กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

Latex Allergy (แพ้ยาง)

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการแพ้ยาง (Latex Allergy) คือ ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้หลังจากสัมผัสยาง โดยอาจแสดงอาการแพ้ทันที หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ อาการแพ้ยางเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้ยางรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
  • น้ำยางธรรมชาติไม่ใช่สิ่งเดียวกับยางสังเคราะห์ที่ผลิตจากสารเคมี ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ เช่น สีพลาสติกที่ใช้ในบ้าน ดังนั้นจึงไม่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ
  • อาการแพ้ยางมักแสดงออกทางผิวหนังเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับโปรตีนของยางโดยตรง เช่น ขณะสวมถุงมือยาง
    อาการแพ้ยางที่เกิดขึ้นทันทีหลังสัมผัสคือ จะมีอาการคัน แดง และบวม บริเวณผิวหนังที่สัมผัสวัตถุที่มีส่วนประกอบของน้ำยาง 
  • การแพ้ยางที่มีอาการรุนแรงที่สุดคือ เกิดปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงหลายระบบในร่างกายหลังสัมผัสยาง หรือสูดหายใจเอาโปรตีนของยางเข้าไปทันที หรือภายในไม่กี่นาที อาการรุนแรงได้แก่ อาการหอบหืด หายใจมีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

อาการแพ้ยาง (Latex Allergy) คือ ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้หลังจากสัมผัสยาง โดยอาจแสดงอาการแพ้ทันที หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงก็ได้

อาการแพ้ยางเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้ยางรุนแรง ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิต จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากรู้ตัวว่า มีอาการแพ้ยางก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ เพื่อป้องกันอาการแพ้กำเริบ โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการแพ้ยางได้ที่บทความนี้

รู้จักกับน้ำยางจากธรรมชาติ

ก่อนที่จะไปศึกษาเกี่ยวกับอาการแพ้ยาง คุณควรรู้จักน้ำยางธรรมชาติเสียก่อน เพราะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้ยางนั่นเอง

น้ำยางธรรมชาติคือ น้ำยางที่ได้จากต้นยาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hevea brasiliensis พบได้ในประเทศแถบแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปฏิกิริยาภูมิแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำยางจะเกิดขึ้นในผู้แพ้โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยางธรรมชาติ

สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำยางธรรมชาติ

อย่าสับสนว่า น้ำยางธรรมชาติคือ สิ่งเดียวกับยางสังเคราะห์ที่ผลิตจากสารเคมี

ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ เช่น สีพลาสติกที่ใช้ในบ้าน (Latex house paints) ไม่ได้ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ จึงไม่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่มีอาการแพ้ยางจึงมักถูกแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์แทนนั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ

น้ำยางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอุปกรณ์ทางการแพทย์และทันตกรรมจำนวนมาก เช่น

  • ถุงมือยางใช้แล้วทิ้ง
  • แผ่นยางอนามัย
  • ท่อช่วยหายใจและสายน้ำเกลือ
  • กระบอกฉีดยา
  • หูฟังสำหรับตรวจโรคของแพทย์และพยาบาล
  • ท่อสวนเข้าร่างกาย
  • ผ้าพันแผล

นอกจากนั้นยังพบน้ำยางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันจำนวนมาก เช่น

  • ถุงยางอนามัย
  • กระเป๋าถือ
  • ลูกโป่ง
  • รองเท้ากีฬา
  • ยางรถยนต์
  • เครื่องมือต่างๆ
  • ชุดชั้นใน
  • สายรัดข้อมือที่ทำจากยาง (waistbands)
  • ของเล่นที่เป็นยาง
  • ขวดนม หรือจุกนม

หากมีอาการแพ้ยางจะต้องศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานอยู่ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่า มีอาการแพ้ยางเพื่อให้แพทย์เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่ทำจากยางสังเคราะห์แทน เพราะเมื่อสัมผัสยางโดยตรงอาจเกิดอาการแพ้ขึ้นได้

อาการแพ้ยางเป็นอย่างไร?

อาการแพ้ยางมักแสดงออกทางระบบผิวหนัง จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับโปรตีนของยางโดยตรง เช่น ขณะสวมถุงมือยาง

อาการแพ้ยางจะเกิดขึ้นทันทีหลังสัมผัส คือ ผู้ป่วยจะมีอาการคัน แดง และบวม บริเวณผิวหนังที่สัมผัสวัตถุที่มีส่วนประกอบของน้ำยาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่ปัจจุบันการแพ้ชนิดนี้พบได้ลดลง เพราะโรงพยาบาล และคลินิกหลายๆ แห่ง เริ่มเปลี่ยนมาใช้ถุงมือที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำยาง หรือถุงมือที่มีโปรตีนจากยางในปริมาณน้อยมากขึ้น

อาการแพ้ที่ผิวหนังชนิดที่สอง เรียกว่า “ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)” ซึ่งอาจเกิดจากสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง

อาการอักเสบของผิวหนังจะแสดงให้เห็นเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) และตุ่มน้ำพุพองที่ด้านหลังของมือ ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 1-3 วันหลังจากสวมถุงมือยางนั้น

อย่างไรก็ตาม การสัมผัสโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำยางอาจไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดอาการแพ้ทุกครั้ง

เมื่อเกิดอาการแพ้ยางรุนแรงต้องทำอย่างไร?

