เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา ทำให้โรคภัยไข้เจ็บเริ่มมาเยือนบ่อยขึ้น
อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพจะช่วยให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ตั้งแต่ในระยะแรก รวมถึงสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ช่วยให้สามารถรับมือกับโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มาดูกันว่า ผู้หญิงในช่วงอายุ 40-64 ปี ควรตรวจอะไรกันบ้าง
เป้าหมายของการตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีสุขภาพดีก็ตาม โดยเป้าหมายของการพบแพทย์ในแต่ละครั้งเพื่อ
- ตรวจคัดกรองโรคภัยต่างๆ
- ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในอนาคต
- ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่สุขลักษณะ
- เรียนรู้วิธีรับมือกับโรคภัย และความเสี่ยงด้านสุขภาพ
- ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 40–64 ปี มีอะไรบ้าง?
แพทย์มักจะเริ่มจากการพูดคุยสอบถามถึงสุขภาพ ประวัติสุขภาพของคุณ และคนในครอบครัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อดูว่า ถูกสุขลักษณะ หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ ประเด็นที่แพทย์อาจสอบถาม ได้แก่
- ประเมินอาการของภาวะซึมเศร้า และสุขภาพจิต
- การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการตรวจร่างกายในด้านต่างๆ เพิ่มเติมต่อไป ตามรายการตรวจพื้นฐาน หรือตามที่แพทย์ประเมินแล้วว่า อาจมีความเสี่ยง และควรต้องตรวจ
การตรวจความดันโลหิต
- ควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากเลขความดันตัวบน (Systolic number) อยู่ระหว่าง 120-139 หรือเลขตัวล่าง (Diastolic number) อยู่ระหว่าง 80-89 mmHg หรือมากกว่านั้น คุณควรตรวจความดันโลหิตทุกปี
- หากเลขความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า 140 หรือเลขความดันโลหิตตัวล่างสูงกว่า 90 ให้รีบปรึกษา หรือไปพบแพทย์ทันที
- หากเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจความดันโลหิตบ่อยครั้งกว่าข้างต้น หรืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
การตรวจระดับคอเลสเตอรอล
- ควรเริ่มตรวจระดับคอเลสเตอรอลตั้งแต่ในช่วงอายุ 40-45 ปี
- หากตรวจพบว่า มีระดับคอเลสเตอรอลปกติก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจไปอีก 5 ปี
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจบ่อยครั้งกว่าข้างต้น หรือตามคำแนะนำของแพทย์
การตรวจเบาหวาน
- เมื่อมีอายุมากกว่า 44 ปี ควรเริ่มตรวจเบาหวานทุก 3 ปี
- หากมีความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mmHg แพทย์อาจให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูว่า มีภาวะเบาหวาน หรือไม่
- หากมีน้ำหนักมาก ให้สอบถามแพทย์ว่า ควรเข้ารับการตรวจเบาหวานตั้งแต่ก่อนอายุ 44 ปีหรือไม่
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี
ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือตรวจพบติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือตรวจพบติ่งเนื้อในระบบทางเดินอาหาร
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี
ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งทดสอบได้หลายวิธี ดังนี้
- การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระทุกปี
- การตรวจส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกๆ 10 ปี
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจต้องเข้ารับการตรวจส่องกล้องบ่อยกว่าปกติ ดังนี้
- เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล
- มีประวัติเคยเป็นเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้
- เคยตรวจพบเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
การตรวจเต้านม
- เมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้รับการตรวจเต้านมด้วย
- คุณสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองทุกเดือน โดยการคลำหาก้อนเนื้อที่เต้านม แต่การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองไม่ได้ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้ ดังนั้นแนะนำให้ตรวจกับแพทย์ดีที่สุด
- หากสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในเต้านมให้ปรึกษาแพทย์ทันที รวมถึงความผิดปกติที่พบจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
การตรวจแมมโมแกรม
- ผู้หญิงอายุ 40-49 ปี ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า การตรวจแมมโมแกรมไม่ได้มีประโยชน์กับผู้หญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 40 ปีมากนัก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจเข้ารับการตรวจชนิดนี้
- ผู้หญิงที่มีอายุ 50-75 ปี ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยความถี่ในการตรวจขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน
- หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ช่วงอายุน้อย คุณควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี โดยควรเริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนช่วงอายุที่ญาติคนดังกล่าวพบว่า ตนเองเป็นมะเร็งเต้านม
การตรวจโรคกระดูกพรุน
- ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และเคยกระดูกหัก ควรเข้ารับการทดสอบความหนาแน่นของกระดูก (DEXA)
- หากมีอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ควรเข้ารับการตรวจด้วยเช่นกัน
การตรวจภายใน และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เช่น ตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุกๆ 3 ปี หากผลตรวจเป็นปกติ ให้เว้นการตรวจไป 5 ปี
- แพทย์จะแนะนำให้ตรวจภายในบ่อยๆ หากพบว่า มีปัญหา หรือมีความผิดปกติบางอย่าง
- หากเคยผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด และไม่เคยตรวจพบมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ และมีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจหนองในเทียม และหนองในแท้ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการทดสอบการติดเชื้ออื่นๆ ด้วย
การตรวจผิวหนัง
- ตรวจเพื่อดูว่า มีสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน มีญาติใกล้เคียงเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
การตรวจฟัน
- คุณควรไปพบทันตแพทย์ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจและทำความสะอาดช่องปากและฟัน โดยทันตแพทย์อาจประเมินและแจ้งให้คุณมาตรวจบ่อยกว่านั้นตามกรณีไป
การตรวจตา
- หากมีอายุ 40-50 ปี คุณควรตรวจตาทุก 2-4 ปี และในช่วงอายุ 55-64 ปี ควรตรวจตาทุก 1-3 ปี แต่แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจสายตาบ่อยกว่านี้ หากคุณมีปัญหาสายตา หรือมีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน
- ผู้ที่เป็นเบาหวานควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
