January 25, 2017 14:04
![](https://static.hd.co.th/450x300/webp/system/image_attachments/images/000/026/582/original/photo_1568007385823.jpeg)
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่มียา หรือ อาหารใดๆ ที่จะบำรุงไต ให้ไตแข็งแรง
ควรทราบสาเหตุ ที่ทำให้หน้าที่ไตเสื่อมลง หรือ ไตวาย เพื่อจะได้หลีกเลี่ยง หรือ ดูแลรักษาได้ถูกต้อง เมื้อเป็นขึ้นมา
ไตวายเฉียบพลัน อาจเกิดจากเซลล์ไตสูญเสียการทำงาน จากไตขาดเลือด หรือจากเกิดโรคต่อเซลล์ของไตโดยตรง หรือเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้ไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้
-การขาดเลือดของไต เช่น จากภาวะเลือดออกรุนแรงของอวัยวะต่างๆ เช่น จากอุบัติเหตุ จากภาวะขาดน้ำรุนแรง เช่น กินยาขับน้ำ หรือท้องเสียรุนแรง จากภาวะหัวใจล้มเหลว จากความดันโลหิตต่ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) การแพ้ยา แพ้อาหาร จากภาวะตับวาย จากภาวะช็อก และจากภาวะเลือดข้นผิดปกติ เช่น โรคมีเม็ดเลือดแดงสูง
-โรคของเซลล์ไตโดยตรง เช่น จากการอักเสบรุนแรงของเซลล์ไตในโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง การได้รับสารพิษบางชนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือการกินยาเกินขนาด เช่น ยา พาราเซตามอล (Paracetamol) การติดเชื้อรุนแรงของไต หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ลุกลามเข้าไต และรวมถึงภาวะร่างกายต้านไตใหม่จากการปลูกถ่ายไต (Graft rejection)
-การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากโรค นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และจากการอุดตันของท่อปัสสาวะ เช่น จาก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ลุกลามเข้าท่อปัสสาวะ เป็นต้น
ไตวายเรื้อรัง สาเหตุของไตวายเรื้อรัง คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และจากโรคทางพันธุกรรมของไตที่พบได้น้อย เช่น โรคมีถุงน้ำมากมายในไต (Polycystic kidney disease)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทำยังไงให้ไตแข็งแรง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)