March 31, 2019 14:09
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ
เบื้องต้นทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ดูก่อนก็ได้ค่ะ โดยให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่ละอาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ
ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งซึมเศร้าสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในส่วนนี้จากที่เล่ามาก็จะเห็นได้ครับว่ามีอาการหลายอย่างที่ค่อนข้างตรงกับเรื่องของโรคซึมเศร้าซึ่งผมก็อยากจะแนะนำนะครับว่าให้ลองเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมดูครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดลดลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะทำให้สภาพจิตใจและเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลานะครับ หากคุณมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ง่วงแต่กลับดันนอนไม่หลับ รู้สึกเหมือนกังวลหรือคิดนู้นคิดนี่ตลอด เบื่อๆเหนื่อยๆ ยิ่งเวลาที่อยู่คนเดียวรู้สึกเคว้งเหมือนไม่เหลือใคร ขี้น้อยใจมากๆคนที่บ้านพูดบ่นว่าก็รู้สึกหงุดหงิดมากๆอยากจะกรี๊ดแต่ทำได้แค่อดทนจนน้ำตาคลอ กินน้อยลงเบื่ออาหาร จากที่ชอบกินและกินเยอะมากๆ จะเป็นซึมเศร้ารึป่าวค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)