April 21, 2017 14:56
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
เข้าใจว่าคงกล่าวถึงโรคไตเสื่อมเรื้อรัง
อันดับแรก ต้องควบคุมความดันโลหิต และน้ำตาลเบาหวานให้มีค่าปกติ ครับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชีวิตร่วมด้วย ได้แก่
1.ลดอาหารจำพวกโปรตีน เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ส่วนต้องลดปริมาณเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคครับ
2.ลดอาหารเค็ม และลดอาหารไขมัน
3.หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโปรแตสเซี่ยมสูง พวกผัก เช่นคะน้า กะหล่ำ มันฝรั่ง มันเทศเห็ด พวกผลไม้ เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง น้ำส้ม เป็นต้น
4.ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และระมัดระวังในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดน้ำ
5.ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย และจิตใจให้ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดระดับไขมันในร่างกาย แต่ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาะและช่วงวัย ยิ่งเฉพาะคนที่มีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
6.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกแฮอล์ และงดการสูบบุหรี่
7.พักผ่อนอย่างเพียงพอ
8.หลีกเลี่ยง ยา หรือสารต่างๆที่เป็นอันตรายต่อไต เช่นกลุ่มยาแก้ปวด ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอนต่างๆ
จะเห็นได้ว่าหลักการชะลอไตเสื่อมคือการควบคุมโรคประจำตัวให้ได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีโภชนาการอย่างเหมาะสมสำหรับคนเป็นโรคไต เท่านี้ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ครับ นอกจากนี้ก็เป็นการ ไปตรวจเลือดกับแพทย์เป็นระยะ เพื่อดูค่าเกลือแร่หรือค่าโลหิต เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอันตรายต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
หลักการสำคัญในการชะลอการเสื่อมของไตนะคะ่ ได้แก่
1. ความดันโลหิต ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติ คือ ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงๆ ต่ำๆ ไม่คงที่ ส่งผลต่อไตอย่างมาก ทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ ที่สำคัญคืออย่าละเลย ไม่กินยาลดความดันโลหิตเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องและมีผลเสียต่อไตเป็นอย่างมาก
2. การควบคุมระดับน้ำตาล เฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานและไตเริ่มเสื่อมจากเบาหวานควรต้องระวังระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันการทำลายไต รวมทั้งการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และตา
3. การควบคุมอาหาร มีความจำเป็นต่อการชะลอการเสื่อมของไตอย่างมาก แบ่งเป็น
3.1 อาหารโปรตีน ในผู้ป่วยที่ไตมีการทำหน้าที่น้อยลง มีการคั่งของสารยูเรีย ไนโตรเจนและของเสียอื่นๆ จำเป็นต้องลดอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เพื่อไม่ให้ของเสียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูง คือ เนื้อปลา แต่ยังสามารถรับประทานอาหารประเภทเนื้อไก่ และเนื้อหมูได้เพียงแต่ลดลง
3.2 อาหารเค็ม สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และอาหารบวม ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มทุกชนิด รวมทั้งอาหารหมักดอง ซอสต่างๆ ซุปก้อน ผงชูรส เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว น้ำปลา และอาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวซึ่งจะมีเครื่องปรุงที่มีรสเค็ม ทำให้อาการบวมไม่ลดลงและควบคุมความดันโลหิตยาก
3.3 น้ำดื่ม โดยทั่วไปสามารถดื่มน้ำได้ตามความต้องการไม่มากและไม่น้อย โดยดูน้ำหนักตัวถ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับอาการบวมควนลดปริมาณน้ำดื่มและควรปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ
3.4 อาหารไขมันรับประทานได้พอประมาณ โดยดูระดับไขมันในเลือด หากควบคุมอาหารประเภทไขมันอย่างเต็มที่แล้ว ยังมีระดับไขมันสูงอาจต้องใช้ยาลดไขมันภายใต้การดูแลของแพทย์ อาหารประเภทไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กะทิ เนื้อติดมัน ของทอด ไข่แดง ปลาหมึก อาหารทะเล เป็นต้น ซึ่งถ้าไขมันในเลือดสูงมากทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัวเป็นผลเสียต่อไต
4. การสูบบุหรี่ ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่า มีผลต่อการทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นผู้หน้าที่ไตไม่ค่อยดีจึงควรงดสูบบุหรี่
5. การใช้ยาที่เป็นผลเสียต่อไต ยาบางชนิดทำให้ไตเสื่อมเร็วหรือเป็นผลเสียต่อไต หากใช้ขนาดสูงหรือนานเกินไป เช่นยาแก้ปวดข้อ ปวดหลังทั้งชนิดรับประทานและแบบฉีด รวมทั้งยาสมุนไพร ยาจากรากไม้ ที่ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับออกได้เช่นคนปกติ ได้แก่ สารโพแทสเซียม ซึ่งจะมีมากในรากไม้ ผลไม้ สมุนไพร พืช ผู้ป่วยที่มีระดับโพแทสเซียมสูงอยู่แล้วอาจเกิดอันตรายทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ตัวอย่างสารอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ขนุน ทุเรียน ลำไย แต่ผู้ที่ระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติหรือต่ำก็ยังคงรับประทานผลไม้ได้
6. ภาวะซีด มีรายงานการศึกษาพบว่า ถ้ารักษาภาวะซีดให้ดี จะทำให้ไตเสื่อมช้าลงได้
7. ภาวะฟอสเฟตในเลือด ผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่มักมีระดับฟอสเฟสในเลือดสูง เนื่องจากการขับทางไตลดลง สารฟอสเฟสมีมากในถั่วทุกประเภท นม โยเกิร์ต เค้กและพาย น้ำเต้าหู้ โกโก้ กาแฟ พิชซ่า ช็อคโกแลต น้ำอัดลมที่มีสีดำ และเนยแข็ง
8. ภาวะติดเชื้อ ในระบบต่างๆ ของร่างกายมีผลกระทบต่อไตได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ถ้ามีอาการไข้หรือปัสสาวะผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจ
9. การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะมีประโยชน์และจำเป็น บางครั้งปัสสาวะออกมากเกินไปก็เป็นผลเสีย เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือ จนกระทบการทำงานของไต
10. การออกกำลังกาย ผู้เป็นโรคไตสามารถออกกำลังกายได้ ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่รุนแรง และไม่เหนื่อยจนเกินไป เช่น การเดิน การบริหารร่างกายชนิดอยู่กับที่ ซึ่งการออกกำลังกายจะช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น โดยปรึกษาแพทย์ประจำตัวเสียก่อนค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คนเป็นโรคไตต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง.
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)