ผื่นแพ้ยามีแบบไหนบ้าง?

ความรู้เกี่ยวกับลักษณะผื่นแพ้ยาและอาการที่เกิดร่วมด้วย รวมถึงกลุ่มยาที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้บ่อย
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ผื่นแพ้ยามีแบบไหนบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการแพ้ยา คือ อาการแพ้ที่เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายซึ่งเกิดปฏิกิริยาไวต่อยาที่ได้รับเข้าร่างกาย จนเกิดอาการแพ้แสดงออกมาซึ่งมีความร้ายแรงสูงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้ทันเวลา
  • อาการแพ้ยาจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาการแพ้แบบเฉียบพลัน คือ อาการจะแสดงออกมาภายใน 1 ชั่วโมง และอาการแพ้แบบไม่เฉียบพลัน คือ อาการจะแสดงออกมาช้า โดยนานกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากรับยา หรืออาจยาวนานถึง 2 วัน – 2 เดือน
  • อาการผื่นขึ้นเป็นรูปแบบของอาการแพ้ที่เกิดจากการแพ้ยา ซึ่งจะอยู่หลายชนิด อีกทั้งมีลักษณะต่างกันไป ทั้งสี การลุกลาม ลักษณะแผลเป็นหลังจากหายดีแล้ว นอกจากนี้ ผื่นบางชนิดยังมาพร้อมกับอาการแทรกซ้อนที่อาจทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงจนเสียชีวิตได้
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วเกิดอาการแพ้ ต้องหยุดรับประทานยาชนิดนั้นโดยทันที รวมถึงยาอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับยาที่แพ้ด้วย และต้องจดบันทึกชื่อยานั้นไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอีกในภายหลัง
  • หากคุณไม่แน่ใจว่า ตนเองแพ้ยาหรือไม่ หรือผื่นที่ขึ้นตามร่างกายเป็นผื่นแพ้ยาหรือเปล่า คุณควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ก่อนที่อาการแพ้จะลุกลามรุนแรงไปมากกว่าเดิม (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ความหมายของอาการแพ้ยา

อาการแพ้ยา (Drug Allergy) เกิดจากภูมิต้านทานร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ไวต่อยาที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป จนเกิดอาการต่อต้านเคมีของยา และแสดงอาการแพ้ออกมา

อาการแพ้ยาเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล หรืออาจเคยประสบปัญหานี้มาก่อน แม้ยาดังกล่าวจะถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ก็ตาม เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนย่อมตองสยองต่อยาแตกต่างกัน จึงสามารถเกิดอาการแพ้ได้ ในขณะที่อีกคนรับประทานยาชนิดเดียวกัน ก็อาจไม่เกิดอาการแพ้ใดๆ ขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการแพ้ยาจะคล้ายกับอาการแพ้อาหาร หรือแพ้ถั่วซึ่งจะมีมีความอันตรายสูง และหากผู้ป่วยยังคงฝืนใช้ยาที่แพ้ต่อไป ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ หรืออาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน

ประเภทของอาการแพ้ยา

การแพ้ยาแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทแพ้ยาแบบเฉียบพลัน (Immediate reaction)

เป็นอาการแพ้ที่อาการแสดงจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา โดยตัวอย่างอาการแสดงที่เกิดขึ้นจะได้แก่ ผื่นลมพิษ (Urticaria) อาการบวมใต้ผิวหนัง และเยื่อเมือก (Angioedema) หายใจไม่ออก ท้องเสีย เวียนหัว ความดันโลหิตตก

2. ประเภทแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลัน (Nonimmediate reaction)

เป็นอาการแพ้ที่อาการแสดงจะเกิดขึ้นหลังได้รับยานานกว่า 1 ชั่วโมง และอาจนานถึง 2 วันจนถึง 2 เดือนหลังจากรับประทานยา ซึ่งอาการแสดงที่เกิดขึ้นจะมีได้หลากหลาย เช่น ผื่นลมพิษที่เกิดช้า (Delayed-Appearing Urticaria)

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอาการแสดงที่จำเพาะอีก เช่น ผื่นนูนแบน (Maculopapular rash) และหากผื่นแพ้ยายังคงดำเนินต่อไปโดยที่ผู้ป่วยยังไม่ยอมทำรักษา ก็อาจเกิดอาการแพ้ยาที่มีผื่นแบบรุนแรงขึ้นกว่าเดิม เช่น

  • กลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome: SJS)
  • โรคท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส (Toxic Epidermal Necrolysis: TEN) ซึ่งเป็นโรคที่อาการภูมิแพ้จากยาทำให้หนังกำพร้าหลุดลอกจากหนังแท้ของร่างกาย

ตัวอย่างชนิดของผื่นจากอาการแพ้ยา

1. ผื่นนูนแบน (Maculopapular rash)

เป็นผื่นแพ้ยาที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นตุ่มนูน และมีรอยแดงผสมกัน ผื่นนูนแบนจะมีทั้งเป็นตุ่มบนผิวหนังแบบเดี่ยวๆ หรืออยู่ร่วมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่ กระจายไปทั่วร่างกาย รวมถึงฝ่ามือ และฝ่าเท้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขอบของผื่นชนิดนี้จะไม่ชัดเจนนัก และจะกลมกลืนไปกับผิวหนังธรรมดา แต่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคัน แต่ไม่ถึงขั้นปวด หรือแสบผิว

2. ผื่นลมพิษ (Urticaria)

สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า “ผื่นแผนที่” เนื่องจากลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นนั้นขยายใหญ่คล้ายแผนที่ และมักจะเกิดขึ้นเร็วมาก ลักษณะผื่นจะมีขอบยกนูนเป็นหยักๆ ไม่เป็นวงกลม ตรงกลางมีสีซีดกว่าตรงขอบ และผิวหนังด้านบนจะไม่ลอกเป็นขุน

โดยปกติผิวชนิดนี้จะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ทิ้งรอยโรคเอาไว้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ซ้ำอีกครั้ง

3. ผื่นแองจีโออีดีมา (Angioedema)

เป็นผื่นที่จะเกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย เช่น ริมฝีปาก รอบดวงตา หรืออวัยวะเพศ และจะมีอาการบวมนูน คัน และรู้สึกตึงบริเวณเยื่อบุมาก ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าผื่นจะยุบ

ผู้ป่วยที่เกิดผื่นชนิดนี้จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) ร่วมด้วยมากกว่าเกิดผื่นชนิดอื่น โดยอาการจะร้ายแรงถึงขั้นระบบหายใจทำงานผิดปกติ หลอดลมตีบ หายใจหอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

4. ผื่นผิวหนังอักเสบลุกลามจากการใช้ยา (Eczematous drug eruption)

เป็นผื่นแพ้ยาอีกชนิดที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นตุ่มนูน และปื้นแดงคล้ายกับผื่นนูนแบน แต่มีความนูนหนามากกว่า อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ ส่วนมากผื่นชนิดนี้จะบวมเป็นตุ่มน้ำใส และอาจแตกออกจากนั้นก็จะตกสะเก็ดไป ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาที่แพ้มาก่อน อาจไม่มีอาการผิดปกติในครั้งแรกเมื่อได้รับยา

แต่หลังจากนั้น หากผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์ หรือได้รับยานั้นอีกครั้งในภายหลัง ผู้ป่วยก็สามารถเกิดผื่นแพ้ยาชนิดนี้ได้ โดยผื่นจะขึ้นภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับยาอีกครั้ง

5. ผื่น Fixed drug eruption

เป็นผื่นแพ้ยาที่อาการไม่รุนแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บๆ คันๆ เท่านั้น มักจะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับยาประมาณ 30 นาที หรืออาจนานกว่านั้น แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ลักษณะผื่นจะมีรูปร่างกลม หรือเป็นวงรี มีสีแดงจัด ตรงกลางของผื่นมักเป็นสีแดงคล้ำ หรืออมม่วง

ผื่นชนิดนี้มีจุดเด่นตรงที่หากอาการแพ้รุนแรงมากๆ ผื่นอาจพองจนกลายเป็นตุ่มน้ำได้ และจะเกิดขึ้นที่เดิมทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยได้รับยาที่แพ้ แต่เมื่อหายแล้วก็จะทิ้งรอยดำคล้ำเอาไว้

6. ผื่น Erythema Multiforme

ผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายเป้ายิงธนู (Target Lesion) มีรูปร่างกลม เป็นวงสามชั้น ชั้นในสุดจะมีสีแดงเข้ม หรือเป็นตุ่มน้ำพอง ชั้นถัดมา และชั้นนอกจะมีสีแดงจาง มักพบบริเวณปลายมือ ปลายเท้า เหนือข้อศอก ข้อต่อต่างๆ และบริเวณใบหน้า

7. ผื่นชนิดสตีเวนส์ จอห์นสัน (Stevens-Johnson Syndrome: SJS)

เป็นผื่นแพ้ยาที่พบได้ไม่บ่อย แต่อาการจะรุนแรงมาก มักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) และยังทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ลักษณะผื่นที่เกิดขึ้นจะมีสีแดงเข้ม รูปทรงวงกลม ตรงกลางมักจะมีสีเทาหรือดำ หรือพองเป็นตุ่มน้ำ การวินิจฉัยผื่นชนิดสตีเวนส์ จอห์นสันจะต้องมีรอยโรคบริเวณเยื่อบุมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป และมีความรุนแรงของผิวหนังที่เกิดจากการหลุดลอกน้อยกว่า 10%

8. ผื่นชนิดท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส (Toxic Epidermal Necrolysis: TEN)

เป็นผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงสูง และมีลักษณะอาการหลายอย่างคล้ายกับผื่นแบบสตีเวนส์ จอห์นสัน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด คลื่นไส้อาเจียน เจ็บคอ และปวดตามตัวร่วมด้วย รวมถึงมีอาการเจ็บตามผิวหนัง

เมื่อระยะเวลาผ่านไป การลุกลามของผื่นจะรวดเร็วมากขึ้นคล้ายผื่นชนิดนูนแบน ภายใน 3-4 วัน จากนั้นจะพองกลายเป็นตุ่มน้ำ และหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นสีดำคล้ำ มีน้ำเหลือง หรือเลือดซึมๆ คล้ายน้ำร้อนลวกอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ บริเวณเยื่อบุต่างๆ ก็จะมีการหลุดลอกร่วมด้วย จากนั้นผู้ป่วยจะอาการทรุดหนักลง มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้นถึงขั้นเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยอัตราการตายจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของผิวหนังที่หลุดลอก และอาการแทรกซ้อนที่เกิดกับอวัยวะภายใน

9. ผื่น Photosensitive drug eruption

เป็นผื่นที่จะเกิดขึ้นหากผู้ป่วยสัมผัสกับทั้งยา และแสงแดด โดยบริเวณที่ผื่นขึ้นจะอยู่บริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด

กลุ่มยาที่พบอาการแพ้ได้บ่อย

1. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “ยาฆ่าเชื้อ” ซึ่งหากลำดับยาที่มักส่งผลให้เกิดอาการแพ้เรียงจากมากไปน้อย จะมีรายชื่อดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายยังสามารถแพ้ยาที่มีโครงสร้างหลักเหมือนกันทั้งกลุ่มได้ โดยกลุ่มที่พบบ่อย คือ กลุ่มยาเพนนิซิลิน (Penicillin) เช่น อะม็อกซีซิลลิน แอมพิซิลลิน (Ampicillin

2. ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs)

ที่พบบ่อยได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ไดโคลฟีแน็ค (Diclofenac) นาโพรเซ่น (Naproxen) ผู้ป่วยที่แพ้ยาอาจแพ้แค่ยาบางตัวในกลุ่มนี้เท่านั้น หรือบางรายอาจแพ้ยาทุกตัวในกลุ่มนี้เลยก็ได้

3. ยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) หรือยาซัลฟา (Sulfa Drugs)

เป็นยากลุ่มที่โครงสร้างซัลฟา ผู้ป่วยที่แพ้ยาชนิดนี้มักจะแพ้ยาทุกตัวที่มีโครงสร้างซัลฟามากกว่าแพ้แค่ยาบางตัวเท่านั้น เช่น 

  • ยาที่มีส่วนประกอบของซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulfamethoxazole) กับไตรเมโธพริม (Trimethoprim
  • ซัลไฟไดอะซิน (Sulfadiazine) 
  • ซัลฟิซอกซาโซล (Sulfisoxazole)

4. ยากันชัก (Antiseizure drugs)

เช่น เฟนิโทอิน (Phenytoin) คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) ลาโมไตรจีน (Lamotrigine) โดยส่วนมาก ผู้ป่วยที่แพ้ยากันชักจะแพ้เพียงแค่ยาบางตัวเท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดอาการแพ้ แพทย์ก็จะพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นให้

5. ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV drugs)

เช่น Abacavir (Ziagen) หรือ Nevirapine (Viramune) แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะแพ้เพียงแค่ยาบางตัวเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งกลุ่ม

6. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

แม้จะเป็นแค่ยาแก้ปวดลดไข้ทั่วที่คนส่วนมากรับประทานกัน แต่ก็พาราเซตามอลก็ถือเป็นยาอีกชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ค่อนข้างบ่อย

7. สารทึบรังสี (Contrast media)

เป็นสารที่ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยโรคทางหลอดเลือด เป็นอีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ใช้สารทึบรังสีในระหว่างการตรวจทางรังสีวิทยา

สารทึบรังสีที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นสารในกลุ่มไตร-ไอโอดีนเบนโซอิกแอซิด (Tri-iodine benzoic acid) ซึ่งมีแร่ธาตุไอโอดีน -131 (Iodine-131) เป็นส่วนประกอบอยู่ 

สำหรับสาเหตุที่สารทึบรังสีทำให้เกิดอาการแพ้ได้นั้น ยังไม่มีการศึกษาจนได้รับคำตอบที่แน่ชัด แต่คาดว่าแร่ธาตุไอโอดีนที่อยู่ข้างในสารทึบรังสีอาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้ ผ่านการเข้าไปจับตัวกับโปรตีนบางชนิดในร่างกาย

การรักษาอาการผื่นแพ้ยาเบื้องต้น

หากคุณพบความผิดปกติที่คาดว่า น่าจะเกิดจากการใช้ยา ให้คุณหยุดใช้ยาตัวดังกล่าวโดยทันที รวมถึงยาทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับยานั้นด้วยแล้วไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด 

นอกจากนี้ คุณยังต้องจำ หรือบันทึกประวัติการแพ้ยาของตนเองไว้ และระวังภาวะแทรกซ้อนต่อไปก่อน อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจกับอาการที่เพิ่งเกิดในเบื้องต้น

การรักษาอาการผื่นแพ้ยาจะรักษาไปตามอาการ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านฮิสตามีนเพื่อลดอาการแพ้ และให้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) เพื่อลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจให้ออกซิเจน หรือยาฉุกเฉินสำหรับรักษาอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรงอย่าง ยาอีพิเนปฟริน (Epinephrine) เพื่อพยุงอาการไม่ให้ร้ายแรงถึงชีวิต รวมถึงอาจให้ผู้ป่วยพักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการว่า จะมีอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) หรือไม่

การป้องกันการเกิดอาการแพ้ยาซ้ำอีกครั้ง

  • จดบันทึก หรือพกบัตรที่ระบุชื่อยาที่แก้ และอาการแพ้ไว้ตลอดเวลา เพราะหากคุณเจ็บป่วย คุณจะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบทุกครั้งที่ไปรับการรักษา รวมถึงแจ้งญาติ เพื่อนสนิท ผู้อยู่ใกล้ชิดของคุณให้ทราบด้วย
  • อย่ารับประทานยานั้นซ้ำอีก หากคุณรู้แล้วว่า ตนเองแพ้ยาชนิดใด ให้หลีกเลี่ยงไม่รับประทานยาชนิดนั้นอีก เนื่องจากอาการแพ้ที่เกิดขึ้นครั้งต่อไปมักจะรุนแรงกว่าเดิมเสมอ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

อาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้มาจากเคมีของยาโดยตรงก็ได้ แต่อาจมาจากส่วนประกอบอื่นๆ ในเม็ดยา เช่น สารช่วยตอก สารช่วยไหล สารกันชื้น หรือสารกันเสีย หากผู้ป่วยแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งขึ้นมา การเปลี่ยนยี่ห้อยาอาจเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้สามารถรับประทานยาต่อไปได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช, https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/641_18_2.pdf, 2559.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Patients%20with%20drug%20allergy%20and%20hypersensitivity.pdf, Access online: 10 June 2019.
ข้อมูลรายงานการแพ้ยาของโรงพยาบาลลำพูน,http://www.lpnh.go.th/drug/file/QRCode20-6-61/210661/4.3210661.pdf, Access online: 21 June 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป