เคยเป็นไหม? อยู่ๆ ก็รู้สึก “ใจสั่น” ซึ่งอาจเป็นเพราะกำลังตื่นเต้น ยินดี มีความรัก ประหม่า เขินอาย ... แต่รู้ไหมว่า บางครั้งอาการใจสั่นก็เกิดจากความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน
อาการใจสั่น (Palpitation) คือการที่จังหวะการเต้นของหัวใจไม่เป็นปกติ เช่น อาจขาดหายไป ไม่สม่ำเสมอ หรือเร็วและแรงจนผิดสังเกต ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้จากสารพัดสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- มีความเครียด วิตกกังวล
- รู้สึกตื่นเต้น ตื่นตระหนก หรือกลัว
- อยู่ระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดมาก
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
- ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ชนิด Hydralazine ยาพ่น Salbutamol สำหรับรักษาหอบหืด และยาแก้แพ้ Terfenadine รวมถึงยาสมุนไพรบางชนิดด้วย
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีรอบเดือน
- มีความผิดปกติของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse) เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy) หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เป็นต้น
- มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น ระดับเกลือแร่ในเลือดสูงหรือต่ำ มีน้ำตาลในเลือดต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะร่างกายขาดน้ำ และโลหิตจาง เป็นต้น
อาการใจสั่นอันตรายไหม?
อาการใจสั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากมาพร้อมกับอาการเวียนศีรษะ หายใจตื้น หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก และหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน นอกจากนี้ อาการใจสั่นที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาได้ เช่น เป็นลม หมดสติ เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน และหัวใจวาย เนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ
การรักษาอาการใจสั่น
การรักษาอาการใจสั่นต้องเริ่มจากการหาสาเหตุ และรักษาที่ต้นเหตุของอาการ ยกตัวอย่างเช่น
- หากอาการเกิดขึ้นชั่วคราว และมาจากสาเหตุที่แน่นอน ก็ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เป็นต้น
- ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล โดยการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง หรือบำบัดโดยการนั่งสมาธิ
- อาจจำเป็นต้องหยุดยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียง เช่น ยาแก้แพ้ และยาสมุนไพร
- หากยังเกิดอาการใจสั่นอย่างต่อเนื่อง แพทย์อาจให้ยารักษา ได้แก่ ยา Beta Blocker และ Calcium Channel Blockers
- หากอาการเกิดจากความผิดปกติของหัวใจ เช่น มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจต้องรักษาโดยการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดไปยังหัวใจ เพื่อใช้ความร้อนหรือความเย็นรักษาเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่เต้นผิดจังหวะ
- หากอาการเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ก็จะรักษาที่ต้นเหตุเป็นหลัก เช่น หากเกิดภาวะแร่ธาตุในเลือดต่ำ ก็จะให้แร่ธาตุทดแทนทางหลอดเลือด เป็นต้น
การป้องกันอาการใจสั่น
สำหรับอาการใจสั่นที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดหรือโรคประจำตัว เรามีแนวทางในการป้องกันได้ ดังนี้
- พยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดและวิตกกังวล โดยหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อผ่อนคลาย
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีเป็นปกติ
- ควบคุมน้ำหนัก ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติ เพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและความผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดขึ้นตามม