แพ้ยาเพนนิซิลิน

เมื่อยาปฏิชีวะอย่าง "เพนนิซิลิน" ทำให้เกิดอาการแพ้ ต้องจัดการตนเองอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แพ้ยาเพนนิซิลิน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาเพนนิซิลินจัดเป็นยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อที่ได้รับความนิยมสูง แต่ขณะเดียวกัน ยาตัวนี้ก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในผู้ป่วยบางราย
  • ส่วนมากอาการแพ้ยาเพนนิซิลินจะรุนแรงในระดับน้อยจนถึงปานกลาง แต่ก็สามารถรุนแรงไปถึงขั้นเป็นอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • คุณสามารถรับการทดสอบภูมิแพ้ยาเพนนิซิลินได้ ผ่านการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ซึ่งหากผลการทดสอบเป็นลบ แสดงว่า โอกาสการแพ้ต่ำ แต่หากผลเป็นบวก คุณควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานยาเพนนิซิลินอีก
  • ยาฉุกเฉินที่ใช้รักษาอาการแพ้รุนแรงจากยาเพนนิซิลินคือ ยาอีพิเนฟริน ซึ่งโดยปกติจะถูกใช้เพื่อรักษาอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรงของโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว
  • คุณควรเข้ารับการตรวจภูมิแพ้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากยาที่รับประทาน (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

เพราะเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย คือ สาเหตุของการเกิดโรคภัยต่างๆ จึงทำให้ต้องมีการคิดค้นยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะออกมา เช่น ยาเพนนิซิลิน (Penicillin) หรือยาอะม็อกซีซิลิน (Amoxicillin)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ยาเพนนิซิลินจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดี และได้รับความนิยมในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย แต่ก็มีผู้ป่วยจำนานมากที่เกิดอาการแพ้ยาเพนนิซิลิน จนได้รับการรายงานว่า เป็นยาอีกชนิดที่มีผู้ป่วยแพ้มากที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแพ้ยาเพนนิซิลินจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในบางโรค ยาเพนนิซิลินถือเป็นทางรักษาที่ดีที่สุด และผู้ป่วยยังอาจแพ้ยาฆ่าเชื้อชนิดอื่นมาก่อนจนจำเป็นต้องใช้ยาเพนนิซิลินมาช่วยรักษาเท่านั้น

อาการแพ้ยาเพนนิซิลิน

อาการแพ้ยาเพนนิซิลินส่วนมากจะอยู่ในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง โดยจะมีอาการต่อไปนี้

  • ผื่นลมพิษ (Urticaria) และผู้ป่วยจะมีอาการคันมาก แต่ผื่นก็จะค่อยๆ หายไปเมื่อเวลาไปหลายชั่วโมง
  • อาการบวมใต้ผิวหนัง และบริเวณใบหน้าด้วย หรือเรียกได้อีกอย่างว่า “อาการแองจีโออีดีมา (Angioedema)”
  • คอตีบแคบลง
  • หายใจมีเสียงวี้ด
  • ไอ
  • หายใจลำบาก

ส่วนอาการแพ้ยาเพนนิซิลินในระดับที่รุนแรงนั้น มักจะเกิดขึ้นได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นก็จะรุนแรง และไม่ทันตั้งตัวด้วย อีกทั้งอาการยังรุนแรงได้ถึงขั้นทรุดหนักจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งอาการนี้เราสามารถเรียกได้อีกชื่อว่า “อาการแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)” ซึ่งจะมีลักษณะอาการต่อไปนี้

  • แน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย หรือท้องร่วง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หายใจลำบาก
  • ลิ้นบวม คอบวม จมูกบวม ปากบวม
  • จังหวะการเต้นของหัวใจเต้นผิดปกติ
  • เวียนหัวคล้ายจะเป็นลม หรือหมดสติ
  • เกิดอาการช็อก และหัวใจวายได้

หากคุณมีผู้อยู่ใกล้ชิดที่มีอาการแพ้ยาตามที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หรือรีบให้ผู้ป่วยใช้ยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) ซึ่งเป็นยาฉุกเฉินสำหรับรักษาอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรงเสียก่อน จากนั้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ต่อไป

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้ยาเพนนิซิลิน

หากคุณกังวลว่า ตนเองจะแพ้ยาเพนนิซิลิน หรือไม่แน่ใจว่า ความจริงแล้วคุณแพ้ยาชนิดนี้หรือเปล่า คุณก็สามารถปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้ช่วยประเมินว่า ร่างกายของคุณปลอดภัยในการรับประทานยาเพนนิซิลินหรือไม่

โดยในเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการแพ้ยาที่เคยเกิดขึ้น หากคุณเคยรับประทานยาเพนนิซิลินมาแล้ว และมีอาการคล้ายอาการแพ้ แพทย์ก็จะซักประวัติในส่วนนี้ด้วย จากนั้นก็จะมีการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพื่อนำผลการทดสอบมาวินิจฉัยว่า มีอาการแพ้ยาเพนนิซิลินแน่แล้วหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทดสอบจะต้องทำที่โรงพยาบาล ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยก่อนที่มีการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง แพทย์จะประเมินอีกครั้งก่อนว่า คุณเหมาะสม และปลอดภัยเพียงพอที่จะเข้ารับการทดสอบแล้ว

หลังจากนั้น แพทย์จะหยดยาที่เจือจางลงบนผิวหนัง แล้วใช้เข็มขนาดเล็กสะกิดผิวหนังบริเวณที่หยดยาลงไป แล้วเริ่มสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

เมื่อผลการทดสอบออกมา หากผลเป็นลบ แสดงว่า ผู้ป่วยมีโอกาสต่ำที่จะเกิดปฏิกิริยาแพ้เฉียบพลันรุนแรงต่อยานี้ แพทย์อาจทดสอบกับผู้ป่วยอีกครั้งด้วยการใช้ยาตัวเดิมในขนาดปกติ เพื่อยืนยันว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้ยาเพนนิซิลินจริงๆ

แต่หากผู้การทดสอบออกมาเป็นบวก แสดงว่า ผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงจากการใช้ยาเพนนิซิลิน และจะต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะตัวอื่นแทนเพื่อความปลอดภัย

แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นได้ และต้องใช้ยาเพนนิซิลินสำหรับรักษาโรคเท่านั้น ในกรณีนี้ ผู้ป่วยอาจต้องทำกระบวนการหลีกเลี่ยง หรือลดปฏิกิริยาการแพ้ (Drug desensitization) เพื่อให้อาการแพ้ที่เกิดขึ้นลดลง และผู้ป่วยยังสามารถใช้ยารักษาอาการได้ แต่ต้องผู้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

วิธีรักษาอาการแพ้ยาเพนนิซิลิน

หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาเพนนิซีลินที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์อาจจ่ายยาแก้แพ้ หรือให้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน หรือแบบฉีดร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากผู้ป่วยมีอาการแพ้เพนนิซิลินรุนแรงมาก แพทย์จะฉีดยาอีพิเนฟรินให้ ซึ่งตัวยาจะช่วยกระตุ้นการหายใจให้ผู้ป่วยหายใจง่ายขึ้น รวมถึงช่วยเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจ เพิ่มระดับความดันโลหิต รักษาภาวะผื่น และลดอาการบวมตามร่างกาย

นอกเหนือจากยาเพนนิซิลินแล้ว ยากันชัก ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาเคมีบำบัดอื่นๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ยาได้เช่นกัน 

แต่สิ่งสำคัญ คือ คุณควรเข้ารับการทดสอบภูมิแพ้ยากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อจะได้รู้เท่าทันว่า ร่างกายของคุณแพ้ยาตัวไหน หรือชนิดใดบ้าง และเพื่อจะได้ไม่ทำให้อาการแพ้ที่เสี่ยงอันตรายเกิดขึ้นในอนาคต

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Simons KJ, Simons FE , Epinephrine and its use in anaphylaxis: current issues. Curr Opin Allergy Clin Immunol. 2010;10(4):354.
Cacoub, P., Musette, P., Descamps, V., Meyer, O., Speirs, C., Finzi, L., & Roujeau, J.C. (2011). The DRESS syndrome: a literature review. The American journal of medicine, 124 7, 588-97 .
Schnyder, Benno et al , Allergy to sulfonamides .Journal of Allergy and Clinical Immunology, Volume 131, Issue 1, 256 - 257.e5

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการไอแต่ละรูปแบบ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง
อาการไอแต่ละรูปแบบ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง

อาการไอแต่ละแบบบ่งบอกอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีการรักษา

อ่านเพิ่ม
คัดจมูก อาการกวนใจ ชวนหายใจไม่โล่ง
คัดจมูก อาการกวนใจ ชวนหายใจไม่โล่ง

ทำความเข้าใจอาการคัดจมูก ปัญหากวนใจของใครหลายคน เกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม และรักษาได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม