มันแกว (Yam bean)

รู้จักมันแกว ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของมันแกว รวมถึงโทษต่อสุขภาพที่อาจเกิดได้หากใช้มันแกวไม่ถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
มันแกว (Yam bean)

มันแกว เป็นไม้เลื้อย มีใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อ ออกที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน มีขน ในผลมีเมล็ด 4-9 เมล็ด ส่วนที่คนนิยมบริโภคคือหัวใต้ดินที่เกิดจากรากสะสมอาหาร มีลักษณะกลมแป้น เปลือกบาง มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อข้างในสีขาว อวบน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pachyrhizus erosus (L.) Urb.
ชื่อวงศ์ Leguminosae
ชื่อสามัญ Jicama, Yam bean
ชื่ออื่นๆ มันแกว (กลาง), หัวแปะกัวะ (ใต้), มันแกวละแวก มันแกวลาว (เหนือ), มันเพา (อีสาน)

สารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของมันแกว

มันแกวดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้

นอกจากนี้มันแกวยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส

ประโยชน์ของมันแกว

ส่วนต่างๆ ของมันแก้วมีประโยชน์ดังนี้

  • หัวมันแกวสด รับประทานเป็นผลไม้ นำมาทำขนม และนำมาประกอบอาหารได้
  • ฝักและเมล็ดอ่อนของมันแกว สามารถนำมาต้ม หรือรับประทานสดเป็นผักเคียง
  • เมล็ดแก่มันแกว นำมาบด สกัดเป็นยาฆ่าแมลง

สรรพคุณของมันแกว

มันแกวเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

  • หัวมันแกวมีรสหวาน เย็น ช่วยแก้กระหาย บรรเทาอาการปวดศีรษะ ความหวานของมันแกวมาจาก อินูลิน (Inulin) เป็นน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตส (Oligofructose) ซึ่งร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ อินนูลิน ยังสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
  • มันแกวมีใยอาหารสูง ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
  • ใบมันแก้ว สามารถรับประทานเป็นยาขับพยาธิ และใช้ภายนอกสำหรับช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดและน้ำมันเมล็ดมันแกวมีฤทธิ์เป็นยาระบาย และสารสกัดจากเมล็ดมันแกวใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้เช่นกัน

ข้อควรระวังของการใช้มันแกว

แม้จะมีประโยชน์ และการรับประทานมันแกวก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง ดังนี้

  • เมล็ดแก่ของมันแกว มีสารพิษหลายชนิดที่ออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าเเมลง และมีสารโรทโนน (Rotenone) เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นยาระบายที่ออกฤทธิ์รุนแรง
  • ใบมันแกวมีสารพาคีไรซิด (Pachyrrhizid) ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์

พิษของมันแกวจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจ สารโรทโนนทำให้หยุดหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, มันแกว (http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail03.html).
Useful Tropical Plants, Pachyrhizus erosus (L.) Urb. (tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Pachyrhizus+erosus).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)