การแพ้ยางที่มีอาการรุนแรงที่สุด คือ ผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงหลายระบบในร่างกาย (Anaphylaxis) หลังสัมผัสยาง หรือสูดหายใจเอาโปรตีนของยางเข้าไปทันที หรือภายในไม่กี่นาที

อาการแพ้ยางรุนแรง เช่น

  • ผื่นคัน ผื่นลมพิษ
  • คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล
  • เกิดอาการหอบหืด หายใจมีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก

ร่วมกับมีอาการหายใจลำบาก และ/หรือมีความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง จนเกิดภาวะช็อกจากการแพ้รุนแรง

อาการแพ้รุนแรงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิต เมื่อเกิดอาการจะต้องฉีดยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) ทันที และให้รีบส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาง

  • บุคลากรทางการแพทย์ หรือใครก็ตามที่ต้องสวมถุงมือยางเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดหลายๆ ครั้ง หรือตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไป เช่น เด็กที่มีภาวะ spina bifida
  • ผู้ที่สัมผัสกับน้ำยางธรรมชาติบ่อยๆ เช่น พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมยาง
  • ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อื่นๆ เช่น เป็นโรคไข้ละอองฟาง (จมูกอักเสบจากภูมิแพ้) หรือแพ้อาหารบางชนิด

วิธีการวินิจฉัยอาการการแพ้ยาง

การแพ้ยางสามารถวินิจฉัยได้โดยการเจาะเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปริมาณแอนติบอดี้ต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด (Serum Specific IgE) เป็นวิธีที่ไม่อันตราย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกาย

การรักษาอาการแพ้ยาง

  • วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของยาง
  • ถ้ามีอาการแพ้ยางอย่างรุนแรง ควรพกบัตรประจำตัวว่า มีอาการแพ้ยาง และพกยาฉีดอีพิเนฟรินติดตัวเสมอ (สั่งโดยแพทย์)
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประวัติแพ้ยางและจำเป็นต้องสวมถุงมือ ควรหลีกเลี่ยงการสวมถุงมือที่ทำจากยาง และผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมด้วยก็ไม่ควรสวมถุงมือยางเช่นกัน ให้เปลี่ยนไปใช้ถุงมือสังเคราะห์แทน
  • ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยางจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหอบหืดได้เมื่อต้องสัมผัสกับยาพ่นที่มีส่วนประกอบของยาง และควรพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแป้งบนถุงมือยาง หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำยางชนิดอื่น

วิธีป้องกันอาการแพ้ยาง

  • หากมีอาการแพ้ยาง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ทุกชนิด ที่มีส่วนประกอบของยาง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ด้วย
  • อาการแพ้ยางอาจเกิดขึ้นระหว่างการทำฟัน หรือการรักษาโดยแพทย์ หรือการผ่าตัด ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบก่อนว่า คุณมีอาการแพ้ยาง
  • ผู้ที่แพ้ยางสามารถรับบริการทางการแพทย์ หรือทันตกรรมได้โดยใช้เวชภัณฑ์ที่ปลอดยาง
  • โรงพยาบาลและคลินิกในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ถุงมือที่ทำจากยางสังเคราะห์ซึ่งพบว่า มีผู้ป่วยใหม่ที่แพ้ยางลดลงอย่างมาก
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้สามารถให้ข้อมูลกับคุณ และช่วยบอกคุณได้ว่า มีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีส่วนประกอบของยาง

Q&A

มีอาหารที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยแพ้ยางหรือไม่

คำตอบ: ถ้าคุณมีประวัติการแพ้ยาง คุณอาจแพ้อาหารบางชนิดด้วย โดยอาหารที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวที่พบได้บ่อย คือ แอปเปิ้ล อะโวคาโด กล้วย แครอท ผักชีฝรั่ง เกาลัด กีวี เมลอน มะละกอ มันฝรั่งดิบ และมะเขือเทศ

อาการแพ้และภาวะแพ้บางอย่างอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับสิ่งต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหากไม่แน่ใจ และมีอาการแพ้บ่อยสามารถไปตรวจหาภาวะภูมิแพ้ตามโรงพยาบาล หรือคลินิกชั้นนำ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stephanie S. Gardner, MD, Are You Allergic to Latex? (https://www.webmd.com/allergies/latex-allergies),14 June 2020.
National Center for Biotechnology Information, Latex Allergy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK545164/), 14 June 2020.
Cleveland Clinic Center for Continuing Education, Latex Allergy (http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/allergy/latex-allergy/), 14 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการแพ้ยาคุมเป็นยังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แพ้ยาคลายเส้น(ปวดหลัง)...บวมแลัผื่นขึ้นทำไงหายเร็ว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
Hydroquinone ที่อยู่ในครีมรักษาฝ้ามีผลเสียยังไงบ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทานยาแล้วขึ้นผื่นแสดงว่าแพ้ยาใช่ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)