คณะป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 55-80 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่ 30 แพ็คต่อปี และกำลังสูบอยู่ หรือเลิกบุหรี่ไปแล้วภายในช่วง 15 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีความเข้มรังสีต่ำ (LDCT) สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุถึง 80 ปีที่สูบบุหรี่
การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
- ควรรับการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
- ควรปรึกษาแพทย์ว่า คุณจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันปอดบวมหรือไม่
- ควรฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี หลังจากได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดแล้ว
- อาจได้รับวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 1 ครั้ง เมื่อมีอายุ 60 ปี
- แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หากคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะอื่นๆ
การละเลยการตรวจสุขภาพ หรือมาตรวจไม่สม่ำเสมออาจทำให้คุณพลาดโอกาสที่จะตรวจพบโรคแต่เนิ่นๆ ส่งผลให้รักษาได้ยากขึ้น และไม่รู้ว่า ตนเองมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ควรป้องกันหรือไม่ ทางที่ดีคุณควรสละเวลาไปตรวจเพียงปีละครั้ง
อย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้สูงอายุก็กลัวที่จะต้องไปลำพังเพราะไม่รู้ว่า ต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้นลูกหลานที่มีผู้ใหญ่ในบ้านจึงควรใส่ใจดูแลพาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วย
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 40-50 ปี*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
มิตรไมตรีคลินิก (Premium อายุ 45 ปีขึ้นไป) |
มิตรไมตรีคลินิก (Comprehensive อายุ 45 ปีขึ้นไป) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 41-50 ปี) |
รพ. เปาโล (Value For Life Gold Plus อายุ 40 ปีขึ้นไป) |
รพ. ยันฮี (อายุ 41-50 ปี) |
รพ. เพชรเวช (Gold อายุ 40-50 ปี) |
รพ. ธนบุรี 1 (Special Program อายุ 40 ปีขึ้นไป) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | ||||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | ||||||
ตรวจวัดระดับแคลเซียม | ✓ | ||||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | ||||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (eGFR) | ✓ | ||||||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจอุจจาระ | ✓ | ||||||
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP) | ✓ | ||||||
ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยเครื่องวิ่งสายพาน (EST) | ✓ | ||||||
ตรวจมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram+U/S Breast) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ (Pelvic Examnination) | ✓ | ||||||
ตรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก (HPV Self-Collection Test) | ✓ | ||||||
ตรวจมะเร็งปากมดลูก (Thin Prep Pap Test) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ (CA125) | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | ✓ | ||||||
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs) | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ราคา | 1,999 | 2,999 | 7,000 | 7,500 | 8,100 | 10,500 | 11,900 |
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
N Health ( อายุ 50 ปีขึ้นไป) |
รพ. เพชรเวช (Plutinum อายุ 50 ปีขึ้นไป) |
รพ. เปาโล (Value For Life Value For Life Platinum อายุ 50 ปีขึ้นไป) |
รพ. ยันฮี (อายุ 50 ปีขึ้นไป) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 50 ปีขึ้นไป) |
รพ. เปาโล (Value For Life Value For Life Platinum Plus อายุ 60 ปีขึ้นไป) |
---|---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจคัดกรองการได้ยิน (Audiogram) | ✓ | |||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | |||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | |||||
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH) | ✓ | |||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | |||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hb A-1C) | ✓ | |||||
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจการทำงานของตับ (Total Protein) |
✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจการทำงานของตับ (Albumin) |
✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจการทำงานของตับ (Bilirubin) |
✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจการทำงานของตับ (Direct Bilirubin) |
✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจการทำงานของตับ (Globulin) |
✓ | |||||
ตรวจการทำงานของตับ (GGT) |
✓ | ✓ | ||||
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจอุจจาระ (Stool Occult Blood ) |
✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด (ABI) | ✓ | |||||
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP) | ✓ | |||||
ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยเครื่องวิ่งสายพาน (EST) | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) | ✓ | |||||
ตรวจสารบ่งชี้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ | ✓ | |||||
ตรวจมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram+U/S Breast) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ (Pelvic Examnination) |
✓ | |||||
ตรวจมะเร็งปากมดลูก br> (Thin Prep Pap Test) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ (CA125) | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง (Estradiol) | ✓ | |||||
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง (Progesterone) | ✓ | |||||
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | ✓ | |||||
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs) | ✓ | |||||
ราคา | 3,990 | 12,200 | 12,500 | 13,200 | 16,500 | 17,500 |
*ราคาและรายการตรวจสุขภาพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนซื้อแพ็กเกจ
เช็ครายการตรวจสุขภาพแล้ว ต้องทำอะไรต่อ?
ดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คลิก
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ
- ตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น
- ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 18-39 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุ 18-39 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุ 40-64 ปี
- ตรวจสุขภาพผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android