ภาวะไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) คือภาวะบวมออกของไส้ติ่งที่สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก โดยไส้ติ่งคือถุงเนื้อบาง ๆ ที่มีความยาวระหว่าง 5-10 cm ที่เชื่อมลำไส้ใหญ่กับตำแหน่งที่อุจจาระทับถมกัน
ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าไส้ติ่งมีประโยชน์อย่างไร แต่กระนั้นการผ่าตัดนำไส้ติ่งออกไม่ใช่เรื่องอันตรายแต่อย่างใด
ผ่าตัดไส้ติ่ง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 56,050 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ภาวะไส้ติ่งอักเสบมักจะเริ่มจากความเจ็บปวดตรงกลางหน้าท้องที่อาจจะเกิดขึ้นมาแบบพัก ๆ
ภายในไม่กี่ชั่วโมง ความเจ็บปวดจะแล่นไปยังสีข้างทางขวาล้างที่ซึ่งมีไส้ติ่งอยู่ และจะเริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น
การกดลงบริเวณดังกล่าว การไอ หรือการเดินอาจทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นจนทำให้คุณไม่อยากอาหาร รู้สึกคลื่นไส้ และบางครั้งอาจทำให้คุณท้องร่วงได้อีกด้วย
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
หากคุณประสบกับอาการปวดท้องที่ค่อย ๆ ทรุดลงเรื่อย ๆ ควรติดต่อแพทย์ทันที
กระนั้น ภาวะไส้ติ่งอักเสบก็อาจจะมีอาการคล้ายกับโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้: โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome - IBS) ชนิดรุนแรง ท้องผูก (constipation) การติดเชื้อของปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ โรคโครห์น (Crohn's disease) การติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน
สำหรับสตรีที่มีอายุน้อย อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุทางนรีเวชวิทยาต่าง ๆ เช่นการตั้งท้องนอกมดลูก (ectopic pregnancy) หรือภาวะปวดประจำเดือน
ผ่าตัดไส้ติ่ง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 56,050 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อย่างไรก็ตามภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกปวดท้องต่อเนื่องทุกประเภทก็ควรต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจสอบอย่างเร่งด่วนจะดีที่สุด
คุณสามารถทำการเรียกรถพยาบาลมารับได้หากว่าคุณมีความเจ็บปวดกะทันหันและลามไปยังสีข้างของคุณเพราะอาจเป็นสัญญาณของการระเบิดออกของไส้ติ่งที่สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) ได้
สามารถทำการรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบได้อย่างไร?
- ภาวะไส้ติ่งอักเสบส่วนมากต้องทำการผ่าตัดนำไส้ติ่งออกทันทีที่ทำได้
- การผ่าตัดไส้ติ่งหรือที่เรียกว่า appendectomy หรือ appendicectomy เป็นหัตถกรรมที่ดำเนินการกันมากที่สุดและมีอัตราสำเร็จที่สูงมาก
- ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดแบบรูกุญแจ (keyhole surgery หรือ laparoscopy) ที่ซึ่งจะมีการกรีดเข้าผิวหนังของคุณขนาดเล็กก่อนทำการสอดเครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษลงไป
- สำหรับการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด (Open surgery) จะเป็นการกรีดเปิดช่องท้องขนาดใหญ่ และมักดำเนินการกับไส้ติ่งที่แตกแล้วหรือเข้าถึงได้ยาก
- ผู้ป่วยส่วนมากจะฟื้นตัวจากกระบวนการผ่าตัดไส้ติ่งได้ดีภายในสองถึงสามสัปดาห์ กระนั้นภายในช่วงเวลา 6 สัปดาห์แพทย์ก็ยังคงขอให้คุณเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงไปก่อน (หากเป็นการผ่าตัดแบบเปิด)
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะไส้ติ่งอักเสบ?
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าภาวะไส้ติ่งอักเสบเกิดมาจากอะไร กรณีส่วนมากถูกคาดกันว่าเป็นเพราะมีบางสิ่งเข้าไปอุดทางเข้าของไส้ติ่ง ยกตัวอย่างเช่นเศษอุจจาระ หรือการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองภายในผนังลำไส้บวมออก
การอุดกั้นนี้ทำให้เกิดการอักเสบและการบวมออกของไส้ติ่ง แรงกดที่มาจากการบวมนี้ก็สามารถทำให้ไส้ติ่งแตกออกได้เช่นกัน
เนื่องจากว่าภาวะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงสาเหตุการเกิด จึงทำให้ยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะไส้ติ่งอักเสบอย่างเป็นทางการ
ใครสามารถประสบกับภาวะนี้ได้บ้าง?
ภาวะไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก คาดกันว่ามนุษย์ประมาณ 1 ใน 13 คนจะประสบกับภาวะนี้สักช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิต
ผ่าตัดไส้ติ่ง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 56,050 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ภาวะนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับช่วงอายุใดก็ได้ แต่มักจะพบได้มากกับผู้ที่มีอายุน้อยที่มีอายุระหว่าง 10 ถึง 20 ปี
อาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบ
ภาวะไส้ติ่งอักเสบมักจะเริ่มจากความเจ็บปวดช่วงกลางท้องที่อาจจะเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ
ภายในไม่กี่ชั่วโมง ความเจ็บปวดจะแล่นไปยังสีข้างทางขวาของคุณ ที่ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไส้ติ่งอยู่ และจะเริ่มก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น
การกดบนผิวหนัง ณ ตำแหน่งดังกล่าว การไอ หรือแม้แต่การเดินอาจทำให้ความเจ็บปวดมีมากขึ้น
หากคุณประสบกับภาวะไส้ติ่งอักเสบจริง คุณอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น: รู้สึกคลื่นไส้ ไม่สบาย ไม่อยากอาหาร ท้องร่วง มีไข้สูงและหน้าแดง
การวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบ
ภาวะไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะที่ทำการวินิจฉัยได้ลำบากนอกจากว่าคุณจะมีอาการทั่วไปของภาวะนี้เด่นชัด ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยภาวะนี้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นเช่นนั้น
อีกทั้งไส้ติ่งของแต่ละคนก็อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปเล็กน้อย เช่น: อยู่ที่เชิงกราน อยู่หลังลำไส้ใหญ่ อยู่รอบลำไส้เล็ก หรืออยู่ใกล้กับส่วนล่างของตับ
บางคนอาจประสบกับอาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบ แต่กลับเป็นผลมาจากสาเหตุอื่นแทนก็ได้ เช่น: โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวนชนิดรุนแรง ท้องผูก การติดเชื้อของปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
แพทย์จะทำการสอบถามอาการของคุณ ตรวจสอบช่องท้อง และกดท้องเพื่อดูว่าคุณมีความเจ็บปวดขณะที่กดลงบริเวณไส้ติ่งหรือไม่ (ทางสีข้างด้านขวาล่างของคุณ)
หากอาการทั่วไปบ่งชี้ถึงภาวะไส้ติ่งอักเสบอย่างชัดเจน แพทย์จะสามารถสรุปการวินิจฉัยได้อย่างง่ายดาย และจะทำการส่งคุณไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทันที
การทดสอบเพิ่มเติม
หากอาการของคุณไม่ตรงตามธรรมชาติของภาวะไส้ติ่งอักเสบทั้งหมด แพทย์จะจัดการทดสอบเพิ่มเติมภายในโรงพยาบาลเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและมองหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ โดยอาจมีการทดสอบดังต่อไปนี้: การตรวจเลือดเพื่อมองหาสัญญาณของภาวะติดเชื้อ การทดสอบการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิง การตรวจปัสสาวะเพื่อมองหาภาวะอื่น ๆ เช่นการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ การสแกนอัลตราซาวด์ (ultrasound scan) เพื่อดูว่าไส้ติ่งบวมหรือไม่ การสแกนคอมพิวเตอร์ (computerised tomography - CT)
บางครั้งคุณอาจจำต้องรอกว่าจะได้ผลการทดสอบกลับมา โดยทางศัลยแพทย์อาจแนะนำให้คุณรับการตรวจส่องกล้อง (laparoscopy) เพื่อดูไส้ติ่งและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานต่าง ๆ หากว่าผลการวินิจฉัยยังคงไม่แน่ชัดอยู่
คุณจะถูกแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งหากว่าแพทย์คาดการณ์ว่าคุณเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบจริง เพราะแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณรอไปจนกว่าไส้ติ่งจะแตก อีกทั้งการผ่าตัดไส้ติ่งออกเสียก็อาจทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ด้วย
ในบางกรณีที่ผลการวินิจฉัยไม่เป็นที่แน่ชัด แพทย์อาจแนะนำให้คุณรอไปอีก 24 ชั่วโมงเพื่อดูว่าอาการของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
หากแพทย์คาดการณ์ว่าไส้ติ่งของคุณแตกออกแล้ว คุณจะถูกส่งไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที
การรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบ
หากคุณเป็นภาวะไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะทำการผ่าตัดไส้ติ่งของคุณออกทันทีที่ทำได้ โดยหัตถกรรมนี่ยังแนะนำให้กับผู้ที่มีโอกาสจะเป็นไส้ติ่งอักเสบที่แม้จะไม่มีข้อสรุปการวินิจฉัยที่ชัดเจนก็ตาม
เนื่องจากว่าหัตถการนี้ถูกพิจารณาว่าเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยมากกว่าการผ่าตัดไส้ติ่งที่แตกแล้ว
สำหรับมนุษย์แล้ว ไส้ติ่งไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกายใด ๆ และการผ่าตัดไส้ติ่งออกก็ไม่ได้สร้างปัญหาระยะยาวอะไรตามมา
กระบวนการ
การผ่าตัดไส้ติ่งจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคนไข้ และมีการใช้หัตถกรรมรูกุญแจ (Keyhole surgery) หรือการผ่าตัดแบบเปิด (open surgery) ก็ได้
หัตถกรรมรูกุญแจ
การผ่าตัดแบบรูกุญแจเป็นวิธีผ่าตัดไส้ติ่งที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเพราะมีเวลาพักฟื้นที่สั้นกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
หัตถการนี้จะมีการกรีดช่องขนาดเล็กที่หน้าท้อง 3 ถึง 4 จุดเพื่อสอดเครื่องมือชนิดพิเศษลงไป ซึ่งมีทั้ง:
ท่อสูบฉีดแก๊สเข้าไปในช่องท้องเพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นไส้ติ่งได้ชัดเจนมากขึ้น และยังช่วยขยายพื้นที่ทำงานขึ้น
ท่อเรียวยาวที่มีไฟฉายและกล้องส้องติดอยู่ที่ปลาย โดยภาพที่ได้จะถูกส่งกลับไปบนหน้าจอ
เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้ในการผ่าไส้ติ่งออก
เมื่อไส้ติ่งถูกนำออกมาแล้ว ช่องกรีดจะถูกปิดด้วยไหมละลายได้หรือไหมเย็บแผลทั่วไปที่ต้องให้แพทย์นำออกภายหลังการผ่าตัด 7 ถึง 10 วัน
หัตถกรรมแบบเปิด
ในบางกรณี การผ่าตัดแบบรูกุญแจอาจไม่สามารถดำเนินการได้ จึงทำให้แพทย์ต้องใช้เทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแทน ซึ่งมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้: ไส้ติ่งระเบิดออกและเริ่มก่อตัวเป็นก้อนไส้ติ่ง (appendix mass) ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดแบบรูกุญแจ ผู้ป่วยเคยเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบเปิดมาก่อน
ในกรณีเหล่านี้ การผ่าตัดจะเป็นการกรีดเปิดหน้าท้องส่วนล่างขวาเป็นช่องขนาดใหญ่เพื่อกำจัดไส้ติ่ง
หากผู้ป่วยมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) ลุกลามไปมาก อาจต้องมีการกรีดเปิดยาวขึ้นตามหน้าท้องส่วนกลาง
เช่นเดียวกับหัตถกรรมแบบรูกุญแจ แผลกรีดจะถูกเย็บปิดด้วยด้ายเย็บแผลชนิดละลายได้หรือด้ายปรกติที่ต้องให้แพทย์ดึงออกวันหลัง
ภายหลังการผ่าตัดทั้งสองรูปแบบ ไส้ติ่งที่นำออกมาจะถูกส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์เพื่อตรวจหาสัญญาณของมะเร็ง กระบวนการนี้มีเพื่อเฝ้าระวังไว้ล่วงหน้าแม้ว่าส่วนมากแล้วจะไม่พบปัญหาร้ายแรงก็ตาม
การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด
ข้อดีที่สุดของหัตถกรรมรูกุญแจคือมีระยะเวลาพักฟื้นสั้นมาก และผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดส่วนมากจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเวลาอันสั้น
หากการผ่าตัดเป็นไปอย่างลุล่วงดี ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากคุณเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดหรือพบความซับซ้อนระหว่างผ่าตัด เช่นคุณมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ คุณอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะสามารถกลับบ้านได้
ในช่วงไม่กี่วันแรกหลังการผ่าตัด คุณอาจประสบกับความเจ็บปวดและรอยฟกช้ำบ้าง ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นตามกาลเวลา และหากจำเป็นจริง ๆ คุณก็สามารถทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้
หากคุณเข้ารับการผ่าตัดแบบรูกุญแจ คุณอาจรู้สึกเจ็บที่ปลายหัวไหล่เป็นเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากว่าแก๊สที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดยังคงอยู่ภายในร่างกายของคุณอยู่
คุณอาจประสบกับภาวะท้องผูกสั้น ๆ โดยคุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการงดยาแก้ปวดโคเดอีน ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง และดื่มน้ำให้มาก ๆ แต่หากปัญหานี้สร้างความรำคาญใจแก่คุณ แพทย์ก็สามารถจัดยาบรรเทาอาการแก่คุณได้
ก่อนออกจากโรงพยาบาล คุณจะถูกแนะนำให้ดูแลบาดแผลของคุณและแนะนำกิจกรรมที่ควรเลี่ยงต่าง ๆ
ส่วนมากแล้วคุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้ประมาณสองสามสัปดาห์ แต่คุณก็ยังคงต้องเลี่ยงกิจกรรมออกแรงไปนานถึง 4 หรือ 6 สัปดาห์อยู่ดี (หากคุณเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิด)
ควรกลับไปพบแพทย์เมื่อไร?
ในขณะที่คุณกำลังพักฟื้น สิ่งที่ต้องทำคือการสังเกตสัญญาณของปัญหาต่าง ๆ และติดต่อโรงพยาบาลที่ดำเนินการผ่าตัดให้คุณทันทีที่คุณสังเกตเห็นว่า: ความเจ็บปวดและการบวมที่เพิ่มขึ้น คุณอาเจียนหลายครั้ง คุณมีไข้สูง มีของเสียไหลออกจากบาดแผล บาดแผลร้อนเมื่อสัมผัสโดน
เนื่องจากว่าอาการเหล่านี้จะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อนั่นเอง
ความเสี่ยงจากการผ่าตัด
กระบวนการผ่าตัดไส้ติ่งเป็นหัตถกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนกับปัญหาระยะยาวที่น้อยมาก ๆ
อย่างไรก็ตาม หัตถการประเภทนี้ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ ดังนี้:
ภาวะเลือดออกใต้ผิวหนังจนบวมและทำให้เกิดภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ (haematoma): มักจะดีขึ้นเอง แต่หากคุณเป็นกังวลก็สามารถปรึกษากับแพทย์ได้
แผลเป็น: การผ่าตัดทั้งสองรูปแบบจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ ซึ่งเป็นรอยจากการกรีดเข้าไปในช่องท้อง
มีหนองสะสมภายใน: การติดเชื้อที่เกิดจากการแตกออกของไส้ติ่งทำให้เกิดหนองสะสมภายหลังการผ่าตัด (หายาก)
ไส้เลื่อน (hernia): ณ ตำแหน่งที่กรีดเปิดผิวหนังเข้าไปหรือที่ต้องกรีดเพื่อสอดเครื่องมือลงไป
การใช้ยาสลบเองก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เช่นความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาแพ้ หรือการสูดนำของในกระเพาะเข้าไปจนทำให้เกิดภาวะปอดบวม (pneumonia) กระนั้น ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากการใช้ยาสลบก็นับว่าเกิดขึ้นได้ยากมาก
การผ่าตัดฉุกเฉิน
ในบางกรณี ภาวะไส้ติ่งอักเสบก็นำไปสู่การเกิดก้อนไส้ติ่งขึ้นมา โดยก้อนดังกล่าวประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อเยียวยาตนเอง
หากว่าแพทย์ตรวจพบก้อนไส้ติ่งระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะตัดสินใจไม่ส่งคุณไปรับการผ่าตัดทันที แต่จะเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะและทำการนัดหมายเพื่อดำเนินการผ่าตัดไส้ติ่งในวันหลัง หรือหลังจากที่ก้อนไส้ติ่งหายไปแล้ว
การผ่าตัดฉุกเฉินอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบ อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาที่มองว่ายาปฏิชีวนะสามารถใช้เป็นทางเลือกรักษานอกจากการผ่าตัดได้ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงประสิทธิผลของยาก็ตาม
ภาวะแทรกซ้อนจากไส้ติ่งอักเสบ
หากไม่ทำการรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบ จะทำให้ไส้ติ่งแตกออกและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
คุณควรเรียกรถพยาบาลทันทีที่คุณมีอาการปวดท้องรุนแรงจนลามไปยังสีข้างอีกข้าง เพราะนี่เป็นสัญญาณของการแตกออกของไส้ติ่ง
ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
หากไส้ติ่งของคุณแตกออก แบคทีเรียภายในจะเข้าไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและทำให้เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ขึ้นมา โดยเยื่อบุช่องท้องก็คือแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ปูอยู่ภายในช่องท้องเอง
อาการของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบมีดังนี้: อาการปวดท้องรุนแรงต่อเนื่อง รู้สึกคลื่นไส้และไม่สบายตัว มีไข้สูง หัวใจเต้นถี่ หายใจลำบาก และหายใจถี่ ท้องบวม
หากไม่รีบทำการรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จะทำให้เกิดปัญหาระยะยาวขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะและการผ่าตัดกำจัดไส้ติ่ง
ฝี
ในบางครั้งก็อาจจะเกิดฝี (Abscesses) รอบ ๆ บริเวณที่ไส้ติ่งแตกออก ซึ่งเป็นฝีที่เกิดจากการสะสมกันของหนองที่เกิดขึ้นขณะที่ร่างกายพยายามต่อสู้กับการติดเชื้อ
ภาวะนี้สามารถเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดไส้ติ่งได้ โดยคาดกันว่ามีผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดนี้เป็นฝีประมาณ 1 จาก 500 คน
ฝีที่เกิดขึ้นสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่สำหรับกรณีส่วนมากแล้วจะต้องมีการดูดหนองออกจากฝีเสียก่อน
กระบวนการดูดหนองจะใช้การสแกนอัลตราซาวด์หรือ CT หาตำแหน่งก่อนใช้ยาชากับคนไข้เพื่อแทงเข็มลงไปยังผิวหนังเพื่อดูดของเหลวออก
หากแพทย์พบฝีระหว่างการผ่าตัด พื้นที่ที่เป็นฝีจะถูกทำความสะออกอย่างระมัดระวังและมีการให้ยาปฏิชีวนะแก่คนไข้