กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไวรัสโรต้า อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไวรัสโรต้า อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ทุกวันนี้อันตรายสำหรับเด็กมีรอบตัว ไวรัสโรต้า ก็เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งเชื้อโรคที่มักพบในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี เป็นไวรัสที่ทำให้เด็กเกิดอุจจาระร่วงอย่างหนักอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ไวรัสโรต้าคืออะไร สามารถสังเกตอาหารได้อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักเพื่อหาทางป้องกันบุตรหลานของคุณได้อย่างถูกวิธีค่ะ

ไวรัสโรต้าคืออะไร

“ไวรัสโรต้า” เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) ใน ตระกูล (Family) Reoviridae มีถึง 7 สายพันธุ์ (A, B, C, D, E, F, G)  ติดต่อได้โดยการรับเชื้อเข้าทางปาก ทางการแพทย์พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็ก เพราะเด็กมักจะหยิบอะไรได้ก็ส่งเข้าปากทันที ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไวรัสชนิดนี้มักพบในเด็กเป็นหลักและมีบ้างในผู้ใหญ่ เป็นไวรัสที่แฝงตัวอยู่กับสิ่งของรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหาร หรือของเล่น ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการแพร่ระบาดมากในฤดูหนาวโดยเฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง กุมพาพันธ์

4 สัญณาณเตือนอาการที่อาจเกิดจากไวรัสโรต้า

สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยติดเชื้อไวรัสโรต้าหรือไม่ อาจสังเกตได้ดังนี้

  • ท้องเสียหนักมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ บางรายมีอาเจียนร่วมด้วย เด็กเล็กอาจมีไข้
  • เด็กมีอาการซึม มือเท้าเย็น เนื่องจากอุจจาระบ่อยจนอาจหมดแรง
  • ปัสสาวะออกน้อยลง บางครั้งมีสีเข้ม หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชั่วโมง
  • ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล ปากแห้ง กระหายน้ำ ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดน้ำ ต้องระวังให้มากอาจเกิดการช๊อกได้

อาการที่พบ

สำหรับผู้ที่อุจจาระร่วงเพราะไวรัสโรต้า จะพบอาการที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไป ไม่มียารักษาโดยตรงส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยการให้อุจจะระออกไปให้หมดเพื่อไล่เชื้อ ควรดื่มเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่อาการหนักมาก ส่วนมากมักหายได้เองแต่ก็เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากเกิดภาวะช๊อกจากการเสียน้ำในร่างกายอย่างมาก

หากท้องร่วงไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3-7 วัน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือการขาดน้ำในร่างกาย เนื่องจากมักอุจจาระเป็นน้ำและอุจจาระหลายรอบจนทำให้ร่างกายเสียน้ำอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณเตือนดังกล่าว และหากพบว่าลูกน้อยผิดปกติควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

การป้องกันไวรัสโรต้า

  • สำหรับเด็กวัย 6 – 12 เดือน เป็นวัยที่มักหยิบสิ่งของเข้าปาก ทั้งนี้ควรทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ สำหรับของใช้ให้หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ส่วนของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ควรลวกน้ำร้อนอยู่เป็นประจำ ส่วนสิ่งของที่ซื้อเข้าบ้านไม่ควรวางไว้ใกล้ลูกเพื่อป้องกันการรื้อของออกมาเล่นและป้องกันไวรัสที่อาจมาจากนอกบ้าน
  • สำหรับเด็กวัยอนุบาลที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรฝึกวินัยการล้างมือก่อนหยิบของเข้าปาก หมั่นสอนให้ติดเป็นนิสัยจะช่วยสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับเด็กได้
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ถึงแม้ไม่มียารักษาโดยตรงแต่โชคดีที่แพทย์สามารถค้นพบวัคซีนได้ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าได้ 100 % เพียงแต่ช่วยให้มีอาการท้องร่วงน้อยลง
  • ปัจจุบันนี้พบว่าผู้ใหญ่เองก็พบการอุจจาระร่วงจากไวรัสชนิดนี้มากขึ้น ข้อเสียคือยังไม่มียารักษาโดยตรงจึงต้องทำหารรักษาเช่นอาการท้องร่วงโดยทั่วไปด้วยการฆ่าเชื้อ ไล่เชื้ออกให้หมด เสริมเกลือแร่หรือน้ำเกลือ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  • ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารทาน เลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด สด ร้อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่แฝงมากับอาหาร เครื่องดื่มที่ปลอดภัยเมื่อป่วยได้แก่ น้ำต้มสุก น้ำสะอาด กลูโคส และเกลือแร่

ไวรัสโรต้ามีความรุนแรงแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ถึงแม้จะหายได้เองแต่ก็อาจทำให้ผู้ที่อุจจาระจนเสียน้ำในร่างกายมากจนเกิดภาวะช๊อกอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเริ่มมีความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus vaccine)


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rotavirus | Transmission. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/rotavirus/about/transmission.html)
Detection of Fecal Shedding of Rotavirus Vaccine in Infants Following Their First Dose of Pentavalent Rotavirus Vaccine. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4459210/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)