มะเร็งเน็ต (Neuroendocrine tumours)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มะเร็งเน็ต (Neuroendocrine tumours)

มะเร็งเน็ต เป็นมะเร็งที่พบกับเซลล์ของระบบนิวโรเอ็นโดคริน ซึ่งพบได้น้อย อาการของโรคมะเร็งเน็ตจะขึ้นกับบริเวณที่เป็นและขึ้นกับชนิดฮอร์โมนที่ก้อนมะเร็งผลิต ตัวอย่างเช่น ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารอาจทำให้มีอาการท้องเสีย, ท้องผูก หรือปวดท้อง ส่วนก้อนเนื้องอกที่ปอดอาจทำให้หายใจมีเสียงวี๊ด หรือ ไอเรื้อรัง เป็นต้น

บทนำ

มะเร็งเน็ต หรือ Neuroendocrine tumours (NETs) เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย โดยพบกับเซลล์ของระบบนิวโรเอ็นโดคริน (neuroendocrine system)
ระบบนิวโรเอ็นโดครินประกอบด้วยเซลล์ประสาทและเซลล์ต่อมไร้ท่อ โดยจะผลิตฮอร์โมนและหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

มะเร็งเน็ต คือ ก้อนเนื้องอก (การเจริญเติบโตที่ผิดปกติ) ที่ขึ้นเกิดกับเซลล์ในระบบนิวโรเอ็นโดคริน 

เน็ต อาจเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง (cancerous) หรืออาจเป็นก้อนงอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งก็ได้ (non-cancerous or benign) และมักเติบโตอย่างช้าๆ (แต่ก็ไม่เสมอไป) มะเร็งเน็ตมีอยู่หลายชนิด ขึ้นกับชนิดของเซลล์ที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็ง

 

ชนิดของมะเร็งเน็ต (Types of neuroendocrine tumours)

Gastroenteropancreatic neuroendocrine tumours (GEP NETs) คือ มะเร็งเน็ตที่เกิดขึ้นที่ลำไส้ หรือตับอ่อน

Gastrointestinal neuroendocrine tumours (GI NETs) คือ มะเร็งเน็ตที่เกิดกับระบบย่อยอาหาร รวมถึง ลำไส้ กระเพาะอาหาร หรือ หลอดอาหาร

Pancreatic neuroendocrine tumours (pNETs) คือมะเร็งเน็ตที่พบที่ตับอ่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

Pulmonary neuroendocrine tumours คือมะเร็งเน็ตที่พบที่ปอด 

มะเร็งเน็ตอาจเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย แต่พบได้น้อย ได้แก่ ตับ, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี, ไต, รังไข่ หรือ อัณฑะ

มะเร็งเน็ตบางครั้งเป็นก้อนเนื้องอกที่มีหน้าที่ด้วย (functioning tumours) คือจะผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการจำเพาะบางอย่าง ส่วนก้อนเนื้องอกที่ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ เรียกว่า ก้อนเนื้องอกไม่มีหน้าที่ (non-functioning tumours)

อาการของมะเร็งเน็ต

อาการของมะเร็งเน็ตมีความหลากหลายขึ้นกับบริเวณที่เป็นมะเร็ง และขึ้นกับชนิดของฮอร์โมนที่ก้อนมะเร็งผลิต

ตัวอย่างเช่น ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารอาจทำให้มีอาการท้องเสีย, ท้องผูก หรือปวดท้อง ส่วนก้อนเนื้องอกที่ปอดอาจทำให้หายใจมีเสียงวี๊ด หรือ ไอเรื้อรัง

ก้อนเนื้องอกบางก้อนที่เป็นก้อนเนื้องอกแบบมีหน้าที่ (functioning tumours) อาจทำให้มีปริมาณฮอร์โมนหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดจำนวนมากผิดปกติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องเสีย, หน้าแดงตัวแดง, เป็นตะคริว, หายใจมีเสียงวิ๊ด, น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypolycaemia), ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และมีปัญหากับหัวใจ

อะไรคือสาเหตุของมะเร็งเน็ต

สาเหตุของมะเร็งเน็ตยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเน็ตจะเพิ่มขึ้นถ้าคุณเป็นโรคที่พบได้น้อยเหล่านี้:

  • Multiple endocrine neoplasia type 1 (MEN 1)-เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยจะมีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้นที่ระบบต่อมไร้ท่อ โดยพบบ่อยที่สุดที่ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland), ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) และตับอ่อน
  • Neurofibrmatosis type 1-เป็นกลุ่มของโรคทางพันธุกรรม ทำให้เกิดก้อนเนื้องอกตามเส้นประสาทของคุณ
  • Von Hippel-Lindau syndrome (VHL)- เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายเติบโตผิดปกติ

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าความเสี่ยงที่คุณจะเป็นมะเร็งเน็ตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถ้าหนึ่งในพ่อแม่ของคุณเป็นโรคต่างๆ นี้อย่างน้อย 1 โรค

การวินิจฉัยมะเร็งเน็ต

มีการทดสอบหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อวินิจฉัยมะเร็งเน็ต ได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจสแกน และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (คือการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อยไปส่องตรวจอย่างละเอียด)

มีการตรวจสแกนหลายอย่างที่อาจทำเพื่อวิเคราะห์หรือเพื่อตรวจประเมินก้อนเนื้องอก ได้แก่:

  • อัลตราซาวด์สแกน-รวมถึงการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiograms) และ endoscopic ultrasound scans
  • การทำซีทีสแกน/การสแกนภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerised tomography (CT) scans)
  • การทำเอ็มอาร์ไอ/การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scans)
  • Positron emission tomography (PET) scans
  • Octreotide scans-คือการฉีดสารกัมมันตรังสีชนิดอ่อนเข้าไปในเส้นเลือดดำ และใช้กล้องชนิดพิเศษเพื่อตรวจดูเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย

การรักษามะเร็งเน็ต

วิธีในการรักษามะเร็งเน็ตจะขึ้นกับสภาวะ/สถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย ตัวอย่างเช่น การรักษาที่คุณจะได้รับจะขึ้นกับ:

  • ก้อนเนื้องอกอยู่ที่ใด
  • มะเร็งมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
  • สภาวะสุขภาพโดยรวม

เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเน็ตเมื่อมะเร็งส่งผลกระทบต่อบริเวณอื่นๆ ของร่างกายแล้ว อย่างไรก็ตามยังอาจมีความเป็นไปได้ที่จะผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก แม้ว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปที่บริเวณอื่นแล้วก็ตาม

หากการผ่าตัดไม่สามารถใช้เพื่อหวังผลให้รักษาหายขาดได้ แต่ยังอาจใช้เพื่อช่วยควบคุมโรคและช่วยบรรเทาอาการใดๆ ที่คุณกำลังเป็นอยู่

และอาจมีความเป็นไปได้ที่จะลดขนาดของก้อนเนื้องอก หรือหยุดการเจริญเติบโตในอนาคต โดยการใช้การรักษาที่ไปหยุดยั้งการไหลเวียนเลือดไปที่ก้อนเนื้องอก (embolization) หรือการให้ยาเคมีบัด, การให้รังสีบำบัด หรือ การใช้คลื่นวิทยุความถี่ในการให้ความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/neuroendocrine-tumours


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Neuroendocrine tumours. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/neuroendocrine-tumours/)
What Are Neuroendocrine Tumors (NETs)? What are the Symptoms?. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/neuroendocrine-tumors#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป