September 02, 2019 02:46
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ปกติประจำเดือนขาด ก็ตรวจได้เเล้วครับ
ถ้ามีประวัติเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกันก็มีโอกาสท้องครับ
เเนะนำตรวจการตั้งครรภ์ครับถ้าประจำเดือนขาด
โดยทั่วไปก็จะถือว่าตรวจพบว่าท้องได้ เมื่อประจำเดือนขาดครับ
...........
ถ้าจำประจำเดือนแม่น รู้รอบประจำเดือนตัวเองดี ก็จะง่ายครับ
เช่นถ้าเมนส์มาวันที่ 1 กพ. ปกติมาตรง 30 วัน
ถ้า 3 มีนา เมนส์ไม่มา ก็สามารถตรวจได้ครับ
............
แต่ถ้าจำไม่ได้ว่าเดือนก่อนเมนส์มาวันไหน
แนะนำว่าให้ตรวจถ้าเมนส์ไม่มาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ กันไปแล้ว 2 สัปดาห์
เพราะว่าถ้าจะท้องได้ ก็คือต้องไข่ตกช่วงที่มีเพศสัมพันธ์กันพอดี ถ้านอกเหนือไปจากนั้น โอกาสท้องก็น้อยครับ
...........
ถ้าตรวจแล้วผลว่าไม่ท้อง แต่ยังสงสัย แนะนำให้รอ เพราะบางครั้งค่าของฮอร์โมนอาจจะยังไม่มากพอที่จะให้ผล positive ถ้ารอแล้วเมนส์ยังไม่มา อีกซักสัปดาห์ค่อยตรวจซ้ำ ไม่ควรรีบไปกินพวกยาขับเลือด-ยาสตรี เพราะถ้าเกิดท้องขึ้นมาแล้วจริงๆ ยาพวกนี้อาจจะมีผลต่อเด็กได้ครับ
...........
- ชุดตรวจมีหลากหลายครับ ในรายละเอียดอาจจะต่างกันบ้าง ให้ดูตามคำเเนะนำในกล่องน่าจะดีที่สุดแต่โดยทั้วไปก็คือให้ปัสสาวะใส่ภาชนะ จุ่มที่ทดสอบลงไประยะเวลาหนึ่ง เอาขึ้นมาตั้ง รอเวลา แล้วจึงอ่านผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะตรวจก็มีผลต่อการแปลผลมาก
ผลจะแม่นที่สุดควรจะต้องเป็นปัสสาวะครั้งแรกตอนเช้าที่เพิ่งตื่นนอนมาเพราะจะเป็นปัสสาวะที่เข้มข้น ถ้ามี hCG อยู่ก็จะตรวจพบได้ง่ายกว่า
- ชุดตรวจส่วนใหญ่จะแสดงผลเป็นขีดๆ โดยขีดแรกเป็นเส้น control จะต้องขึ้นเสมอไม่ว่าจะท้องหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นแปลว่าที่ตรวจนั้นเสีย ส่วนขีดที่สองถึงจะเป็นตัวบอกว่ามี hCG อยู่
...........
ดังนั้น สองขีดคือท้อง
...........
ขีดเดียวคือไม่ท้อง ถ้าไม่มีซักขีดคือชุดตรวจเสียครับ
กรณีตรวจเเล้วไม่ท้อง
การที่ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือขาด อาจเกิดได้จากความเครียด ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ,การตั้งครรภ์ ,การฉีดยาคุมกำเนิดชนิดสามเดือน ,ยาฝังคุมกำเนิด หรือ ห่วงคุมเนิดชนิดฮอร์โมน ครับ
หรือเกิดได้จากโรคอื่นๆ กรณีที่ประจำเดือนขาดนานๆ หรือมาไม่สม่ำเสมอครับ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่อาการคือ ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับพบลักษณะของฮอรโมนเพศชาย(มีสิว มีขนเยอะ) หรือ บางครั้งความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ครับหากประจำเดือนขาดนานๆ ร่วมกับบีบหัวนมเเล้วมีน้ำนมไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการตกไข่ผิดปกติจากสาเหตุของรังไข่เอง
อื่นๆ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) อาการคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้นครับ
.............
