กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.ธวัลรัตน์ ปานแดง
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.ธวัลรัตน์ ปานแดง

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema)

รู้จักโรคที่มาพร้อมกับความทรมาน คัน บวมแดง ผื่นขึ้น และมีตุ่มน้ำ เพื่อหาวิธีรักษาและป้องกันอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema) เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบที่ผิวหนังชั้นนอกของส่วนต่างๆ ในร่างกายร่างกาย เนื่องมาจากร่างกายพบเจอสิ่งที่แพ้มากระตุ้นการอักเสบ
  • โรคนี้จำแนกตามสาเหตุการเกิดได้ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายใน (endogenous dermatitis) และโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายนอก (exogenous dermatitis)
  • โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายใน มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย มักเป็นกรรมพันธุ์ ส่วนโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายนอก มีสาเหตุจากการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น แสงแดด ความร้อนสารเคมี ยาย้อมผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม
  • อาการแพ้ที่พบบ่อย เช่น อาการคัน รอยแดง ผื่นบวมแดง ตุ่มน้ำ มีน้ำเหลือง 
  • วิธีป้องกันโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ หมั่นสังเกตสิ่งที่ทำให้ตนเองแพ้แล้วหลีกเลี่ยงการสัมผัส และการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้  

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยและพบได้ทุกเพศทุกวัย เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบที่ผิวหนังชั้นนอกของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ใบหน้า แขน ขา เนื่องมาจากมีสิ่งแพ้มากระตุ้น

อาการอักเสบจะทำให้เกิดรอยแดง ผื่นบวมแดง มีอาการคัน บางชนิดอาจทำให้มีตุ่มน้ำ มีน้ำเหลือง หรือน้ำเซรั่มใสๆ ซึมบนปากแผลหากเป็นนานๆ ผิวหนังอาจจะหนา หรือคล้ำได้  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่ละคนสามารถเกิดปฏิกิริยาการอักเสบและมีความรุนแรงมาก-น้อยแตกต่างกัน 

ชนิดของโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้

จำแนกตามสาเหตุการเกิดได้ 2 ชนิดหลักๆ

  • โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายใน (endogenous dermatitis) คือ เกิดผื่นคันขึ้นมาเอง โดยไม่ได้แพ้สารจากภายนอก
  • โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายนอก (exogenous dermatitis) คือ ผู้ป่วยจะแพ้สารต่าง ๆ ที่มาสัมผัสกับผิวหนัง

1. โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายใน (endogenous dermatitis)

สาเหตุ: ปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ดังที่พบว่า ครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคแพ้ละอองฟาง หอบหืด  

ตัวอย่างโรคกลุ่มนี้ เช่น โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Atopic dermatitis) ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “น้ำเหลืองเสีย” แต่ความจริงแล้วโรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับน้ำเหลือง 

โรคนี้มักมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาว หรือเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะรู้สึกคัน เมื่อมีการเกาอยู่บ่อยครั้ง อาจเห็นเป็นรอยเกา หรือรอยแผล 

หากไม่รักษาความสะอาดมีเชื้อโรคไปที่บริเวณนั้นจะเกิดการติดเชื้อ มีหนอง หรือ น้ำเหลืองไหลซึม เจ็บแผลบริเวณนั้น เป็นที่มาของคำว่า "น้ำเหลืองไม่ดี" หรือ "น้ำเหลืองเสีย" นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการ: ผู้ป่วยจะมีผื่นตามข้อพับ หรือผื่นคันตามลำตัว มีน้ำเหลืองซึม มักพบการอักเสบตั้งแต่เด็ก และจะมีอาการลดน้อยลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ 

ส่วนอาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วยคือ ดวงด่างขา ๆ ที่ใบหน้า ที่เรียก “ขี้กลากน้ำนม” มือเท้าแตก คัน ผิวหนังแห้ง 

ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคแพ้ละอองฟาง แพ้เกสรดอกไม้ แพ้อาหาร หรือ หอบหืด ทั้งในส่วนของตนเองและญาติพี่น้องด้วย

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายในโรคอื่นได้แก่ 

  • โรคผื่นแพ้ผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก (Seborrheic dermatitis) 
  • โรคผื่นแพ้ชนิดเป็นวง (Nummular Ecaema) 
  • โรคผื่นแพ้จากอาการคัน และการเกาเรื้อรัง (Lichen simplex chronicus) ที่ต้นคอ หรือข้อเท้า ผื่นจากเส้นเลือดขอดที่ขา 

2. โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ภายนอก (exogenous dermatitis)

สาเหตุ: เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด ความร้อน แพ้สารที่มาสัมผัสผิวหนัง เนื่องจากสารนั้นมีฤทธิ์ระคายต่อผิวหนัง เช่น กรด ด่าง ผงซักฟอก หรือแพ้สารนั้นจริง ๆ เช่น ยาย้อมผม แชมพู สบู่ น้ำหอม น้ำยาปรับผ้านุ่ม โลหะต่าง ๆ เช่น สายนาฬิกา แหวน ตุ้มหู 

อาการ: ผู้ป่วยมักมีอาการผื่นแดง คัน มีน้ำเหลือง หรือผิวหนังหนาตัวขึ้นมา มีขุย หรือตุ่มขึ้นในบริเวณที่สัมผัสโดนสารนั้น เช่น แพ้ตุ้มหู จะเป็นที่ติ่งหู แพ้รองเท้า จะเป็นที่เท้า แพ้สายนาฬิกา เป็นที่ข้อมือ แพ้สร้อยคอ เป็นที่ลำคอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องเพราะเหตุว่าอาการใกล้เคียงกับโรคเชื้อรา (กลาก) ที่ผิวหนังได้ 

ระยะของโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ 

สามารถจำแนกเป็น 3 ระยะได้แก่

  • ระยะอักเสบเฉียบพลัน (acute stage) มีลักษณะ ผื่นแดง บวม มีตุ่มแดง ตุ่มน้ําและมีน้ําเหลืองไหล
  • ระยะปานกลาง (subacute stage) ผื่นแดงน้อยกว่า ระยะเฉียบพลัน มีตุ่มแดง อาจมีตุ่มน้ําเล็กน้อย
    มีสะเก็ดและขุยอาจมีรอย แตกเปนร่อง
  • ระยะเรื้อรัง (chronic stage) ผื่นมีลักษณะหนานูน มี lichenification สีแดงคล้ําหรือค่อนดํา มีขุยลอกและรอยเกา

การรักษา

  • แพทย์จะเน้นรักษาตามอาการและป้องกันสภาวะแทรกซ้อน
  • แพทย์อาจจ่ายยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทาน หรือยาทาสเตียรอยด์ หรือขี้ผึ้งลดการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการคันและลดอาการอักเสบ ควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ในเบื้องต้น แพทย์จะแนะนำให้สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้เสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นซ้ำ หรือสำหรับบางคนที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่ตนแพ้ได้ อาจทำการทดสอบผิวหนัง skin Prick Test ว่า แพ้สารชนิดใดบ้าง โดยการนำส่วนประกอบของสารที่คนแพ้บ่อยมาสะกิดลงไปที่ผิวหนัง และสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดข้นกับผิว หากทราบว่า แพ้สารใด หรือสิ่งใดเพื่อหาแนวทางรักษา แต่การทดสอบนั้นไม่สามารถนำสารทุกอย่างมาทดสอบกับตัวเองได้ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การดูแลตนเอง

  • หมั่นสังเกตว่า สัมผัสสารใดแล้วมีปฏิกิริยาอักเสบเกิดขึ้น จะต้องหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับสารนั้น
  • หลีกเลี่ยงการฟอกมือ หรือล้างมือบ่อยๆ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักสด ผลไม้สด 
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด

หากมีผดผื่น บวมแดง อาการคัน ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนองอย่างน่าสงสัย ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อ ไม่ว่าจะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคไต และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Institutes of Health (NIH), Scientists identify unique subtype of eczema linked to food allergy (https://www.nih.gov/news-events/news-releases/scientists-identify-unique-subtype-eczema-linked-food-allergy), 8 December 2019.
WebMD, Allergies and Eczema: What’s the Link? (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/treatment-16/eczema-allergies-link), 7 December 2019.
Healthline, Allergic Eczema: Causes, Symptoms, and Diagnosis (https://www.healthline.com/health/skin/eczema), 3 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การรักษาอาการจมูกแห้ง
การรักษาอาการจมูกแห้ง

จมูกแห้งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้ไม่อันตราย แต่อย่านิ่งนอนใจหากมีอาการจมูกแห้งเรื้อรัง

อ่านเพิ่ม