January 25, 2017 15:19
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
คุณน่าจะมีอาการมาจาก ความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension)
ทำให้มีอาการ เวียนศีรษะได้ บางคนมีใจสั่นด้วย
การเปลี่ยนท่าร่างที่ฝืนแรงโน้มถ่วง เช่นจากนั่งเป็นยืน จากก้มเป็นเงย ทำให้มีอาการใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ เพราะเมื่อขยับในลักษณะดังกล่าวเร็วๆ แรงดันจากหัวใจจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง จนบางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด ทำให้หัวใจปรับตัวโดยเต้นเร็วขึ้นและแรงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการปรับตัวของระบบหัวใจหลอดเลือดตามปกติ เรียกภาวะเช่นนี้ว่าความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension)
การป้องกันไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นทำได้สี่อย่าง คือ
(1) เรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวในแนวดิ่งแบบช้าๆไม่วูบวาบ
(2) ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (aerobic) วันละไม่น้อยกว่า 30 นาทีทุกวัน เพราะคนที่เป็น orthostatic hypotension ส่วนใหญ่มีระบบไหลเวียนเลือดที่อ่อนแอและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้น้อย การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้ระบบแข็งแรงขึ้น
(3) ฝึกนิสัยดื่มน้ำมากเป็นอาจินต์ วันหนึ่งดื่มให้ได้ 2-3 ลิตร โดยตั้งน้ำไว้ทุกหนทุกแห่งที่หยิบดื่มได้ง่ายๆไม่ต้องรอไปเอาจากตู้เย็น คนที่หน้ามืดหรือใจสั่นเวลาเคลื่อนไหวร่างกายมักอยู่ในภาวะขาดน้ำ (dehydration) การดื่มน้ำมากนี้ยังมีผลดีต่อการทำงานของอวัยวะอื่นนอกจากหัวใจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไต
(4) ในกรณีเป็นผู้หญิงวัยสาว อาการใจสั่นหน้ามืดมักมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมอยู่ด้วย เพราะเหล็กจำนวนหนึ่งเสียไปพร้อมกับประจำเดือน ปัญหามักรุนแรงยิ่งขึ้นกรณีเป็นผู้รักษารูปทรงให้ผอมไว้ตลอด วิธีแก้คือต้องหมั่นรับประทานอาหารโปรตีน (เนื้อ นม ไข่) ให้พอเพียงที่ร่างกายจะนำไปสร้างเม็ดเลือดทดแทน
http://visitdrsant.blogspot.com/2010/09/orthostatic-hypotension.html
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เวียนหัวบ่อยมากทุกครั้งที่เปลี่ยนท่าทางจะหน้ามืดเป็นเพราะอะไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)