ข้อยกเว้นของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา

เมื่อไหร่ที่คุณจะไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อยกเว้นของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา

ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสามอย่างสำหรับการปฏิเสธดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีผู้อื่นช่วยเหลือเรื่องรายได้ของผู้ป่วยขณะที่เขาหรือเธออยู่ในช่วงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และไม่สามารถทำงานได้

ในกรณีเหล่านี้  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ปฏิเสธการรักษา หากการทำดังกล่าวจะยืดเวลาที่พวกเขาไม่ได้ทำงานและกระทบต่อการหาเลี้ยงตัวเอง จนเขาต้องพึ่งพาคนอื่นเรื่องรายได้ไปก่อน

เรื่องนี้อาจมีข้อยกเว้น แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวก็มักถูกตัดสินจากผู้พิพากษาหรือหน่วยงานรัฐ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคร้ายแรงอาจได้รับอนุญาตให้ปฏิเสธการรักษาหากมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่จะกลับไปทำงานได้ ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม

ต่อไปนี้เป็นข้อยกเว้นสามข้อหลักๆ ของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา

การชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

หากคุณบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเนื่องจากงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน และรายได้ของคุณขณะนั้นได้มาจากเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างแล้ว คุณก็อาจจะไม่มีสิทธิปฏิเสธการรักษา แม้ว่ากฎหมายเฉพาะจะระบุเรื่องนี้ไว้อย่างหลากหลายในแต่ละรัฐ แต่หลักๆ ก็คือลูกจ้างไม่สามารถได้รับประโยชน์ทางการเงินอย่างถูกกฏหมายได้จากการปฏิเสธการรักษา

แน่นอนว่าเรื่องนี้มีความไม่ชัดเจนอยู่ อาจมีบางครั้งที่ผู้ป่วยอยากจะปฏิเสธการรักษาสำหรับปัญหาที่ไม่เกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่ทำให้เขาหรือเธอทำงานไม่ได้ เช่นการปฏิเสธไม่ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก็ไม่เหมือนกับการปฏิเสธไม่รับการผ่าตัดรักษาเพื่อแก้ไขร่างกาย

การติดยา ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากการรักษาที่ลูกจ้างกำลังได้รับอยู่หรือไม่ก็ตาม อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการปฏิเสธการรักษา ลูกจ้างอาจไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธการบำบัดรักษา ซึ่งขึ้นกับผลของการทดสอบ และเรื่องนี้ก็แตกต่างกันไปในกฏหมายของแต่ละรัฐ

หากคุณกำลังได้รับเงินชดเชยสำหรับลูกจ้าง และอยากปฏิเสธการรักษาใดๆ ก็ตาม คุณต้องแน่ใจก่อนว่าคุณตัดสินใจถูก และเลือกปรึกษาคนที่ถูกต้องเพื่อจะได้ทำตามการตัดสินใจดังกล่าว

สวัสดิการทางสังคมสำหรับผู้พิการ (Social Security Disability-SSD)

เช่นเดียวกับเงินชดเชยสำหรับลูกจ้าง ผู้ที่ได้รับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้พิการก็อาจจะไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้อย่างถูกกฏหมายเช่นกัน เมื่อผู้จ่ายภาษีเป็นผู้ช่วยเหลือทางด้านรายได้ของคุณเนื่องจากคุณเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บนั้นดีขึ้นได้ หรือสามารถรักษาให้ดีขึ้นจนพอจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คุณก็จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ปฏิเสธการรักษา หากคุณปฏิเสธ คุณก็จะใช้สิทธิการรับสวัสดิการจากรัฐ

เช่นเดียวกับเงินชดเชยลูกจ้าง กฎนี้ก็มีกรณีที่คลุมเครือเช่นกัน ผู้รับสวัสดิการถูกคาดหวังว่าจะต้องรับการรักษาทุกอย่างที่สมเหตุสมผล ซึ่งเรื่องของความสมเหตุผลดังกล่าวก็ขึ้นกับการตีความ และผลการรักษาก็ไม่ได้แน่นอนด้วย

หากคุณได้รับเงินช่วยเหลือจากสวัสดิการรัฐและอยากจะปฏิเสธการรักษาใดๆ คุณควรจะแน่ใจว่าคุณทำถูกขั้นตอนในการปฏิเสธการรักษา

ความพิการส่วนบุคคล

คุณอาจมีการประกันความพิการส่วนบุคคลจากนายจ้าง หรืออาจทำเองผ่านบริษัทเช่น Aflac หรือ MassMutual หากการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยของคุณไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แต่กระทบต่อความสามารถในการทำงานหรือการช่วยเหลือตัวเอง ประกันดังกล่าวก็จะช่วยเหลือคุณทางด้านการเงินในช่วงที่คุณกำลังพักฟื้น ซึ่งการที่คุณจะสามารถปฏิเสธการรักษาได้หรือไม่ ก็จะขึ้นกับบริษัทประกัน

โดยทั่วไปแล้ว กฎสำหรับการปฏิเสธก็คล้ายๆ กันกับกฏที่ใช้สำหรับสวัสดิการรัฐและเงินชดเชยสำหรับลูกจ้าง ผู้ประกันความพิการย่อมจะไม่ยินยอมให้คุณเลือกไม่รับการรักษาหากนั้นหมายถึงว่าพวกเขาจะต้องจ่ายเงินให้คุณมากกว่าจากระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น หากคุณปฏิเสธการรักษา คุณอาจจะเสียสิทธิการได้รับเงินดังกล่าว

หากคุณกำลังได้รับเงินดังกล่าวอยู่และอยากจะปฏิเสธการรักษาใดๆ คุณควรจะแน่ใจว่าคุณทำถูกขั้นตอนในการปฏิเสธการรักษา


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do I have the right to refuse treatment?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/nhs-services-and-treatments/do-i-have-the-right-to-refuse-treatment/)
Do Patients Have the Right to Refuse Treatment?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/do-patients-have-the-right-to-refuse-treatment-2614982)
Exceptions to the right to refuse treatment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3646017)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม