March 10, 2019 03:48
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่ไม่มีความสุขหรือมีความเครียดต่อการทำงานนั้นอาจส่งผลเกิดความคิดความกังวลที่เข้ามารบกวนการนอนและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ครับ ซึ่งถ้าหากอาการเหล่านี้เป็นอยู่บ่อยๆติดต่อกันมาเป็นเวลานานก็ต้องระวังว่าอาการนี้จะเกิดจากโรคทางด้านจิตใจบางอย่างได้ด้วย เช่น
- มีการปรับตัวกับความเครียดที่ผิดปกติ
- โรคซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล
- โรคย้ำคิดย้ำทำ
รวมถึงอาจเกิดจากการมีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น การเอางานมาทำก่อนนอน การดื่มชา กาแฟ หรือการใช้ยามีฤทธิกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ซึ่งในเบื้องต้นนั้นถ้าหากอาการไม่ได้รุนแรงมากก็อาจลองปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสมก่อนได้ครับ
1. ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศเงียบสงบ ไม่มีแสงเสียงรบกวน และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. ใช้ห้องนอนเพื่อการนอนเท่านั้น ไม่ใช้ห้องนอนทำกิจกรรมอื่น เช่น ดูทีวี ทำงาน อ่านหนังสือ
3. ก่อนนอน 1 ชั่วโมงควรมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนสบายๆ พยายามไม่คิดเรื่องเครียด เรื่องกังวลต่างๆ
4. เข้านอนเมื่อง่วงนอนเท่านั้น
5. ถ้าหากเข้านอนไปนาน 15-20 นาทีแล้วยังนอนไม่หลับก็ควรลุกขึ้นมาจากที่นอนเพื่อหากิจกรรมเบาๆทำก่อน แล้วกลับเข้าไปนอนเมื่อรู้สึกง่วงนอนอีกครั้ง
6. ตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันของทุกวัน
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมก่อนนอนเพราะจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้น
8. ไม่นอนกลางวัน
9. ไม่ดื่มชา กาแฟ หลังเที่ยงวัน
10. ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราก่อนนอน
ถ้าหากปฏิบัติตามวิธีนี้ 1-2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือความคิดต่างๆที่เข้ามานั้นเป็นอยู่นาน เป็นมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิตเป็นอย่างมากติดต่อกันนานมากกว่า 2 สัปดาห์ หมอก็แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการและช่วยให้การรักษาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการดังกล่าวอาจเกิดได้ทั้งจากความผิดปกติทางด้านร่างกาย (จากการมีโรคเรื้อรังบางอย่าง หรือ โรคผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน หรือเป็นผลมาจาการใช้ยาหรือสารเสพติด ) และจากความผิดปกติทางด้านจิตใจ (ได้แก่ ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น )
ในกรณีนี้อยากให้พบแพทย์ ตรวจหาสาเหตุทางกายให้แน่ชัด หากไม่พบความผิดปกติทางด้านร่างกายก็ต้องไปพบจิตแพทย์ ประเมินอาการทางด้านจิตใจ วินิจฉัยแยกโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้นะคะ
แต่หากผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีการใช้ยาหรือสารเสพติดใดๆ อาการข้างต้นอาจเป็นอาการของโรคทางด้านอารมณ์ อย่างซึมเศร้าก็เป็นได้ค่ะ
เบื้องต้นทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ดูก่อนก็ได้ค่ะ โดยให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่ละอาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ควรพบจิตแพทย์ รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาการมึนงง คิดอะไรไม่ออกเหม่อลอยเวลานอนจะตื่นกลางดึกแล้วก็นอนไม่หลับอีก สมองคิดแต่ทางที่ไม่ดี ตาไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้ เป็นๆหายๆ สามวันดีสี่วันไข้ หรือเป็นวันละโรคน่ะครับ ไม่ค่อยมีความสุขกับการทำงานครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)