ฤดูหนาว เป็นช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง และบางพื้นที่อาจเย็นลงเฉียบพลัน ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากสภาพอากาศเช่นนี้ อาจทำให้ร่างกายป่วยได้ง่ายกว่าปกติ
นอกจากนี้อากาศเย็นยังเอื้อต่อการอยู่รอดและแพร่กระจายของไวรัสมากที่สุด ฉะนั้นเมื่อถึงฤดูหนาวเราต้องระวัง 6 โรคสำคัญ คือ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ไข้หัด อุจจาระร่วง และไข้สุกใส
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โดยควรศึกษาสาเหตุ และอาการในเบื้องต้น เพื่อจะได้หาวิธีป้องกัน หรือดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรค
1. ไข้หวัด
ไข้หวัด คือโรคพื้นฐานที่เป็นได้แทบจะทุกฤดูกาล แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวอาจจะเป็นได้ง่ายกว่าปกติถึง 2 เท่า ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ
เชื้อที่พบบ่อยคือเชื้อ "ไรโนไวรัส" (Rhinovirus) โดยผู้ป่วยมักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ นำมาก่อน จากนั้นจะเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ และปวดเมื่อยตามตัว
วิธีการรักษา
สำหรับคนส่วนมากมักหายเอง เมื่อเป็นไข้หวัดควรพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำให้บ่อย เช็ดตัวทุกชั่วโมงเพื่อระบายความร้อนในร่างกาย และรับประทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เหล่านี้เพียงบรรเทาอาการ ไม่ได้รักษา หรือทำให้หายเร็วขึ้น
แต่ถ้ามีไข้ขึ้นสูงติดต่อกันนาน ควรพบแพทย์ เพื่อเช็คอาการให้ละเอียดต่อไป
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลไข้หวัด?
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มาจากการ ไอและจาม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่รุนแรงกว่า และหากปล่อยไว้จนมีอาการแทรกซ้อนอาจทำให้เสียชีวิตได้
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส “อินฟลูเอนซา” (Influenza virus) ทางระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน
ทำให้มีอาการ หนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
วิธีการรักษา
การรักษาคล้ายกับโรคไข้หวัดนั่นคือ ควรดื่มน้ำให้มาก เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย เช็ดตัวทุกชั่วโมง รับประทานยาตามอาการ และมียาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่จำเป็นสำหรับทุกคน
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ารับประทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ทันที
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่?
วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีบริการตามโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน เป็นต้น และควรใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ เจลแอลกฮอลล์ หรือเช็ดมือด้วยทิชชู่เปียก เป็นต้น
3. ปอดบวม
ปอดบวม คือภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม
ผู้ป่วยมักมีอาการ คือ ไอ จาม มีเสมหะมาก แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก คัดจมูก หนาวสั่น มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน ปอดบวมมักพบหลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง
ในผู้ป่วยโรคหอบหืด ปอดบวมมักพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 - 10 ปี
วิธีรักษา
หากมีอาการคล้ายเป็นปอดบวม ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการปอดบวมแล้ว จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะได้
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลปอดบวม?
อาการปอดบวมส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเป็นไข้หวัด ดังนั้นเมื่อรู้ว่าเริ่มเป็นไข้หวัด ให้รีบรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน พยายามดื่มน้ำอุ่นมากๆ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
สำหรับเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
4. หัด
หัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า "รูบีโอราไวรัส" (Rubeola virus) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก
อาการของโรคจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ มีน้ำมูก มักไอแห้งตลอดเวลา ตาและจมูกแดง โดยมักมีไข้สูงประมาณ 3 - 4 วันติดต่อกัน จากนั้นจึงขึ้นผื่นแดง ตามร่างกาย โดยผื่นจะค่อยๆ โตขึ้น และมีสีเข้มขึ้น
อาการที่สังเกตได้ว่าจะเป็นหัดคือ ผู้ป่วยมักมีตุ่มใส ๆ ขึ้นในปาก ตรงกระพุ้งแก้มและฟันกราม ซึ่งเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรคหัดเท่านั้น หลังจากผื่นออกประมาณ 2 - 3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ และหายได้เอง
สิ่งที่ต้องระวังคือ โรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้หัดจะติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโรคนี้คือวัยเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ปี
วิธีการรักษา
โรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรงนัก แต่ยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงต้องรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการต่างๆ จะทุเลาลงเอง
แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หายใจสั้น เจ็บที่หน้าอกขณะหายใจ ชัก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคหัด?
วิธีที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูม จะช่วยป้องกันโรคหัดได้ โดยปัจจุบันเด็กทุกคนจะได้รับวัคซีนนี้เมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 6 ปี
5. อุจจาระร่วง
อุจจาระร่วง เป็นโรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส “โรต้า” (Rotavirus) มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
โดยกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6 - 12 เดือน เพราะเด็กวัยนี้ยังมีภูมิต้านทานต่ำและมักมีพฤติกรรมหยิบสิ่งของเข้าปาก ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
อาการคือ มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนอย่างหนัก จนอาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง จึงทำได้แค่ประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยควรให้ผู้ป่วยจิบสารละลายเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ แต่หากผู้ป่วยดื่มน้ำไม่ได้ จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ และอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ไกลอุจจาระร่วง?
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดรับประทาน โดยมีทั้งชนิด 2 หรือ 3 ครั้ง แล้วแต่ชนิดของวัคซีน เด็กสามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน วัคซีนจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค และลดความรุนแรงลงได้
อีกปัจจัยสำคัญไม่แพ้กันคือ ต้องรักษาสุขอนามัยภายในบ้าน เพื่อป้องกันเด็กหยิบจับสิ่งของแล้วติดเชื้อ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัดหรือย่านชุมชน ก็จะช่วยป้องกันโรคได้ส่วนหนึ่ง
6. โรคไข้สุกใส
โรคไข้สุกใส มักระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวคือเดือนมกราคม - มีนาคม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส "วาริเซลลา" (Varicella virus) หรือไวรัส “เฮอร์ปีส์ในมนุษย์ชนิดที่ 3” (Human herpesvirus type 3)
ติดต่อได้โดยการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง หรือการสัมผัสของใช้ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป
พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อาการแรกเริ่มจะคล้ายๆ ไข้หวัดใหญ่คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่จะมีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้นจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 5 - 10 วัน และอาการไข้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น
วิธีการรักษา
ไข้สุกใส ต้องรักษาตามอาการ เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ งดการใช้ของร่วมกับผู้อื่น และหยุดพักจนกว่าจะหายดี ห้ามแคะ แกะเกา บริเวณตุ่ม เพราะอาจทำให้อักเสบ และเป็นแผลเป็นได้ ส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้ไม่ต้องพบแพทย์ เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน และอาการจะทุเลาลงเอง
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลไข้สุกใส?
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้สุกใส โดยฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยเป็น ก็สามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้เช่นกัน
โรคนี้ติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัส ฉะนั้นเมื่อพบผู้ที่เป็นโรคนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน หรือสัมผัสถูกตัวกัน แต่ผู้ที่เคยเป็นโรคไข้สุกใสแล้วจะไม่เป็นซ้ำ จึงอยู่ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคได้ตามปกติ
ทั้ง 6 โรคนี้ เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงฤดูหนาว เพราะติดต่อได้ง่าย เช่น การไอ จาม สัมผัส หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
เราจึงควรดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งสกปรก
โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหรือผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคโลหิตจาง ควรดูแลร่างกายเป็นพิเศษ เนื่องจากมีระดับภูมิต้านทานต่ำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android