ยา Roxithromycin

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Roxithromycin

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Roxithromycin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Ammirox, Coroxin, Eroxade, Poliroxin, Rothricin/Rithrocin Pediatric, Roxcin, Roxicin, Roxinox, Roxithro Roxithroxyl, Roxitop, Roxthrin, Rucin, Rulid, Uonin, I-Throcin, Manroxin-150, Rocitro, Romed, Roxamycin 300, Roxifect, Roxilan, Roximed, Roximin, Roxino, Roxinpac, Roxithromycin Central, Roxitin, Roxitron, Roxlecon, Roxprocin, Roxthomed, Roxto, Roxtrocin, Roxy, Rulosone, Ruxitex, Saroxxo, Utolid, Vesthromycin, V-Rox 300

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Roxithromycin

ร็อกซิโธรไมซิน (clindamycin) เป็นยากลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ด ประกอบด้วยร็อกซิโธรไมซินขนาด 100 150 และ 300 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Roxithromycin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ร็อกซิโธรไมซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมกโครไลด์ (macrolide) ร็อกซิโธรไมซินยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนโดยจับกับหน่วยย่อยไรโบโซม ขนาด 50S แบบผันกลับไม่ได้ เป็นการยับยั้งกระบวนการ transpeptidation หรือกระบวนการ translocation ทำให้เกิดการชะงักของการเจริญเติบโตของเซลล์

ข้อบ่งใช้ของยา Roxithromycin

ยาร็อกซิโธรไมซิน ชนิดยาเม็ด สำหรับรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาการติดเชื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือ 300 มิลลิกัรม วันละครั้ง เป็นเวลา 5-10 วัน ในการรักษาเชื้อที่ไวต่อยาร็อกซิโธรไมซิน ขนาดการใช้ยาในเด็ก น้ำหนักตัว 6-40 กิโลกรัม ขนาด 5-8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

การใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ โดยปกติจะลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่ง การใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต มีความจำเป็นที่จะต้องปรับขนาดยา

ควรรับประทานยานี้ขณะที่ท้องว่าง โดยรับประทานก่อนอาหารประมาณ 15 นาที

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Roxithromycin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Roxithromycin

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยานี้
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ ติดตามค่า liver function test (LFT)
  • การใช้ยาเป็นระยะเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดพิษต่อตับ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Roxithromycin

อาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย อ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร ท้องผูก กลืนลำบาก ท้องผูก ตับอักเสบ ผื่นแดง ปวดศีรษะ การเปลี่ยนแปลงของค่า blood count เอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil เพิ่มขึ้น และตับอ่อนอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน (เกิดได้น้อย)

ข้อมูลการใช้ยา Roxithromycin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Roxithromycin

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Roxithromycin - Drugs and Lactation Database (LactMed). National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK525502/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป