กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Omeprazole (โอเมพราโซล)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

สรรพคุณของยา Omeprazole

ยา Omeprazole ใช้สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เช่น อาการกรดไหลย้อน (Acid reflux) แผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

ยา Omeprazole เป็นยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors หรือเรียกย่อว่ากลุ่ม PPIs โดยจะออกฤทธิ์ลดการผลิตกรดจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอก (Heartburn) อาการกลืนลำบาก และอาการไอเรื้อรังได้ ยายังช่วยในการหายของแผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่ และอาจช่วยป้องกันมะเร็งของหลอดอาหารด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณซื้อยา Omeprazole มารับประทานด้วยตนเองเพื่อรักษาอาการแสบร้อนยอดอกที่มีอาการบ่อยครั้ง (มีอาการตั้งแต่ 2 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป) อาจต้องใช้เวลา 1-4 วันจึงจะได้ผลจากการใช้ยาเต็มที่ โดยยานี้ไม่สามารถบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอกได้ในทันที

ในการซื้อยามารับประทานเอง นอกจากต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรแล้ว ยังต้องอ่านฉลากยาโดยละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่ายานี้เหมาะสมสำหรับคุณ ผลิตภัณฑ์ยาที่มีชื่อการค้าคล้ายๆ กัน อาจมีส่วนประกอบของยาที่แตกต่างกันได้ การรับประทานยาผิดชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายกับคุณได้

วิธีใช้ยา Omeprazole

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ

ให้รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 1 เม็ดก่อนอาหาร หากคุณซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกร และอ่านวิธีใช้ยาบนฉลากยาอย่างละเอียด

ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ ในเด็กขนาดยาจะคำนวณตามน้ำหนักตัวเด็ก ห้ามปรับเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยครั้งกว่าที่แพทย์สั่ง หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

ห้ามบด หักแบ่ง หรือเคี้ยวเม็ดยา โดยให้กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางกรณีที่จำเป็น อาจต้องรับประทานยาลดกรดร่วมกับยา Omeprazole ด้วย และถ้าต้องรับประทานยา Sucralfate ร่วมด้วย ให้รับประทานยา Omeprazole อย่างน้อย 30 นาทีก่อนรับประทานยา Sucralfate

ให้ใช้ยานี้เป็นประจำทุกวันจึงจะได้ประโยชน์จากยาเต็มที่ เพื่อไม่ให้ลืมรับประทานยา แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน และให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่แพทย์สั่งแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

หากคุณซื้อยานี้มารับประทานด้วยตนเอง ห้ามรับประทานยานานเกิน 14 วัน ยกเว้นแพทย์สั่ง

ให้แจ้งแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ถ้าคุณซื้อยานี้มารับประทานเองสำหรับรักษาอาการแสบร้อนยอดอก ให้แจ้งแพทย์ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาไปแล้ว 14 วัน หรือเมื่อคุณจำเป็นต้องใช้ยานี้มากกว่า 1 ครั้งในทุกๆ 4 เดือน

ความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นให้สอบถามแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาที่คุณควรรับประทานยา หากคุณคิดว่าตนเองอาจป่วยเป็นโรคที่ร้ายแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงของยา Omeprazole

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Omeprazole ได้แก่ ปวดศีรษะ หรือปวดท้อง ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถ้าแพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ โปรดจำไว้ว่า แพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่

  • มีอาการของแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นเร็ว/หัวใจเต้นผิดจังหวะ/หัวใจเต้นช้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง มีอาการชัก
  • มีอาการของโรคลูปัส (Lupus) เช่น มีผื่นขึ้นที่จมูกและแก้ม มีอาการปวดข้อ หรืออาการปวดข้อที่เป็นอยู่แย่ลง

ยานี้อาจเป็นสาเหตุของโรคทางลำไส้ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย คือมีอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ Clostridium Difficile (Clostridium Difficile-Associated Diarrhea) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยา ให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้: ท้องเสียต่อเนื่อง ปวดท้อง เกร็งท้อง มีไข้ อุจจาระมีมูก/มูกเลือดปน และอย่าใช้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาในกลุ่ม Opioid ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้

ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors เช่น Omeprazole อาจเป็นสาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 ได้ (พบได้น้อย) โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นถ้าคุณรับประทานยานี้ทุกวันเป็นเวลานาน (3 ปีหรือนานกว่านั้น) ให้แจ้งแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการของการขาดวิตามินบี 12 เช่น อ่อนแรงผิดปกติ เจ็บลิ้น ชาหรือเสียวซ่าที่มือ หรือเท้า

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก มีอาการของโรคไต เช่น ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยา Omeprazole

ถ้าคุณแพ้ยา Omeprazole หรือยาอื่นที่คล้ายๆ กัน เช่น Lansoprazole, Esomeprazole, Pantoprazole หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Omeprazole ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นโรคตับ, โรคลูปัส (Lupus)

อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง ดังนั้นให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการดังนี้

  • แสบร้อนยอดอกร่วมกับอาการเวียนศีรษะ/หน้ามืด/เหงื่อออก
  • ปวดเจ็บที่หน้าอก/ขากรระไกร,แขน,หัวไหล่ (โดยเฉพาะถ้ามีอาการหายใจถี่ เหงื่อออกผิดปกติร่วมด้วย)
  • น้ำหนักลดผิดปกติ

นอกจากนี้ ก่อนที่คุณจะซื้อยา Omeprazole มารับประทานเอง หากมีอาการที่บอกบอกถึงโรคร้ายแรงต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • กลืนลำบาก เจ็บขณะกลืนอาหาร
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • อาเจียนคล้ายกากกาแฟ
  • อุจจาระปนเลือด อุจจาระเป็นสีดำ
  • มีอาการแสบร้อนยอดอกมานานกว่า 3 เดือน
  • เจ็บหน้าอกบ่อยครั้ง
  • หายใจลำบากบ่อยครั้ง โดยเฉพาะถ้าเป็นร่วมกับอาการแสบร้อนยอดอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง

ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors เช่น Omeprazole อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะถ้าใช้ยานี้เป็นเวลานาน ใช้ยาขนาดสูง และเป็นผู้สูงอายุ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีในการป้องกันการสูญเสียกระดูกหรือกระดูกหัก เช่น โดยการรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม

ผู้ป่วยเด็กอาจมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอาการไข้ ไอ และการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ จมูก ลำคอ

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยานี้ขณะตั้งครรภ์

ยา Omeprazole ผ่านไปยังน้ำนมได้ แต่ยังไม่ทราบผลต่อทารกที่ดูดนม จึงให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

การใช้ยา Omeprazole ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Omeprazole:

  • Cilostazol
  • Clopidogrel
  • Methotrexate โดยเฉพาะถ้าได้รับยาในขนาดสูง
  • Rifampicin
  • สมุนไพร St John's wort

ยาบางชนิดจำเป็นต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม แต่เนื่องจากยา Omeprazole จะลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงอาจทำให้ยาเหล่านั้นออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ตัวอย่างยาที่ได้รับผลกระทบ เช่น

  • Atazanavir
  • Erlotinib
  • Nelfinavir
  • Pazopanib
  • Rilpivirine
  • ยาต้านเชื้อรา Azole Antifungals บางรายการ (Itraconazole, Ketoconazole, Posaconazole

ยา Omeprazole คล้ายกับยา Esomeprazole อย่างมาก ดังนั้นห้ามใช้ยาที่มีส่วนประกอบของยา Esomeprazole ระหว่างใช้ยา Omeprazole

ยา Omeprazole อาจรบกวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้ จึงต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้อยู่

การได้รับยา Omeprazole เกินขนาด

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Omeprazole เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่ สับสน เหงื่อออกผิดปกติ ตาพร่ามัว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หมายเหตุ

ถ้าแพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ถ้าแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ/หรือ การตรวจทางการแพทย์เป็นระยะเพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงจากยา เช่น การตรวจระดับแมกนีเซียมในเลือด การตรวจระดับวิตามินบี 12 ดังนั้นคุณต้องไปพบแพทย์ตามที่นัดหมาย

หากลืมรับประทานยา Omeprazole

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Omeprazole

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jessica Caporuscio, Pharm.D, What to know about omeprazole (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325840.php), 23 July 2019.
ncbi, Omeprazole (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK548771/), 15 April 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)