วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus vaccine)

รู้จักวัคซีนสำหรับทารกและเด็กเล็ก ที่จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลได้
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus vaccine)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรตาไวรัส (Rotavirus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรงในทารกและทารกและเด็กเล็ก อาการอาจรุนแรงจนอาจทำให้เกิดการขาดน้ำ (การสูญเสียของเหลวในร่างกาย) ในที่สุด
  • หลังพบว่า ในประเทศที่ทารกได้รับวัคซีนโรตาไวรัสแล้ว จำนวนทารกและเด็กเล็กที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคนี้ลดจำนวนลงอย่างมาก การรับวัคซีนป้องกันโรคโรตาไวรัส (rotavirus) จึงได้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กในปัจจุบัน
  • ทารกควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรตาครั้งที่ 1 คือ อายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยอายุมากที่สุดที่ยังสามารถได้รับวัคซีนครั้งที่ 1 คือ อายุ 14 สัปดาห์ ส่วนทารกที่มีอาการแพ้
  • ไวรัสในวัคซีนจะถูกส่งผ่านทางลำไส้ของทารกและอาจถูกสัมผัสโดยผู้ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก ซึ่งอาจทำให้คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างรุนแรงสามารถติดไวรัสได้ ดังนั้นคนกลุ่มดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับทารกที่ได้รับวัคซีนเป็นเวลา 14 วัน
  • สำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนโรตาไวรัส โอกาสที่จะป่วยและแพร่เชื้อก็จะลดลง และพบมากขึ้นในเด็กโตรวมทั้งผู้ใหญ่ (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนได้ที่นี่

วัคซีนโรตาไวรัส (rotavirus) จะช่วยปกป้องลูกน้อยจากเชื้อไวรัสโรตา ไวรัสนี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนรุนแรงในทารกและเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดการขาดน้ำ (การสูญเสียของเหลวในร่างกาย) อย่างรุนแรง ทำให้เด็กๆ ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

โรตาไวรัสคือะไร

โรตาไวรัส (Rotavirus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรงในทารกและเด็กเล็ก ทารกส่วนใหญ่มักมีอาการอาเจียน หรือมีอาการท้องร่วงและกว่าจะฟื้นตัวเต็มที่อาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ความเจ็บป่วยและอาการท้องร่วงที่เกิดจากโรตาไวรัส (rotavirus) สามารถทำให้เกิดการขาดน้ำ (การสูญเสียของเหลวในร่างกาย) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกและเด็กเล็กและอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ก่อนที่จะมีการนำวัคซีนโรตาไวรัสมาใช้ใน พ.ศ. 2556 ทารกประมาณ 1,200 ราย ในประเทศสกอตแลนด์ต้องไปโรงพยาบาลทุกปีเพราะป่วยด้วยโรตาไวรัส แต่ตั้งแต่มีการนำวัคซีนโรตาไวรัสมาใช้ จำนวนทารกที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการว่าติดเชื้อโรตาไวรัสก็ลดลงมากกว่า 80%

จะปกป้องลูกน้อยจากโรตาไวรัสได้อย่างไร

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำได้คือ ให้ทารก หรือเด็กเล็ก ในความดูแลของคุณได้รับวัคซีนป้องกันโรคโรตาไวรัส (rotavirus) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก

พบว่า ในประเทศที่ทารกได้รับวัคซีนโรตาไวรัสแล้ว จำนวนทารกและเด็กเล็กที่เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากไวรัสนี้ลดจำนวนลงอย่างมาก

ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนโรตาไวรัส

วัคซีนโรตาเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ วัคซีนชนิดนี้เป็นของเหลวชนิดที่หยอดให้ทางปากตามเกณฑ์อายุที่กำหนด แต่หากลูกน้อยของคุณป่วยกะทันหันหลังจากได้รับวัคซีน จะต้องได้รับวัคซีนอีกครั้ง

โดยทั่วไปควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรตาครั้งที่ 1 เมื่ออายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยอายุมากที่สุดที่ยังสามารถได้รับวัคซีนครั้งที่ 1 คือ 14 สัปดาห์ เนื่องจากไม่มีข้อมูลความปลอดภัย หากเริ่มรับวัคซีนป้องกันไวรัสโรตา ครั้งที่ 1 ที่อายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ หรือเกิน 15 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วัคซีนชนิด RotarixTM หรือ Monovalent vaccine 

ให้หยอดวัคซีนชนิดนี้ทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน โดยควรหยอดวัคซีนทั้ง 2 ครั้งนี้ให้ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ 

กรณีหยอดวัคซีนครั้งที่ 2 ล่าช้าไป แนะนำให้หยอดวัคซีนทันทีที่นึกขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่หยอดวัคซีนล่าช้าจนเกินอายุ 8 เดือน (สัปดาห์ที่ 32)

วัคซีนชนิด RotaTeqTM หรือ Pentavalent vaccine 

ให้หยอดวัคซีนชนิดนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุ 2 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน โดยควรหยอดวัคซีนแต่ละครั้งให้ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ 

กรณีหยอดวัคซีนครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย) ล่าช้าไป แนะนำให้บริหารวัคซีนทันที ที่นึกขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่หยอดวัคซีนล่าช้าจนเกินอายุ 8 เดือน (สัปดาห์ที่ 32)

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม: เคยได้ยินว่า วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่มีชีวิต จะทำให้เด็กไม่สบายได้หรือไม่?