หากเดิมประจำเดือนมาปกติ เเล้วประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือตรวจเเล้วไม่ท้อง (ปกติประจำเดือนขาดก็ตรวจได้เเล้วครับว่าท้องหรือไม่) หรือ ไม่ได้มีความเครียดอื่นๆ ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ครับ อาจพิจารณารับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ร่วมกับหาสาเหตุด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
การที่ประจำเดือนไม่มา ถ้ามีความเสี่ยงตั้งครรภ์ เบื้องต้นแนะนำให้ซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองมาทดสอบก่อนครับ โดยเก็บปัสสาวะหลังตื่นนอนซึ่งเป็นปัสสาวะใหม่ครับ
และถ้าผลลบแนะนำให้ทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย2-3วัน หรือ1สัปดาห์ครับ (อาจเปลี่ยนยี่ห้อการตรวจครับ) ถ้าไม่ตั้งครรภ์ การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ฮอร์โมนในเลือดผิดปกติ
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
เป็นต้นครับ
แนะนำจดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
และแนะนำให้ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ สำหรับการขาดระดู สิ่งสำคัญคือ การตั้งครรภ์ ครับ
การตั้งครรภ์ (Pregnancy) เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยของภาวะขาดระดู ดังนั้นในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรตรวจ หาการตั้งครรภ์ (Pregnancy test) ก่อนครับ โดยการตรวจ ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะตอนเช้า หลังตื่นนอนเพื่อยืนยันว่าไม่ตั้งครรภ์ครับ สาเหตุอื่นที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาเช่น
1.ความผิดปกติที่ธาลามัส เช่น มีการทำงานของฮอร์โมนบางอย่างทำงานผิดปกติ หรือ เนื้องอก ซึ่งธาลามัสเป็นตัวควรคุม การทำงานของฮอร์โมนต่างๆครับ ถ้าทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อต่อมใต้สมองได้ครับ
2.ความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง เช่น ผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ prolactin มากไป จะทำให้มีน้ำนม เวลามีน้ำนม จะไม่มีประจำเดือน ครับ ซึ่งโรคนี้ต้องไปตรวจกับอายุรแพทย์เพื่อทำการ x ray คอมพิวเตอร์ สมองครับ
3.ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ จะมีประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง เพราะว่าในบ้างเดือนไข่ก็จะไม่ตก กลายเป็นถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิงโรคนี้จะตรวจต้องไปตรวจกับ สูตินารีแพทย์ ครับ
4.ความผิดปกติที่ฮอร์โมนจากร่างกายตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ต่ำ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำไป สูงไป ก็จะทำให้ ประจำเดือนไม่มาได้ครับ เป็นต้นครับ
5.ความเครียด และ น้ำหนักตัวที่มากอาจจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้ครับ
เพราะฉะนั้นแนะนำให้ไปโรงพยาบาลตรวจหาโรคเพิ่มเติมดีกว่าครับ การที่ประจำเดือนไม่มามีหลายสาเหตุมากครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณหมอค่ะคือประจำเดือนของดิฉันไม่มา1เดือนแล้วค่ะแล้วนี่ก็ขึ้นเดือนใหม่แล้วปกติกประจำเดือนจะมาช่วงเกือบปลายๆเดือนค่ะแต่เดือนที่แล้วไม่มาเลยดิฉันมีอาการท้องป่องนิดหน่อยค่ะปัสสาวะบ่อยค่ะตอนกลางคืนต้องออกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืนเลยค่ะมีอาการเพรียง่ายปวดท้องเสียวท้องบ่อยปวดหลังบ่อยค่ะอารมณ์แปรปรวนมากๆเลยค่ะอยากจะทราบว่าท้องไหมแล้วเพิ่งมีเพศสัมพันธ์กับแฟนไปถ้าซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจเองจะเห็นผลเลยไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)