6 วิตามินจำเป็นที่เราควรทานหลังอายุ 40 ปี

รวมวิตามินที่คนอายุ 40 ปีขึ้นไปควรกินเพื่อบำรุงร่างกาย ชะลอความเสื่อมตามวัย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
6 วิตามินจำเป็นที่เราควรทานหลังอายุ 40 ปี

เมื่อสู่ช่วงวัย 40 ขึ้นไป จนกระทั่งถึงวัยทอง หลายคนมักหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้น ทำให้คนวัยนี้ต้องเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นเพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย หนึ่งในสารอาการที่จำเป็นมากที่สุดของผู้สูงวัยก็คือ วิตามิน นั่นเอง

ทำไมคนวัย 40 ต้องบำรุงร่างกายด้วยวิตามิน?

เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงประมาณ 40 ปี ร่างกายของคุณอาจไม่ได้ทำงานเหมือนกับคนวัย 20 ปี มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลง น้ำหนักมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยให้คุณยังคงมีสุขภาพดีก็คือ การได้รับวิตามิน และสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งการทานอาหารสดมักจะดีกว่าการทานอาหารเสริม เพราะร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีกว่า แต่หากคุณกำลังอยู่ในช่วงที่ควบคุมการทานอาหารบางชนิด หรือมีปัญหาสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง 

คนวัย 40 ขึ้นไปควรกินวิตามินอะไรบ้าง?

วิตามินที่ร่างกายต้องการสำหรับคนสูงวัย หลักๆ มีด้วยกัน 6 ชนิด ดังต่อไปนี้

1. วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของสมองและโลหิต เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายก็จะดูดซึมวิตามินบี12 ได้น้อยลง โดยเฉพาะเมื่ออายุเข้าเลขห้า เป็นช่วงที่ระดับของกรดในกระเพาะอาหารลดลง 

ช่วงหลังจากที่คุณมีอายุ 40 ปี หรือก่อนเข้าสู่เลขห้า ถือเป็นเวลาอันดีที่คุณจะได้เติมวิตามินบี 12 จากอาหารเสริม หรือวิตามินรวม สำหรับปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 2.4 มิลลิกรัม ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลว่าจะทานมากเกินไป เพราะวิตามินชนิดนี้จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินกว่าที่ต้องการ

2. แคลเซียม

แคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาทและหัวใจ 

การบีบตัวของกล้ามเนื้อ และปฏิกิริยาทางเคมีอื่นๆ หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะดึงแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ สำหรับปริมาณของแคลเซียมที่ผู้หญิงที่มีอายุ 40 - 50 ปีขึ้นไปควรได้รับต่อวันคือ 1,000 มิลลิกรัม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากมีอายุมากกว่า 50 ปี ปริมาณของแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 มิลลิกรัม ซึ่งคุณสามารถพบแคลเซียมได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เต้าหู้ ปลาซาร์ดีน บรอกโคลี ถั่วอัลมอนด์ ผักโขม แต่หากคุณเป็นมังสวิรัติหรือแพ้แลคโตสในนม คุณอาจปรึกษาแพทย์เรื่องการทานอาหารเสริม

3. วิตามินดี

วิตามินดีเป็นวิตามินที่สำคัญ โดยเฉพาะหลังจากที่คุณมีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะมันช่วยปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์กับอายุ การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอมีความเชื่อมโยงกับการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้วิตามินดียังจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย

ทั้งนี้คุณสามารถพบวิตามินดีได้ในปลา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดที่มีการเติมวิตามินดี ซีเรียล ฯลฯ แต่โดยทั่วไปแล้ว วิตามินดีที่เราได้รับจากอาหารมักจะดูดซึมได้ไม่ดีเท่าไรนัก ซึ่งแหล่งของวิตามินดีที่ดีที่สุดก็คือ แสงแดด 

แต่หากคุณอยู่ในสถานที่ๆ ไม่มีแสงแดด คุณก็อาจใช้วิธีทานอาหารเสริม ซึ่งการทานวิตามินดี 3 ถือเป็นวิตามินดีที่ใกล้เคียงกับวิตามินดีในแสงแดดมากที่สุด สำหรับปริมาณที่ควรได้รับต่อวันคือ 600IU แต่ถ้ามีอายุ 50 ปีขึ้นไป ปริมาณที่ควรทานต่อวันจะเท่ากับ 800 IU ค่ะ

4. แมคนีเซียม

หน้าที่หลักของธาตุแมคนีเซียมคือ การช่วยควบคุมความดันโลหิต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูง 

การได้รับแมคนีเซียมไม่เพียงพอมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และการอักเสบ ทั้งนี้แมคนีเซียมช่วยร่างกายดูดซึมแคลเซียม และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และหัวใจ รวมถึงมีส่วนช่วยควบคุมน้ำตาลกลูโคสในเลือด  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับปริมาณของแมคนีเซียมที่ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรได้รับต่อวันคือ 320 มิลลิกรัม ซึ่งคุณสามารถพบแมคนีเซียมได้ในผักใบเขียวเข้ม ถั่ว เมล็ดพันธุ์ อะโวคาโด ฯลฯ การได้รับแมคนีเซียมมากเกินไปอาจไม่ได้ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ แต่มันอาจทำให้ท้องเสีย อาเจียน หรือปวดท้องเกร็ง

5. โพแทสเซียม

โพแเทสเซียมเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงหลังวัยทองที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารเพิ่มขึ้นจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลง 

ปริมาณของธาตุโพแทสเซียมที่ถูกจัดว่ามีค่าสูงคือ ประมาณ 3.1 กรัม ซึ่งยังน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน หรือปริมาณ 4.7 กรัม อย่างไรก็ตามการได้รับธาตุโพแทสเซียมมากเกินไปสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อทางเดินอาหารและหัวใจ เราสามารถเติมธาตุโพแทสเซียมให้ร่างกายได้จากอาหารหลายชนิด เช่น กล้วย มันหวาน ถั่วฝัก ถั่วเลนทิล ฯลฯ

6. โอเมก้า - 3

แม้ว่าโอเมก้า - 3 ไม่ใช่วิตามินหรือแร่ธาตุ แต่มันก็สมควรติดอยู่ในโผนี้เช่นกัน เพราะโอเมก้า - 3 มีประโยชน์ด้านสุขภาพ และช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านลบที่เกิดพร้อมกับอายุที่มากขึ้น 

มีงานวิจัยพบว่า โอเมก้า - 3 สามารถช่วยลดความดันโลหิต คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ รวมถึงมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการรักษาความจำ และความคิดที่เฉียบคม 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า คนที่มีกรดไขมันโอเมก้า – 3 ในเลือดสูง มีสมองที่ใหญ่ และทำผลทดสอบที่เกี่ยวกับความจำ วางแผนกิจกรรม และคิดแบบนามธรรมดีขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่มีสารอาหารดังกล่าวต่ำกว่า

เมื่ออายุมากขึ้น เป็นเรื่องปกติที่เราจะมีปัญหาสุขภาพตามมากวนใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทานอาหารให้สมดุล และอย่าลืมทานอาหารที่มีวิตามินตามที่เรากล่าวไป รวมถึงหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ห่างไกลจากโรคร้าย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prevention, 7 essential vitamins you need after age 40, (https://www.prevention.com/health/a20483697/vitamins-you-need-after-age-40/), 21 October 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป