วิตามินอี(โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล)

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินอี (โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล) วิตามินชนิดนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไรและโรคที่เกิดขึ้นหากขาดวิตามินชนิดนี้ รวมถึงแหล่งจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ศัตรูของวิตามินอี ที่สำคัญคืออาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป ตลอดจนรวมทั้งคำแนะนำที่น่าสนใจต่างๆมากมาย สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิตามินอี(โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล)

วิตามินอี (โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล) หนึ่งในวิตามินที่หลายคนละเลยความสำคัญของมัน เนื่องจากโดยปกติแล้วเราจะให้ความสำคัญกับวิตามินซีมากเป็นพิเศษ เพราะมีส่วนช่วยผิวพรรณ แต่วิตามินอีเองก็เป็นที่ต้องการของร่างกายเช่นกัน 

ข้อเท็จจริงของวิตามินอี

  • ละลายในไขมัน ถูกเก็บสะสมที่ตับ เนื้อเยื่อไขมัน หัวใจ กล้ามเนื้อ อัณฑะ มดลูก เลือด ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง
  • เดิมมีหน่วยวัดตามน้ำหนัก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้หน่วยตามการออกฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นหน่วยสากล (IU) ซึ่งวิตามิน 1 ไอยูจะมีค่าเท่ากับ 1 มก.
  • ประกอบด้วยสารตามธรรมชาติสองกลุ่มใหญ่ คือ โทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โดยโทโคฟีรอลแบ่งเป็นสี่รูป คือ แอลฟา บีตา แกมมา และเดลตา ส่วนโทโคไทรอีนอลก็ถูกแบ่งเป็นสี่รูปเช่นกัน คือ แอลฟา บีตา (เบต้า) แกมมา และเดลตา
  • ในบรรดาสารทั้งแปดตัว แอลฟาโทโคฟีรอลจัดได้ว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพสูงสุด แต่แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเพิ่มระดับเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (เอสโอดี) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และในการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรั้ง ซึ่งรวมถึงมะเร็ง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และความชรา
  • ค่าไอยู (IU) ที่ระบุไว้ในวิตามินอีเสริมอาหาร เป็นค่าจากแอลฟาโทโคฟีรอล ส่วนโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลนั้น ถือได้ว่ามีค่าเป็นศูนย์ไอยู
  • ปริมาณไอยูบนฉลากผลิตภัณฑ์ ไม่ได้เป็นการระบุว่าวิตามินอีนั้นมีเพียงแอลฟาโทโคฟีรอลตัวเดียว หรือมีโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลรวมอยู่ด้วยหรือไม่
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของสารในกลุ่มไขมัน ทำงานเฉกเช่นเดียวกับวิตามินเอ ซีลีเนียม กรดแอมิโนซัลเฟอร์ และวิตามินซี
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินเอ
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันในผู้ใหญ่คือ 8-10 ไอยู (ค่านี้อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดของสถาบันวิจัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา)
  • ประมาณร้อยละ 60-70 ของขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน จะถูกขับออกทางอุจจาระ วิตามินอีจะต่างกับวิตามินที่ละลายในไขมันตัวอื่นคือร่างกายจะเก็บสะสมไว้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง คล้ายวิตามินบีและซี
  • ทำหน้าที่สำคัญคล้ายเป็นยาขยายหลอดลมและยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของซีลีเนียม 25 มคก. ต่อวิตามินอี 200 ไอยู จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินอีได้

วิตามินนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • ช่วยให้แลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์ อันเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน
  • ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
  • นำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน
  • ปกป้องปอดจากมลพิษทางอากาศ โดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ
  • ช่วยป้องกันมะเร็งหลายประเภท
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์
  • ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
  • ป้องกันและสลายลิ่มเลือด
  • บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  • ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
  • ป้องกันแผลเป็นหนานูน ทั้งภายนอก (เมื่อใช้เป็นยาทา จะสามารถซึมผ่านผิวหนังได้) และภายใน
  • เร่งให้แผลไหม้บริเวณผิวหนังหายเร็วขึ้น
  • ทำงานคล้ายเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยในการป้องกันภาวะแท้ง
  • บรรเทาอาการตะคริวหรือขาตึง
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์
  • โรคจากการขาดวิตามิน
  • เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย กล้ามเนื้อฝ่อ โลหิตจาง และโรคของระบบสืบพันธุ์

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

จมูกข้าวสาลี ถั่วเหลือง น้ำมันพืช ถั่ว (วอลนัท พีแคน และถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ) กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม แป้ง ทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน และไข่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • มีจำหน่ายแบบเป็นน้ำมันชนิดแคปซูลและแบบเป็นเม็ดละลายน้ำได้
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดแอลฟาโทโคฟีรอลจากธรรมชาติ จะมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์
  • มีจำหน่ายในขนาดตั้งแต่ 100 ไปจนถึง 1,500 ไอยู ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานแบบน้ำมัน หรือผู้ที่มีปัญหาผิวที่เกิดจากความมัน แนะนำให้รับประทานเป็นแบบเม็ดแห้งละลายน้ำ รวมไปถึงผู้ที่อายุเกินสี่สิบปีด้วย
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานกันโดยทั่วไปคือ 200-1,200 ไอยูต่อวัน

อาการเป็นพิษและสัญญาณบ่งว่ารับประทานมากไป

ไม่พบว่าเป็นพิษต่อร่างกาย

ศัตรู

ความร้อน ออกซิเจน อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง กระบวนการแปรรูป อาหาร เหล็ก คลอรีน น้ำมันแร่ธรรมชาติ

คำแนะนำ

  • หากคุณรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง คุณอาจต้องการวิตามินอีเสริม
  • วิตามินอีในปริมาณสูง เสริมการทำงานของยาต้านการแข็งตัวของเลือด และลดการดูดซึมของวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นหากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ผมแนะนำให้หยุดรับประทานวิตามินอีสองสัปดาห์ ก่อนและหลังการผ่าตัด นอกเสียจากว่าแพทย์ประจำตัวแนะนำให้รับประทาน
  • ร่างกายของเราจะดูดซึมวิตามินอีจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากธรรมชาติได้มากเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์ โดยดูที่ข้างขวดจะพบว่าวิตามินอีจากธรรมชาติจะระบุว่าเป็นดี-แอลฟาโทโคฟีรอล (d-alpha-tocopherol) ในขณะที่แบบสังเคราะห์จะเขียนว่า ดีแอล-แอลฟาโทโคฟีรอล (dl-alphatocopherol)
  • การรับประทานโทโคไทรอีนอลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทานร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันประกอบอยู่ด้วย
  • การรับประทานแอลฟาโทโคฟีรอลเป็นปริมาณสูง จะทำให้ระดับของแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดลดลง ซึ่งแกมมาโทโคฟีรอลนี้มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (อนุมูลอิสระที่มีไนโตรเจนสัมพันธ์กับโรคต่างๆ อาทิ มะเร็ง อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ)
  • หากรับประทานแกมมาโทโคฟีรอล จะทำให้ระดับของทั้งแอลฟาและแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • พบว่าแกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ธาตุเหล็กอนินทรีย์ (เฟอร์รัสซัลเฟต) ทำลายวิตามินอีได้ คุณจึงไม่ควรรับประทานร่วมกัน หากคุณ     รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเฟอร์รัสซัลเฟต คุณควรรับประทานวิตามินอีแปดชั่วดมงก่อนหรือหลังรับประทานเฟอร์รัสซัลเฟต
  • เฟอร์รัสกลูโคเนต เฟอร์รัสเปปโทเนต เฟอร์รัสซิเทรต และเฟอร์รัสฟูเมเรต (ธาตุเหล็กอินทรีย์) ไม่ทำลายวิตามินอี
  • หากคุณดื่มน้ำที่มีคลอรีน ร่างกายคุณจะต้องการวิตามินอีเพิ่มมากกว่าปกติ
  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมไปถึงผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเสริม ล้วนต้องการวิตามินอีเพิ่ม
  • ผมแนะนำให้ผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทองเพิ่มการรับประทานวิตามินอี (หากคุณอายุน้อยกว่าสี่สิบปี ขนาด 400 ไอยูถือว่าเหมาะสม แต่หากอายุมากกว่าสี่สิบปี ผมแนะนำให้รับประทาน 800 ไอยูต่อวัน เป็นแบบเม็ดแห้งจะดีมาก)

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin E: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-954/vitamin-e)
Tocopheryl Acetate: Uses, Benefits, and Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tocopheryl-acetate)
Vitamin E (Tocopherol) Test. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/vitamin-e-tocopherol-test/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป