กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตับม้ามโต เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตับม้ามโต เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตับ เป็นอวัยวะสำหรับสร้างโปรตีน ฮอร์โมน และกำจัดสารพิษ ส่วนม้ามทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค และเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ
  • โรคที่มักทำให้ตับม้ามโต ได้แก่ โรคตับแข็ง โรคโลหิตจาง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคมะเร็งตับ ซึ่งวิธีรักษาอาการตับม้ามโต ก็จะรักษาไปตามโรค หรืออาการที่เป็นสาเหตุ เช่น ทำรังสีบำบัด งดดื่มเหล้า ผ่าตัดปลูกถ่ายตับ
  • อาการขณะที่ตับม้ามโต จะได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก มีไข้ ติดเชื้อง่าย ตัวเหลือง มีรอยฟกช้ำ หรือจ้ำเลือดง่าย ตัวซีด
  • หากมีอาการตับม้ามโต ควรดูแลตนเองด้วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และมีประโยชน์มากๆ งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด พักผ่อนให้เพียงพอเสมอ
  • ตับม้ามโตบางครั้งก็เกิดจากโรคที่เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ แต่เราก็มีวิธีหลีกเลี่ยงภาวะนี้ได้โดยการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายได้ที่นี่)

ตับ (Liver) และม้าม (Spleen) เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้อง โดยตับจะมีขนาดใหญ่ อยู่ในช่องท้องด้านบนขวา ส่วนม้ามจะมีขนาดเล็กกว่า และอยู่ในช่องท้องด้านบนซ้าย 

ตามปกติแล้ว ตับ และม้ามนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยตับจะสร้างโปรตีน และฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงมีหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ในขณะที่ม้ามมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกัน โดยช่วยกำจัดเชื้อโรค และเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

แต่บางครั้งอาจเกิดโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้ตับ และม้ามโตขึ้นพร้อมกันได้ ซึ่งเรียกว่า "ภาวะตับม้ามโต (Hepatosplenomegaly)" ทำให้เราสามารถคลำพบตับ และม้ามมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ 

สาเหตุที่ทำให้ตับม้ามโต

ความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะตับม้ามโต ได้แก่

  • โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับมีระบบไหลเวียนเลือดระบบเดียวกับม้าม เมื่อตับมีความผิดปกติจึงส่งผลเกิดความผิดปกติที่ม้ามด้วย
  • โรคเลือด เช่น โรคโลหิตจาง โรคธาลัสซีเมีย ภาวะที่มีเม็ดเลือดแตก เนื่องจากตับ และม้ามเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมาก จึงส่งผลให้ตับม้ามมีขนาดโตขึ้นด้วย
  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งม้ามก็มีบทบาทในการกำจัดเชื้อโรคด้วยเช่นกัน
  • เป็นโรคออโตอิมมูน หรือโรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง ทำให้เซลล์ในร่างกายถูกกำจัดจำนวนมาก
  • เส้นเลือดดำในตับอุดตัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของตับ และม้ามผิดปกติ
  • เป็นโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการที่พบร่วมกับตับม้ามโต

ผู้ป่วยที่มีตับม้ามโต มักพบอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย

การรักษาภาวะตับม้ามโต

การรักษาภาวะตับม้ามโต จะเน้นรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น

  • หากมีการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ จะรักษาด้วยยาต้านไวรัส
  • หากเป็นโรคตับแข็ง ตับอักเสบ จะให้ยาลดการอักเสบของตับ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หากสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง จะทำการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด ฉายรังสี หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับชนิด และระยะของมะเร็ง
  • หากผู้ป่วยเป็นโรคเลือด จะรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ถ้ามีเม็ดเลือดแดงต่ำมากอาจต้องให้เลือดทดแทน หรือถ้าโลหิตจางเล็กน้อย อาจให้ทานธาตุเหล็กเสริม
  • หากตับม้ามโตมากจนทำให้หายใจลำบาก และไม่สามารถรักษาได้ เช่น เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทำให้ตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก อาจจำเป็นต้องตัดม้ามออก เพื่อให้หายใจสะดวก อาการซีดดีขึ้น และรับเลือดน้อยลง
  • หากตับเกิดความเสียหายมาก อาจต้องทำการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

การดูแลตัวเองเมื่อมีตับม้ามโต

หากพบว่าตัวเองมีตับม้ามโต ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาโดยด่วน ซึ่งนอกเหนือจากการรักษาแล้ว เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อประคับประคองอาการได้ ดังนี้

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ทานผักผลไม้มากๆ และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิด ยกเว้นยาตามคำสั่งแพทย์
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

การป้องกันตับม้ามโต

ตับม้ามโตนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุเราไม่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคที่เป็นตั้งแต่กำเนิด แต่สำหรับโรคที่เป็นสาเหตุอื่นๆ เราสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี 

นอกจากนี้ คุณควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันโรคตับแข็ง ปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกรับประทานทานอาหารเสริมสมุนไพรที่อาจมีผลต่อตับ และยังควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีด้วย 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจยังไง เตรียมตัวอย่างไร? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/hepatitis-b-test).
ตรวจค่าตับ alt และ ast คืออะไร? ตรวจยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/liver-function-program).
Definition of Hepatosplenomegaly. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=3716)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)