กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

การรักษาอาการจมูกแห้ง

จมูกแห้งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้ไม่อันตราย แต่อย่านิ่งนอนใจหากมีอาการจมูกแห้งเรื้อรัง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรักษาอาการจมูกแห้ง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการจมูกแห้ง เป็นอาการที่มักมีสาเหตุมาจากการจามบ่อย และยังพบได้ในผู้ที่อาศัยอยู่ในที่อากาศแห้ง ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือใช้กัญชา
  • มีวิธีบรรเทาอาการจมูกแห้งหลายทาง ซึ่งโดยหลักๆ คือ เพิ่มความชื้นให้กับอากาศรอบตัว เช่น ซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ ใช้สเปรย์พ่นจมูก อีกวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการจมูกแห้งได้ คือ ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณข้างในจมูก
  • การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายคือ วิธีรักษาและป้องกันอาการจมูกแห้งได้
  • อาการจมูกแห้งมีสาเหตุมาจากโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้ได้ คุณจึงควรหมั่นไปตรวจสุขภาพ หรืออาจไปตรวจหาภูมิแพ้เพื่อจะได้รู้ทันว่า ตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้อะไรบ้าง เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงจากสาเหตุนั้นๆ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

จมูกแห้งคือ หนึ่งในอาการเกี่ยวโรคทางเดินหายใจหลายๆ โรค ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัด โรคภูมิแพ้ ซึ่งคงสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยไม่น้อย 

สาเหตุที่ทำให้จมูกแห้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการจมูกแห้งที่พบบ่อยก็คือ การจามบ่อยเกินไป ไม่ว่าจะเกิดจากเป็นโรคหวัด หรือเป็นโรคภูมิแพ้ก็ตาม นอกจากนี้อาการจมูกแห้งยังพบได้บ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศแห้ง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือสูบกัญชา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การมีจมูกแห้งเรื้อรังนั้นอาจจะเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โชเกร็น ซินโดรม (Sjogren’s syndrome) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้เกิดอาการแห้งต่างๆ เช่น ตาแห้ง กระจกตาแห้ง ปากแห้ง 

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้จมูกแห้งประกอบด้วยการติดเชื้อ การขาดสารอาหาร และโรคภูมิแพ้จมูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดการอักเสบในจมูกจากการที่มีมูกของเหลวในจมูกน้อยเกินไป 

นอกจากนี้จมูกแห้งยังเกิดได้จากการใช้ยาแก้แพ้บางชนิด หรือยาลดอาการคันจมูกบางชนิดได้ด้วย

วิธีรักษาจมูกแห้งด้วยตนเอง

1. ใช้ปิโตรเลียมเจล

ป้ายปิโตรเลียมเจลปริมาณเล็กน้อยนำมาทาบริเวณเยื่อบุภายในจมูก วิธีนี้จะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นในจมูกไว้ได้มากขึ้น

การใช้ลิปมันก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่พยายามอย่าใช้วิธีนี้บ่อยเกินไป หรือนานเกินไป และหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณมากต่อครั้ง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาต่อปอดได้แม้ว่าจะพบได้น้อย

2. ใช้เครื่องเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอากาศ

การนอนในห้องที่เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นนี้จะช่วยบรรเทาอาการจมูกแห้งได้ ควรวางเครื่องนี้ไว้ตรงกลางห้อง และหาผ้ามารองด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีกข้อควรระวังในการวางเครื่องเพิ่มความชุ่มชื้นคือ อย่าวางเครื่องนี้ไว้บนเครื่องเรือน เพราะความชื้นจากตัวเครื่องอาจทำลายผิวของเครื่องเรือน และทำให้เกิดเชื้อราตามมาได้

3. สเปรย์พ่นจมูก

สเปรย์พ่นจมูกนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้จมูกนั้นเปียกขึ้น อีกทั้งการพ่นน้ำเกลือเข้าไปในจมูกก็ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยกำจัดฝุ่นและละอองต่างๆ รวมถึงอาการคัดจมูกออกไปได้

4. ใช้ผ้าเปียกเช็ด

ให้ใช้ขวดสเปรย์พ่นน้ำลงบนทิชชู่ หรือชุบผ้าสะอาดให้เปียกชื้น หรือใช้ผ้าเปียกอนามัย นำไปเช็ดตามเยื่อบุในจมูก วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้จมูกแห้งและระคายเคืองได้ 

5. การใช้ไอน้ำ หรือการทำซาวน์น่า

คุณอาจจะวางศีรษะเหนืออ่าง หรือกะละมังที่บรรจุน้ำร้อน เพื่อบรรเทาปัญหาจมุกแห้ง แต่ผลของการใช้วิธีนี้นั้นมักจะอยู่ได้ไม่นาน  

นอกเหนือจากการเพิ่มความชื้นให้กับอากาศแล้ว คุณยังต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะหากมีอาการจมูกแห้งในระหว่างเป็นหวัด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับจมูกจากภายใน

อาการจมูกแห้งทำให้เกิดอะไรขึ้น 

อาการจมูกแห้งนอกเหนือจากทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและทำให้เจ็บจมูกแล้ว อาการจมูกแห้งยังอาจทำให้เกิดความระคายเคืองจนถึงขั้นทำให้ผิวหนังแตกและมีเลือดซึมออกมาได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

หากมีจมูกแห้งนานกว่า 10 วัน แล้วยังไม่หาย หรือมีอาการของการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีไข้ มีน้ำมูกสีเหลือง หรือเขียวที่มีความเหนียวข้นมาก มีเลือดไหลออกจากจมูกไม่หยุด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร  

อาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น หรือมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆ ที่มากกว่าอาการจมูกแห้งได้

หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำคือ วิธีดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Booger - Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". Merriam-webster.com. Retrieved 2012-08-12.
Gates, Stefan (2006). "Boogers". Gastronaut: Adventures in Food for the Romantic, the Foolhardy, and the Brave (paperback). Orlando: Harcourt. pp. 68, 69. ISBN 0-15-603097-7.
WebMD, Compare Current Dryness of the Nose Drugs and Medications with Ratings & Reviews (https://www.webmd.com/drugs/2/condition-1778/dryness%20of%20the%20nose), 7 September 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อาการภูมิแพ้ของทารก เป็นอย่างไร
ทารกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อาการภูมิแพ้ของทารก เป็นอย่างไร

อาการแพ้ในทารกเกิดขึ้นได้ทั้งจากอาหาร สิ่งแวดล้อม และกรรมพันธ์ุ วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมแพ้นั้นๆ

อ่านเพิ่ม