กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ชีพจรขณะพักคืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ชีพจรปกติ คือจำนวนครั้งการเต้นของหัวใจใน 1 นาทีขณะพัก ถ้าค่าชีพจรขณะพักต่ำ หมายถึงหัวใจแข็งแรงเพราะการสูบฉีดเลือดแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพ หากหัวใจไม่แข็งแรงจะต้องบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายปริมาณเท่าเดิม
  • การวัดชีพจรขณะพัก ควรวัดตอนเช้าหลังตื่นนอนก่อนลุกจากเตียง โดยคลำชีพจรเป็นเวลา 60 วินาที ทั้งหมด 3 ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย ก็จะได้ค่าชีพจรขณะพักโดยประมาณ ค่าปกติของวัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที
  • หญิงตั้งครรภ์มักมีค่าชีพจรขณะพักสูงกว่าปกติ เช่น ก่อนตั้งครรภ์มีค่าชีพจรขณะพักอยู่ที่ 70 ครั้ง/นาที แต่เมื่อตั้งครรภ์ก็อาจมีค่าชีพจรขณะพักสูงขึ้นประมาณ 80-90 ครั้ง/นาที
  • ชีพจรขณะพักมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันแรกหลังการออกกำลังกายหนัก เช่น การวิ่ง 10 กม. ดังนั้น อาจจำเป็นต้องเว้นช่วงการออกกำลังกายอย่างหนักจนกว่าชีพจรขณะพักกลับมาสู่ค่าปกติ หรือออกกำลังกายเบาลงก่อน
  • ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจได้ที่นี่

ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ เป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยภาวะเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มค่าสัญญาณชีพ (Vital signs) โดยค่าที่บ่งชี้การมีชีวิตอยู่จะประกอบด้วย 4 ค่า ได้แก่ ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) อุณหภูมิ การหายใจ และความดันโลหิต

ชีพจรนั้นจะสะท้อนถึงการทำงานของหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือด เพราะค่าชีพจรจะวัดจากการขยายตัวและหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นจังหวะตามคลื่นความดันที่มาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่หัวใจเต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยการวัดชีพจรจะวัดจากจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจใน 1 นาที ซึ่งในทุกๆ ครั้งที่หัวใจเต้น หมายถึง หัวใจได้ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายนั่นเอง

ทำความรู้จักชีพจรขณะพักหรือชีพจรปกติ

ชีพจรขณะพักหรือชีพจรปกติ คือจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจใน 1 นาทีขณะพักเต็มที่ (ไม่ได้ออกกำลัง) 

ค่าชีพจรขณะพักต่ำ หมายถึง สุขภาพหัวใจแข็งแรง เพราะการที่มีชีพจรต่ำแสดงถึงกล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจในแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมาก ไม่จำเป็นต้องสูบฉีดเลือดบ่อย

แต่ถ้าหากกล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ร่างกายจะต้องการการบีบตัวที่เร็วขึ้นเพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายในปริมาณเท่าเดิม ส่งผลให้มีค่าชีพจรขณะพักสูงขึ้นนั่นเอง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับชีพจร

  • หน่วยของชีพจรเป็น ครั้ง/นาที
  • ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถมีชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที โดยนักกีฬาที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถมีชีพจรต่ำได้ถึง 40 ครั้ง/นาที
  • บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดีจะมีชีพจรขณะพักอยู่ที่ 60-80 ครั้ง/นาที
  • ค่าเฉลี่ยของชีพจรขณะพักอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที
  • ชีพจรขณะพักอาจถูกกระทบด้วยยาบางชนิด เช่น ยาเบตาบล็อกเกอร์ (Beta blockers) ที่ทำให้ผู้รับประทานมีชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที
  • การมีชีพจรที่สูงขึ้นเป็นตัวบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางด้านหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น
  • ภาวะที่มีชีพจรเต้นช้าในกลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรงจะแสดงอาการวิงเวียน หรือหายใจเหนื่อย หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์

