กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ

การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบอาจเกี่ยวข้องกับการรักษาสาเหตุของโรค หรือการรักษาอาการอื่นๆ ที่คุณกำลังประสบอยู่ ซึ่งหากหาสาเหตุของโรคพบ การรักษาจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระดับดีอาจช่วยให้อาการของปลายประสาทอักเสบดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ทำให้อาการแย่ลง

การรักษาที่สาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ

สาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบมีอยู่หลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละสาเหตุอาจใช้วิธีในการรักษาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ถ้าเป็นโรคเบาหวาน สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หยุดสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าขาดวิตามินบี 12 สามารถรักษาได้ด้วยการให้วิตามินบี 12 แบบฉีด หรือแบบเม็ด
  • ถ้าโรคปลายประสาทอักเสบเกิดจากยาที่ใช้ การหยุดยาอาจช่วยให้อาการดีขึ้น

โรคปลายประสาทอักเสบที่พบได้น้อยบางชนิดอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยา เช่น

  • สเตียรอยด์ (corticosteroids)-เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ
  • ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressants)-เป็นยาที่จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ยาฉีดอิมมูโนโกลบุลิน (immunoglobulin)-คือส่วนผสมของโปรตีนในเลือดที่เรียกว่าแอนติบอดี้ (antibodies) หรือสารภูมิคุ้มกันที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกัน

อย่างไรก็ตามไม่สามารถรักษาสาเหตุของการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบได้ทุกสาเหตุ

การบรรเทาอาการปวดเส้นประสาท

คุณอาจจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อรักษาอาการปวดเส้นประสาทที่เกิดขึ้น (neuropathic pain)

อาการปวดเส้นประสาทจะไม่เหมือนกับอาการปวดชนิดอื่นๆ โดยจะสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) และ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) รวมถึงยาแก้ปวดอื่นๆ ที่มักใช้บ่อยๆ

ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทควรเริ่มจากขนาดยาต่ำสุดก่อน และค่อยๆ เพิ่มขนาดยาจนกระทั่งเห็นผลของยา เพราะว่าขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขนาดยาที่สูงกว่าจะควบคุมอาการปวดได้ดีกว่า แต่ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าด้วย

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือรู้สึกคล้ายมีอาการเมา หากคุณมีอาการดังกล่าวนี้ อาจจำเป็นต้องลดขนาดยาลง และอย่าขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรหากคุณมีอาการง่วงนอนหรือมองภาพไม่ชัด นอกจากนี้คุณจะมีความไวกับผลของแอลกอฮอล์มากกว่าปกติอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงที่กล่าวควรจะมีอาการดีขึ้นภายหลังผ่านไป 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ถ้าผลข้างเคียงยังคงมีอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นที่เหมาะสมกับคุณมากกว่า

แม้ว่ายาตัวแรกที่ใช้จะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ยาตัวอื่นอาจจะช่วยได้

ยาสำหรับบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทนี้อาจถูกใช้เพื่อรักษาอาการอื่นได้ด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรคลมชัก โรควิตกกังวล หรือปวดศีรษะ ดังนั้นหากคุณได้รับยาต้านซึมเศร้า ยานี้อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทแม้ว่าคุณจะไม่ได้มีอาการซึมเศร้าก็ตาม ซึ่งไมได้หมายความว่าแพทย์สงสัยว่าคุณกำลังเป็นซึมเศร้า

ยาหลักที่แนะนำสำหรับอาการปวดเส้นประสาท ได้แก่

  • ยา amitriptyline-ยานี้ยังใช้สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะและอาการซึมเศร้า
  • ยา duloxetine-ยานี้ยังใช้สำหรับรักษาปัญหาที่กระเพาะปัสสาวะและอาการซึมเศร้า
  • ยา pregabalin และ gabapentin-ยานี้ยังใช้สำหรับรักษาโรคลมชัก ปวดศีรษะ หรือวิตกกังวล

นอกจากนี้ยังมียาอื่นๆ ที่สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดที่บริเวณเฉพาะของร่างกาย หรือใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดอย่างรุนแรงในช่วงสั้นๆ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ครีมแคปไซซิน (Capsaicin cream)

ถ้าอาการปวดของคุณจำกัดอยู่แค่เฉพาะบริเวณ และคุณไม่สามารถ หรือไม่ต้องการใช้ยาข้างต้น คุณอาจได้รับประโยชน์จากการใช้ยา capsaicin cream

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารที่อยู่ในพริก ทำให้พริกมีความเผ็ดร้อน และจะออกฤทธิ์ในโรคปวดเส้นประสาทโดยการหยุดยั้งการส่งสัญญาณความปวดที่เส้นประสาทไปยังสมอง

ให้ใช้ครีมแคปไซซินปริมาณเท่าเมล็ดถั่วทาบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการวันละ 3-4 ครั้ง

ผลข้างเคียงของครีมแคปไซซิน  คือ ทำให้ผิวหนังระคายเคือง รู้สึกแสบร้อน ที่บริเวณที่ทาครีม เมื่อเริ่มรักษาเป็นครั้งแรก

อย่าใช้ครีมแคปไซซินบนผิวหนังเปิด หรือผิวหนังที่อักเสบ และให้ล้างมือหลังทาครีมทุกครั้ง

ยาทรามาดอล (tramadol)

ทรามาดอล คือยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพสูงมีโครงสร้างสัมพันธ์กับมอร์ฟีน (morphine) ซึ่งสามารถใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น

ยานี้เหมือนกับยาในกลุ่ม opioids ตัวอื่นๆ คือ ยาสามารถทำให้มีอาการติดยาได้ หากใช้ยานี้เป็นเวลานาน ดังนั้นยานี้มักจะจ่ายให้ผู้ป่วยเป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น ยาทรามาดอลยังมีประโยชน์ในการใช้เมื่ออาการปวดของผู้ป่วยแย่ลง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาทรามาดอล ได้แก่:

การรักษาอาการอื่นๆ

นอกเหนือจากการรักษาอาการปวดแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องรักษาอาการอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากโรคปลายประสาทอักเสบด้วย

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คุณอาจจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้คุณอาจต้องใส่ที่พยุงข้อเท้าที่อ่อนแอ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อให้คุณสามารถเดินไปรอบๆ ได้

อาการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับโรคปลายประสาทอักเสบอาจใช้ยารักษาได้ เช่น

  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
  • ท้องผูก
  • การเคลื่อนที่ของอาหารผ่านกระเพาะอาหารช้ากว่าปกติ (gastroparesis)

ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีที่รุกรานร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น ฉีดยา botulinum toxin สำหรับรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ หรือ การใส่สายสวนกระเพาะปัสสาวะในผู้ที่มีปัญหาในการขับปัสสาวะ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/peripheral-neuropathy#treatment


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natural Treatments for Peripheral Neuropathy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/peripheral-neuropathy-natural-treatments)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)