นิสัยการบริโภคอาหาร แบบไหน ที่อาจทำให้ เกิดอาการแพ้ได้ง่าย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
นิสัยการบริโภคอาหาร แบบไหน ที่อาจทำให้ เกิดอาการแพ้ได้ง่าย
a20.gif

 นิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อิ่มในหนึ่งมื้อ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ฉะนั้นอย่ามองข้ามโรคภัยที่เกิดจากนิสัยการบริโภค

  1. รับประทานแต่อาหารทอด การรับประทานอาหารทอดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารปรุงแต่งและสารอนุมูลอิสระในปริมาณมากเกินไป ซึ่งจะขัดขวางกระบวนการย่อยอาหารของกระเพาะอาหารและกระตุ้นอาการแพ้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  2. รับประทานทุกอย่างที่ขวางหน้า นิสัยที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์ อาหารปิ้งย่าง และอาหารที่ให้พลังงานสูงโดยไม่เลือก ย่อมทำให้รับประทานอาหารที่เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เมื่อสะสมมากเข้าก็จะกลายเป็นโรคภูมิแพ้ในที่สุด
  3. รับประทานอาหารรสจัด อาหารรสจัดจะทำให้อาการแพ้ของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอักเสบและผิวหนังอักเสบหนักกว่าเดิม
  4. ช่างเลือกและไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ ผักและผลไม้มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระในประมาณมาก หากร่างกายได้รับสารเหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  5. ดื่มน้ำเย็นหลังออกกำลังกาย การดื่มน้ำเย็นหลังออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอ แน่นหน้าอก และเกิดอาการหอบหืดได้ง่าย
  6. รับประทานในปริมาณมากเกินไป การรับประทานจนอิ่มมากเกินไป ไม่เพียงส่งผลเสียต่อการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารเท่านั้น ยังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ของเส้นประสาทบริเวณทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้ผิดปกติ เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง ท้องอืด เป็นต้น
  7. รับประทานพลางสนทนางานพลาง การทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มความเครียดและกระตุ้นประสาท เป็นการเพิ่มโอกาสให้อาการแพ้กำเริบ สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หากรู้จักลดความเครียดและผ่อนคลาย จะมีส่วนช่วยลดการเกิดอาการแพ้และหอบหืดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Healthy Habits for Food Allergies. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/healthy-habits-for-food-allergies-1324235)
Food allergies: Symptoms, treatments, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/14384)
Food Allergies: Types, Triggers, and Eating-Out Tips. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/expert-q-and-a-eating-with-food-allergies#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป