August 26, 2019 09:29
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
แบบประเมินโรคซึมเศร้ามีดังนี้ครับ
จะมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการขึ้นไป โดยอาการมีดังนี้
1. อารมณ์ซึมเศร้า (เด็กและวัยรุ่นอาจจะเป็นอารมณ์หงุดหงิดแทนได้ครับ)
2. มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงมาก
3. นํ้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (โดยเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากขึ้น
4. กระวนกระวาย หรือดูเชื่องช้าลง
5.นอนไม่หลับ/หลับมากไป
6. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงแรง
7. มีสมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจ
8.รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
9. มีความคิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
จะต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ และมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และควรมีอาการเหล่านี้แทบจะตลอดเวลาครับ
ดีที่สุดน่าจะไปพบแพทย์เฉพาะทาง ทางด้านจิตใจ(จิตแพทย์)โดยเฉพาะครับ เพราะจะได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ภาวะเศร้าการปรับตัวไม่ได้จากปัญหาที่มากระทบจิตใจ, ภาวะวิตกกังวล โรคทางกายอื่นๆ และคุณหมอจิตแพทย์จะชำนาญในการรักษาและให้ยา อีกทั้งจะได้ให้คำแนะนำและติดตามอาการครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณค่ะคุณหมอ งั้นคงไม่ได้เป็นซึมเศร้าค่ะ แต่รู้สึกอารมณ์ช่วงนี้ดิ่งลงมาก เพราะปกติไม่เคยเป็นแบบนี้
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพจิตต่างๆ คิดว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้ รวมถึงปัญหากลัวต่างๆ ขาดความมั่นใจอย่างผิดปกติ การพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ตามสิทธิการรักษาครับ
สามารถเช็คสิทธิการรักษาได้จากเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
________________________
อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่อาการต่างๆดังต่อไปนี้
1. มีการนอนหลับที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น นอนมากขึ้น หรือนอนไม่หลับ
2. ไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบหรือกิจกรรมที่เคยทำปกติ
3. รู้สึกว่าตนเองผิด ทำอะไรก็ผิดเสมอ
4. เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย
5. ไม่มีสมาธิในการจดจ่อทำสิ่งต่างๆได้
6. มีความเจริญอาหารที่มากกว่าปกติ หรือเบื่ออาหารผิดปกติ
7. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
8. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
ถ้ามีอาการต่างๆดังต่อไปนี้หลายข้อต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์ควรไปพบจิตแพทย์ครับ หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าอาจหาแบบทดสอบคัดกรองโรคนี้ทำได้ทางอินเตอร์เน็ต หรืออาจโทรไปปรึกษาสายด่วนโรคซึมเศร้าได้ที่เบอร์ 1323 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ นอกจากนี้ยังสามารถไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาอาการต่างๆได้เสมอครับไม่จำเป็นต้องมีอาการหลายข้อหรือเป็นนานนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่คนเราต้องเจอกับปัญหาหรือเหตุการณ์บางอย่างที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ได้เป็นเรื่องปกติค่ะ
และคนปกติทั่วไปจะสามารถยอมรับและปรับตัวกับปัญหานั้นได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์-1 เดือน
หากปรับตัวไม่ได้ ภายในเวลาดังกล่าว แล้วทำให้มีอารมณ์ดิ่งลง นอนไม่หลับ หรืออาการส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แบบนี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ ซึ่งอาจเป็นอาการได้ตั้งแต่ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความผิดปกติของการปรับตัว เป็นต้น
ในกรณีที่สงสัยอาการเกี่ยวกับซึมเศร้าสามารถประเมินอาการด้วยตนเอง ดังนี้นะคะ
โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัดค่ะ
หากอาการไม่เข้าข่ายซึมเศร้า เบื้องต้นแนะนำให้ผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง โดยการออกกำลังกาย หากิจกรรมหรืองานอดิเรกมาทำ หาที่ปรึกษาพูดคุยระบายความรู้สึกออกมา ฝึกสมาธิ เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณมากๆนะคะคุณหมอ
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ขอเพิ่มเติมในส่วนของการเพิ่มความั่นใจให้กับตัวเองนะครับ สิ่งที่อาจจะสามารถทำได้ก็คือการลองนั่งทบทวนถึงสิ่งที่ตนเองเคยได้ทำ และผ่านมันมาได้ถ้าหากว่าเป็นเรื่องของความมั่นใจโดยรวมๆ แล้ว แนวคิดหลักก็คือทุกๆ มีด้านเด่น และด้านที่ไม่ค่อยถนัดอยู่ด้วยกันทั้งหมดครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการที่จะฝึกฝน หรือพัฒนาจุดที่เราไม่ค่อยถนัดตรงนั้นอย่างไร หรือทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ด้านเด่นของเราให้มีประโยชน์หรือช่วยเสริมเราในบางเรื่องได้
หากว่าเป็นความมั่นใจเฉพาะในบางเรื่องบางสถานการณ์ อาจจะต้องลองค่อยๆใช้เวลาในการทบทวนตนเองและลองเข้าพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ดูเพื่อรับการประเมินและคำปรึกษาที่จะช่วยให้เราสามารถมองตนเองในด้านอื่นๆ และค่อยๆเพิ่มความมั่นใจของตนเองขึ้นมาได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนนี้รู้สึกขาดความมั่นใจในตนเองมากเลยค่ะ ไม่รู้ว่าอาการแบบนี้คือซึมเศร้ารึเปล่า คุณหมอมีวิธีช่วยดึงความมั่นใจของตนเองกลับมารึเปล่าคะ ตอนนี้รู้สึกแย่มากเลยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)