มข้นของน้ำตาลเพิ่มขึ้นขณะที่น้ำนั้นลดลง โดยปกติแล้ว ภาวะ HHS จะใช้เวลาหลายวันหรือเป็นอาทิตย์ในการก่อตัวขึ้น 

สามารถป้องกันภาวะนี้ได้โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และรักษาระดับน้ำตาลที่สูงมากๆ ด้วยการใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting insulin) ดื่มน้ำแก้วใหญ่ นอกจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์ประจำเมื่อเกิดภาวะ HHS 

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นายแพทย์ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. ENDOCRINE EMERGENCY. งานโรคต่อมไร้ท่อและเบาหวาน กลุ่ม งานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี; 2555: 1-7
ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล. ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2548: 1-190

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ผมมีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูง สามารถสั่งยาทานเองได้ไหมครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คุมอาหารแล้ว กินยาเบาหวานเท่าเดิ่มมีโอกาสน้ำตาลต่ำเกินไปหรือไม่ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นโรคเบาหวานมา10ปี สามารถมีภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมาถึงค่าปกติได้ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)