การวัดชีพจรขณะพัก

คุณควรวัดชีพจรขณะพักในตอนเช้าหลังตื่นนอนก่อนลุกจากเตียง วิธีง่ายๆ คือ คลำชีพจรเป็นเวลา 60 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ยก็จะได้ค่าชีพจรขณะพักโดยประมาณ

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่สามารถวัดชีพจรได้ เช่น เครื่องวัดชีพจรรูปแบบสายรัดข้อมือ หรือนาฬิกาสมัยใหม่บางชนิดที่ใช้ LED sensor ในการวัดชีพจร ซึ่งจะสามารถบอกได้ทั้งชีพจรขณะพักและชีพจรในเวลาที่คุณต้องการ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หรือใช้แอปพลิเคชันวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Instant heart rate) โดยอะซูมิโอะ (Azumio) ที่จะใช้แสงแฟลชจากโทรศัพท์มือถือเป็นตัววัดชีพจร

ค่าชีพจรปกติในแต่ละช่วงวัย

  • ทารกแรกเกิด – 1 เดือน ประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที
  • 1-12 เดือน ประมาณ 80-140 ครั้งต่อนาที
  • 12 เดือน – 2 ปี ประมาณ 80-130 ครั้งต่อนาที
  • 2-6 ปี ประมาณ 75-120 ครั้งต่อนาที
  • 6-12 ปี ประมาณ 75-110 ครั้งต่อนาที
  • วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที

หากคุณมีค่าชีพจรที่แตกต่างจากนี้ และมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจสั้น วิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืด ควรรีบไปหาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุความผิดปกติ ไม่ควรเพิกเฉย เพราะอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจสอบต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) หรือการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) ซึ่งคุณสามารถไปตรวจได้ที่โรงพยาบาลที่มีศูนย์ดูแลหัวใจให้บริการ

หากคุณกำลังมองหาโรงพยาบาลเพื่อตรวจหัวใจ หรือตรวจสุขภาพประจำปี สามารถเปรียบเทียบราคาแพ็กเกจได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดคิวตรวจหัวใจได้เลย

ค่าชีพจรขณะพักในหญิงตั้งครรภ์

ปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์จะมีอัตราการสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้น 30-50% จากปกติ ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีค่าชีพจรขณะพักสูงกว่าปกติ เช่น ก่อนตั้งครรภ์มีค่าชีพจรขณะพักอยู่ที่ 70 ครั้ง/นาที แต่เมื่อตั้งครรภ์ก็อาจมีค่าชีพจรขณะพักสูงขึ้นประมาณ 80-90 ครั้ง/นาที ก็ได้

การฟื้นตัวหลังออกกำลังกายและการฝึกฝนที่มากเกินไป

นักกีฬามักจะมีการติดตามชีพจรขณะพักอยู่เสมอ เพื่อดูว่าพวกเขากลับสู่สถานะปกติแล้วหรือยัง การที่มีชีพจรขณะพักอยู่ในค่าสูงอาจเป็นหนึ่งในอาการของการฝึกฝนที่มากเกินไป

โดยชีพจรขณะพักมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันแรกหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การวิ่งระยะ 10 กิโลเมตร หรือการวิ่งมาราธอนระยะสั้น (Half marathon) ดังนั้น คุณอาจจำเป็นต้องเว้นช่วงการออกกำลังกายอย่างหนักจนกว่าชีพจรขณะพักกลับมาสู่ค่าปกติ หรือเลือกออกกำลังกายที่มีความหนักน้อยลงไปก่อน

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Matthew Solan, Your resting heart rate can reflect your current — and future — health (https://www.health.harvard.edu/blog/resting-heart-rate-can-reflect-current-future-health-201606179806), 6 February 2019
Markus MacGill, What should my heart rate be? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/235710.php), 15 November 2017
นายแพทย์วีระ เยาวพฤกษ์, ชีพจร (https://www.scimath.org/article-biology/item/334-pulse), 04 มิถุนายน 2553.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม