ประโยชน์ของแครอท

ผักหัวสีส้มหวานกรอบอร่อย ยิ่งกิน ยิ่งได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ของแครอท

แครอท มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Daucus carota L.subsp. sativus  (Hoffim). Arcang. เป็นพืชล้มลุก รากมีลักษณะพองโตและยาวเรียวสีส้ม แต่เรามักเรียกส่วนนี้กันว่า "หัว"  ก้านใบยาว ใบสีเขียวแตกออกรอบๆ เหนือส่วนหัว  แครอทเป็นพืชที่มีรสชาติหวานกรอบ  นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสด (ดิบ) และแบบปรุงสุก 

ในทางโภชนาการส่วนราก หรือหัว มีสารเบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) สูง โดยเฉพาะบริเวณเปลือกแก่ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอสูง  มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ไขมัน เส้นใย และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 และวิตามินซีด้วย  แครอท 100 กรัม จะมีพลังงาน 41 กิโลแคลอรี่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนในทางยา ส่วนราก หรือหัว  มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ดังต่อไปนี้ 

ประโยชน์ต่อสุขภาพของแครอท

ช่วยลดระดับ Cholesterol

แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทินอยด์ (carotenoid antioxidants)  สารเบต้า-แคโรทีน สารอัลฟาแคโรทีน ( alpha-carotene) และสารลูทีน  จึงช่วยลดระดับ cholesterol ได้ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ขึ้น

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

แครอทมีสารเบต้า-แคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ 

บำรุงสายตา

แม้จะไม่สามารถช่วยรักษาปัญหาทางการมองเห็นที่มีอยู่เดิมได้  แต่แครอทสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดจากการขาดวิตามินเอได้ โดยร่างกายจะมีการเปลี่ยนสารเบต้า-แคโรทีน  ให้เป็นวิตามินเอซึ่งช่วยบำรุงสายตา นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม และอาการมองเห็นไม่ชัดในตอนกลางคืนได้

ช่วยหยุดการสูญเสียความจำ

งานวิจัยเชื่อว่า สารเบต้า-แคโรทีน ในแครอทช่วยชะลอการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางในระยะยาวได้ในผู้ที่รับประทานสารเบต้า-แคโรทีน มากกว่า 15 ปี ขึ้นไป

ป้องกันโรคเบาหวาน

แครอทมีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดน้ำตาลในเลือดและรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ 

เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก

แครอทมีวิตามินอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินซี (5 มิลลิกรัมต่อ 1 ถ้วย) และแคลเซียม (96 มิลลิกรัมต่อ 1 ถ้วย) ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอาจได้รับแคลเซียมไม่พอ ดังนั้นการรับประทานแครอทก็ช่วยเสริมแคลเซียมได้  แม้ว่าจะมีในปริมาณที่ไม่มากก็ตาม นอกจากนี้สารเบต้า-แคโรทีนยังสามารถป้องกันการเกิดกระดูกเสื่อมรุนแรงได้ เพียงแต่ไม่ได้ป้องกันภาวะเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้นตามอายุ

คำแนะนำในการบริโภค 

  • หากต้องการได้รับประโยชน์จากแครอทสูงสุดโดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน แนะนำให้ปรุงสุกก่อนรับประทาน
  • หากต้องการได้รับประโยชน์จากแครอทสูงสุดไม่ควรหั่นแครอทก่อนปรุงอาหาร
  • ควรรับประทานแครอทกับอาหารที่มีไขมันเพราะเบต้าแคโรทีนจะละลายได้ดีในไขมัน
  • เช่นเดียวกับมะละกอที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีส้มได้  สามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดรับประทาน 
  • เลือกซื้อแครอทอย่างระมัดระวัง ป้องกันการปนเปื้อนของสาารตะกั่ว 

แม้แครอทจะมีประโยชน์มากมาย แต่ควรรับประทานอย่างเหมาะสม ไม่ควรรับประทานมากเกินไป บ่อยเกินไป หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nicolle C et al., 2003 Oct, Effect of carrot intake on cholesterol metabolism and on antioxidant status in cholesterol-fed rat. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), October 2003
Arnlov J et al., Serum and dietary beta-carotene and alpha-tocopherol and incidence of type 2 diabetes mellitus in a community-based study of Swedish men: report from the Uppsala Longitudinal Study of Adult Men (ULSAM) study. Diabetologia 2009;52(1):97-105. View abstract.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม