กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

บัตรแพ้ยาคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บัตรแพ้ยาคืออะไร

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องเป็น ไม่ว่าจะวัยเด็กแรกเกิดจนกระทั่งวัยชรา ดังนั้นการรักษาเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วยด้วยวิธีการใช้ยา ก็นับว่าเป็นสิ่งแรกๆ ที่แพทย์มักจะเลือกใช้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายเจ็บป่วยจากโรคนั้นๆ แต่เมื่อใดที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นหลังการรับประทานยาของผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้นคือการแพ้ยา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี “บัตรแพ้ยา” ไว้ประจำตัวผู้ป่วยคนนั้นด้วย

การแพ้ยาคืออะไร

เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายของผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อยา ซึ่งเป็นเพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ในที่นี้จึงหมายถึงยาที่รับประทานเข้าไปนั่นเอง ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อยาชนิดนั้น หากเป็นมากจนกระทั่งมีอาการรุนแรงก็อาจมีความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการแพ้ยาแค่เพียงเล็กน้อย ได้แก่ ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษ รู้สึกคันและบวม มีไข้ น้ำมูกไหล คันตา น้ำตาไหล หากมีอาการรุนแรงก็คือหายใจไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ความดันต่ำ ภาวะช็อก ชีพจรเต้นเร็ว ชัก และสูญเสียประสาทการรับรู้

เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปพบแพทย์ พร้อมกับแจ้งให้ทราบอย่างทันที โดยที่เราจำเป็นจะต้องสังเกตตนเองว่าหลังการรับประทานยาที่อาจเกิดอาการแพ้ ซึ่งมักจะเกิดอาการทันทีหรือเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง ว่ามีอาการแพ้หรือไม่ หากยังไม่ชัดเจนหรือมั่นใจและจะให้แน่ชัดจริงๆ ก็ควรทดสอบภูมิแพ้ จากนั้นควรจดชื่อยาชนิดที่แพ้ไว้ลงในบัตรแพ้ยา

บัตรแพ้ยาคืออะไรและมีจุดประสงค์การใช้เพื่อประโยชน์อะไร

บัตรแพ้ยาเป็นบัตรที่ใช้บันทึกอาการผิดปกติของการตอบสนองของร่างกาย ในกรณีที่ใช้ยาบางชนิดแล้วมีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยเป็นเอกสารทางการแพทย์ที่จะแจ้งให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมกับผู้แพ้ยาและปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจดประวัติการแพ้ยาแบบละเอียด ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาก็จะได้รับบัตรแพ้ยามาติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการลืมข้อมูลอีกด้วย

ข้อมูลในบัตรแพ้ยา

  • มีชื่อสามัญของยา ชื่อเป็นภาษาอังกฤษพร้อมกับชื่อภาษาไทยเพื่อให้ผู้ป่วยอ่านได้สะดวก
  • อาการที่เกิด ต้องระบุอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าที่เคยแพ้ยานั้นมีอาการอย่างไรบ้าง
  • ผลการประเมิน ข้อนี้ถ้ามีก็ควรลงรายละเอียดให้ครบ
  • หน่วยงานและชื่อผู้ประเมิน ระบุชื่อแพทย์หรือเภสัช สถานที่ และวันเดือนปีที่ทำการประเมิน
  • คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพ้ยาในกลุ่มเดียวกัน อาทิเช่น มีการแพ้ยาชนิดนี้ก็ห้ามใช้ แต่ถ้าเป็นยาชนิดอื่นที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ยังสามารถใช้ได้ หรือควรแจ้งว่ากลุ่มใดควรหลีกเลี่ยง กลุ่มใดสามารถใช้ได้ และกลุ่มใดที่ควรต้องเฝ้าระวัง เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติในการใช้บัตรแพ้ยา

ผู้ที่แพ้ยาจะต้องจำชื่อสามัญของยาที่แพ้ให้ได้ รวมทั้งอาการที่เคยแพ้นั้นเป็นอย่างไร พร้อมกับต้องบอกคนใกล้ตัวอย่างเช่นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือคนรักให้ทราบไว้ เพื่อป้องกันในกรณีที่อาจลืมพกบัตรแพ้ยาก็ยังมีข้อมูลแจ้งให้แพทย์ทราบได้ และควรพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อแจ้งให้ทางแพทย์และพยาบาลสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้แพ้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

หากบัตรแพ้ยาหายสามารถติดต่อได้ที่ใด

  • หากบัตรแพ้ยาสูญหาย ให้ติดต่อที่สถานพยาบาลเดิมหรืออาจเป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านก็ได้
  • สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้จัดทำโปรแกรมสำหรับใช้งานบนสมาร์ทโฟน เพื่อให้ประชาชนสามารถบันทึกประวัติการแพ้ยาของตนเอง รวมทั้งยังให้เภสัชกรผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินอาการสามารถบันทึกข้อมูลให้ผู้ป่วย โดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรแพ้ยาได้อีกด้วย
  • สำหรับคู่มือการใช้ยาหรือ App บัตรแพ้ยา สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://thaihp.org/index.php?option=viewhome&lang=th&id=248&sub=-1&layout=0

http://aprchon.com/web/wp-content/uploads/2014/09/manual.pdf

เมื่อเราทราบว่าตนเองแพ้ยาชนิดใดและได้พกบัตรแพ้ยาเพื่อแสดงข้อมูลแก่แพทย์แล้ว จะต้องพยายามปฏิบัติให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ย่อมมั่นใจได้ว่าการแพ้ยาซ้ำนั้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Allergies: Symptoms, Treatment & More. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8610-allergy-overview)
6 tips for managing food allergies. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/6-tips-for-managing-food-allergies)
Food allergy - Living with. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/food-allergy/living-with/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร

สำรวจความหมาย และประเภทของสารก่อภูมิแพ้ แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะป้องกันสารก่อภูมิแพ้ได้

อ่านเพิ่ม
แพ้ยา (Drug Allergies)
แพ้ยา (Drug Allergies)

จะรับมืออย่างไร? เมื่อเราแพ้ยา

อ่านเพิ่ม