คำตอบ: การหยอดวัคซีนโรตาไวรัสไม่ได้ทำให้เด็กไม่สบายหลังจากได้รับวัคซีน เนื่องจากไวรัสในวัคซีนนั้นถูกทำให้อ่อนแอลงเพื่อไม่ทำให้เกิดอาการป่วย แต่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นั่นหมายความว่า หากมีการติดเชื้อไวรัสโรตาหลังจากได้รับวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะรับรู้ได้อย่างรวดเร็วและทำหน้าที่หยุดยั้งการติดเชื้อนั้น

ไวรัสในวัคซีนจะถูกส่งผ่านทางลำไส้ของทารกและอาจถูกสัมผัสโดยผู้ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก ซึ่งอาจทำให้คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างรุนแรงสามารถติดไวรัสได้จากผ้าอ้อมของเด็กที่ได้รับวัคซีน 

ดังนั้นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ หรือบกพร่อง เนื่องจากการรักษาทางการแพทย์หรืออื่นๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับทารกที่ได้รับวัคซีนโรตาไวรัสเป็นระยะเวลา 14 วัน

ทุกคนที่ใกล้ชิดกับทารกที่เพิ่งได้รับวัคซีนโรตาไวรัส ควรล้างมือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกทันที

คำถาม: มีเหตุผลใดที่เด็กไม่ควรได้รับวัคซีน?

คำตอบ: มีทารกน้อยมากที่ไม่สามารถรับวัคซีนโรตาไวรัสได้ ดังทารกในกลุ่มต่อไปนี้

  • มีอาการแพ้ (ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง) กับวัคซีนก่อนหน้านี้ หรือส่วนผสมใดๆ ในวัคซีน
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดรุนแรง (Severe combined immunodeficiency syndrome หรือ SCID)

คำถาม: หากเด็กไม่สบายวันที่มีนัดหยอดวัคซีน

คำตอบ: ถ้าเด็กไม่สบายมาก เช่น มีไข้ ท้องร่วงหรืออาเจียน ควรเลื่อนการหยอดวัคซีนออกไป

คำถาม: เราจะรู้ได้อย่างไรว่า วัคซีนนั้นปลอดภัย

คำตอบ: ยาทุกชนิด(รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) 

วัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก ทั้งนี้การใช้งานจะได้รับการควบคุมความปลอดภัยโดย MHRA

คำถาม: จะได้รับวัคซีนจากที่ไหน

คำตอบ: สามารถรับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลชั้นนำ

คำถาม: เด็กควรจะได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุเท่าไหร่

คำตอบ: เพื่อการปกป้องที่ดีที่สุด เด็กควรได้รับวัคซีนโรตาไวรัส 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 สัปดาห์ เด็กจะได้รับการฉีดวัคซีนเป็นประจำตามปกติเมื่ออายุ 8 สัปดาห์และ 12 สัปดาห์ 

เมื่อโตขึ้น เด็กบางราย (ประมาณ 1 ใน 1,000 ราย) มีอาการที่ก่อให้เกิดการอุดตันในลำไส้เล็ก เป็นโรคที่หายากมากหากอายุน้อยกว่า 3 เดือนเพราะส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างอายุ 5 เดือนถึง 1 ปี 

อย่างไรก็ตาม มีโอกาสน้อยมาก (ประมาณสองในทุกๆ แสนรายที่ได้รับการฉีดวัคซีน) ที่การฉีดวัคซีนครั้งแรกอาจทำให้เกิดการอุดตันนี้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงนี้ ต้องให้วัคซีนครั้งแรกก่อนอายุ 15 สัปดาห์

จากนั้นเด็กควรได้รับวัคซีนครั้งที่สองหลังจากนั้น 4 สัปดาห์และไม่เกิน 24 สัปดาห์ หากเด็กไม่ได้รับวัคซีน ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีน โอกาสแพร่เชื้อโรตาไวรัสก็จะลดลงและพบได้ยากในผู้ใหญ่

คำถาม: ผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน

คำตอบ: มีการใช้วัคซีนมาแล้วหลายล้านครั้ง พบว่า มีประวัติด้านความปลอดภัยที่ดี อาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่ปกติแล้วไม่รุนแรงนัก

เด็กที่ได้รับวัคซีนบางคนอาจมีอาการกระสับกระส่าย หรือหงุดหงิดง่าย และบางคนอาจถึงขั้นมีอาการท้องร่วงเล็กน้อย หากคุณกังวลเกี่ยวกับสุขภาพลูกน้อยในวันที่ได้รับวัคซีน หรือหลังจากนั้น ควรปรึกษากับแพทย์

ในกรณีที่พบได้น้อยมาก (ประมาณสองในทุกๆ แสนรายที่ได้รับวัคซีน) วัคซีนจะส่งผลต่อลำไส้เล็กของเด็ก อาจทำให้มีอาการปวดท้อง อาเจียนและบางครั้งอาจถ่ายเป็นมูกปนเลือดในผ้าอ้อมเด็ก

หากมีอาการผิดปกติหลังได้รับวัคซีน ควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาล หรือคลินิกใกล้บ้านทันที

โรตาไวรัสเป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลต่อสุขภาพของทารกและเด็กเล็กอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากการป้องกันสำคัญมากกว่าการรักษา

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android  


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, Rotavirus (https://www.who.int/immunization/diseases/rotavirus/en/), 27 December 2019.
Centers for Disease Control and Prevention, Rotavirus Vaccination (https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/rotavirus/index.html), 27 December 2019.
Healthychildern.org, Rotavirus Vaccine: What You Need to Know (VIS) (https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/immunizations/Pages/Rotavirus-Vaccine-What-You-Need-to-Know.aspx), 27 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป