January 26, 2017 16:37
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
อาการหน้ามืด วิงเวียน หรือ dizziness นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยหลักๆคือ ภาวะความดันต่ำ ภาวะความดันสูง โรคเบาหวานหรือกลุ่มอาการเมตาบอลิก และโรคบ้านหมุน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกายลดลงร่วมกับการออกกำลังกายลดลงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง ไขมันสะสมในหลอดเลือด และนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้ ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อย ควรจะต้องไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจระดับน้ำตาล เกลือแร่ ไขมันในเลือด วัดเส้นรอบพุง ตรวจวัดความดันท่านั่งท่านอน ตรวจสายตาและการมองเห็น ด้วยคะ อย่างไรก็ตามภาวะเครียด หรือการทำงานที่ไม่ได้เปลี่ยนอริยาบท นั่งนานจ้องคอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดความตึงตัวกล้ามเนื้อคอและหลัง รวมทั้งกล้ามเนื้อตาล้า จนทำให้มีอาการคล้ายตาลายวิงเวียนได้เช่นกัน ลองแก้ไขด้วยการเปลี่ยนอริยาบท และออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวานจัด เค็มจัด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
Witchuda Onmee (พญ.)
จากอายุ 36 ปี ถือว่ายังไม่มากนะคะ เป็นช่วงวัยกลางคน การมีอาการหน้ามืดเวียนศรีษะนั้น ส่วนมากมักเกิดจากการมีภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากการเสื่อมของหูชั้นกลาง อาการนี้สามารถหายได้หากพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย หากมีอาการเวียนศรีษะมากๆก็สามารถไปฉีดยาได้ แต่สาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เวียนศรีษะได้นั้น คือ ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ควรตรวจสุขภาพประจำปีค่ะ แต่จากอาชีพของผู้ป่วยหากต้องจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เวียนศรีษะได้ค่ะ ควรพักสายตาโดยการมองไปที่ไกลๆเป็นพักๆค่ะจะช่วยให้ไม่เมื่อยสายตาได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อายุเข้า 36 ในปีนี้ ทำงานบริษัท ปีนี้เวียนหัวและหน้ามืดบ่อยมาก เป็นเพราะอายุที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)