ยากลุ่ม anticholinergic

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยากลุ่ม anticholinergic

ยากลุ่ม anticholinergic นั้นเป็นยาที่ยับยั้งการทำงานของ acetylcholine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ที่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย

ยาในกลุ่ม anticholinergic นั้นสามารถรักษาได้หลายโรคเช่นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และการได้รับสารพิษบางชนิด นอกจากนั้นยังสามารถยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งเกิดจากโรคบางโรค และอาจจะมีการใช้ก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายในระหว่างที่ดมยาสลบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  • trihexyphenidyl (Artane)
  • benztropine mesylate (Cogentin)
  • ipratropium (Atrovent)
  • tiotropium (Spiriva)
  • orphenadrine (Norflex)
  • atropine
  • flavoxate (Urispas)
  • oxybutynin (Ditropan, Oxytrol)
  • scopolamine
  • hyoscyamine (Levsinex)
  • tolterodine (Detrol)
  • belladonna alkaloids
  • fesoterodine (Toviaz)
  • solifenacin (Vesicare)
  • darifenacin (Enablex)
  • propantheline (Pro-banthine)

ยาแต่ละตัวนั้นจะออกฤทธิ์ที่จำเพาะต่อแต่ละโรค ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกยาที่เหมาะสมต่ออาการของคุณ

กลไกการทำงานของยาในกลุ่มนี้

ยากลุ่ม anticholinergic นั้นจะยับยั้งไม่ให้สาร acetylcholine นั้นจับกับตัวรับที่เซลล์ประสาทปลายทาง และยับยั้งการส่งสัญญาณประสาทของระบบประสาทอัตโนวัติ parasympathetic ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมไม่ได้เช่นในทางเดินอาหาร ปอด ระบบขับถ่าย และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สัญญาณประสาทเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายเช่นการสร้างน้ำลาย การย่อยอาหาร การปัสสาวะและการหลั่งมูก

การยับยั้งสัญญาณ acetylcholine นั้นจะลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ การย่อยอาหาร และการสร้างเมือก หากรับประทานยาในกลุ่มนี้อาจจะมีอาการปัสสาวะได้ไม่หมดหรือปากแห้งได้

การใช้ยา

ยากลุ่มนี้มีการใช้เพื่อรักษาหลายโรค เช่น

  • ความผิดปกติในทางเดินอาหารเช่นท้องเสีย กระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป และการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • โรคหอบหืด
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • เวียนศีรษะและเมายานพาหนะ
  • การได้รับสารพิษเช่น organophosphate หรือ muscarine ซึ่งอาจจะพบในยากำจัดแมลงและเห็ดที่มีพิษ
  • อาการของโรคพาร์กินสันเช่นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ควบคุมไม่ได้

นอกจากนั้นยังมีการใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อในระหว่างการผ่าตัดเพื่อช่วยในการดมยาสลบ ยานี้จะทำให้การเต้นของหัวใจนั้นเป็นปกติ ทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและลดการผลิตน้ำลาย

แพทย์บางคนอาจจะมีการนำยากลุ่มนี้มาใช้เพื่อลดเหงื่อ เช่นยา glycopyrrolate ในรูปแบบครีมและ oxybutynin แบบเม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำเตือนของการใช้ยา

ลมแดด

ยาในกลุ่มนี้จะลดปริมาณเหงื่อซึ่งอาจจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นได้ ดังนั้นควรระหว่างอย่าให้ร่างกายนั้นร้อนมากเกินไปในระหว่างที่ออกกำลังกาย แช่น้ำร้อนหรืออยู่ในอากาศร้อน เพราะการที่เหงื่อออกน้อยนั้นจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด

การใช้ยาเกินขนาดและแอลกอฮอล์

การใช้ยาในกลุ่มนี้มากเกินไปอาจจะทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งอาจจะเกิดได้เช่นกันหากรับประทานร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณหรือคนที่คุณรู้จักนั้นอาจจะได้รับยาในปริมาณที่มากเกินไป อาการของการได้ยามากเกินไปประกอบด้วย

  • มึนศีรษะ
  • ง่วงนอนอย่างรุนแรง
  • มีไข้
  • เป็นภาพหลอนที่รุนแรง
  • สับสน
  • มีปัญหาในการหายใจ
  • ซุ่มซ่ามและพูดยานคาง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ตัวแดงและอุ่น

ยาในกลุ่มนี้มีการใช้รักษาในหลายๆ โรคแต่ก็ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย โดยมักจะไม่ใช้ในผู้สูงอายุเนื่องจากพบว่าอาจทำให้เกิดอาการสับสน สูญเสียความจำและการทำงานของจิตใจแย่ลงได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

นอกจากนั้นยังไม่ควรใช้ยาในผู้ที่เป็นโรคต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณมีโรคต่อไปนี้ควรแจ้งแพทย์เสมอ รวมถึงประวัติแพ้ยาในกลุ่มนี้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ถึงแม้ว่าจะใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมแต่ก็สามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ขึ้นกับชนิดและขนาดของยาที่รับประทาน หรือคุณอาจจะไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเลยก็ได้

ตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่น

  • ปากแห้ง
  • มองไม่ชัด
  • ท้องผูก
  • ง่วงนอน
  • ซึม
  • เห็นภาพหลอน
  • ส่งผลต่อความจำ
  • ปัสสาวะลำบาก
  • สับสน
  • เหงื่อออกลดลง
  • น้ำลายลดลง

สรุป

ยาในกลุ่มนี้มีประโยชน์ในผู้ป่วยหลายกลุ่ม ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากคุณคิดว่ายาในกลุ่มนี้อาจจะช่วยคุณได้ แพทย์จะเป็นคนเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด และสามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anticholinergic Drugs in Geriatric Psychopharmacology. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6908498/)
Anticholinergic drugs linked with dementia. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/anticholinergic-drugs-linked-with-dementia)
Common anticholinergic drugs like Benadryl linked to increased dementia risk. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/common-anticholinergic-drugs-like-benadryl-linked-increased-dementia-risk-201501287667)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป