การตรวจเต้านม (Breast Exams)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจเต้านม (Breast Exams)

ปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวกับเต้านมในวัยรุ่นนั้นพบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามแพทย์ก็ยังอยากแนะนำให้วัยรุ่นมีการตรวจเต้านมอยู่ดี มาดูกันว่าทำไม

การตรวจเต้านมคืออะไร

การตรวจเต้านมช่วยให้แพทย์สามารถยืนยันได้ว่าสุขภาพเต้านมของเราเป็นปกติ ระหว่างการตรวจเต้านมแพทย์จะตรวจคลำด้วยมือเปล่าว่ามีก้อนเนื้อใดๆ หรือไม่ และเพื่อตรวจดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากการตรวจครั้งก่อนไหม อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะไม่ตรวจเต้านมให้เด็กสาวสักเท่าไหร่จนกว่าพวกเธอจะมีอายุ 20 ปีแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องตรวจเต้านม

โดยปกติแล้ววัยรุ่นไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเต้านม นั่นเพราะเด็กผู้หญิงมักจะไม่ค่อยพบความผิดปกติบริเวณเต้านมสักเท่าไหร่ โดยแพทย์มักจะตรวจด้วยการคลำบริเวณเต้านมระหว่างการตรวจยีนประจำปีเท่านั้น เพื่อดูว่าพัฒนาการและการเจริญเติบโตของพวกเธอไปถึงไหนแล้ว อย่างไรก็ตาม หากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติที่เต้านม แพทย์จะแนะนำให้คุณตรวจดู

เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการตรวจ

เมื่อตรวจเต้านม คุณจะต้องนอนบนเตียงตรวจ จากนั้นแพทย์จะใช้นิ้วกดลงไปตามจุดต่างๆ บริเวณเต้านม เพื่อตรวจดูว่าคุณอาจมีซีสต์หรือก้อนเนื้อใดๆ หรือไม่

หากตรวจแล้วพบก้อนเนื้อล่ะจะทำอย่างไร?

เมื่อมีพัฒนาการทางร่างกายและเจริญเติบโตขึ้น เราอาจสังเกตว่าภายในเต้านมมีก้อนบางอย่างอยู่ เราอาจรู้สึกว่าหน้าอกไวต่อสิ่งกระตุ้นและคัดตึงในช่วงที่มีรอบเดือน และหากคุณคลำเจอก้อนดังกล่าว ไม่ต้องตกใจ! เพราะมะเร็งเต้านมจะเกิดขึ้นในวัยรุ่นน้อยมาก ดังนั้นก้อนเนื้อที่ว่าจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามปกติของเด็กผู้หญิงเท่านั้น

เด็กผู้หญิงจำนวนมากมีบางอย่างที่เรียกว่า ก้อนในเต้านม (fibrocystic breast changes) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศและการมีรอบเดือน และอาจมีอาการปวดคัดช่วงก่อนมีรอบเดือนได้ ก้อนเนื้อในเต้านมแบบนี้ไม่ได้น่ากังวลและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด

การติดเชื้อหรือการอักเสบอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก้อนเนื้อ เช่น การบาดเจ็บบริเวณเต้านมอย่างการถูกกระแทกระหว่างการแข่งขันกีฬา เป็นต้น

หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับก้อนเนื้อในเต้านม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการเหล่านี้

  • เจ็บเต้านมช่วงที่ไม่ได้มีรอบเดือน
  • เต้านมบวมแดง
  • มีของเหลวหรือเมือกเลือดไหลออกมาจากหัวนม
  • มีก้อนเนื้อที่รักแร้หรือบริเวณใกล้กับกระดูกไหปลาร้า

โดยส่วนใหญ่แล้วการมีก้อนเนื้อในเต้านมนั้นไม่ได้น่ากังวล แต่ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยรุ่นโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของเต้านม นอกจากนี้ การปรึกษาแพทย์จะช่วยให้คุณหมดข้อสงสัยและคลายความกังวลไปได้

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/breast-exams.html

 


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Breast Cancer Screening?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/breast/basic_info/screening.htm)
Breast Examination Techniques. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459179/)
Breast Cancer and the Breast Self-Exam. WebMD. (https://www.webmd.com/breast-cancer/breast-self-exam)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)