อาการของโรคปลายประสาทอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของโรคปลายประสาทอักเสบ

อาการของโรคปลายประสาทอักเสบมีความแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของโรคปลายประสาทอักเสบ และอาจมีการพัฒนาของโรคอย่างรวดเร็วหรืออย่างช้าๆ ก็ได้

โรคปลายประสาทอักเสบชนิดหลักๆ ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เส้นประสาทรับความรู้สึกอักเสบ (sensory neuropathy)-คือมีความเสียหายเกิดขึ้นที่เส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับนำความรู้สึกสัมผัส อุณหภูมิ ความเจ็บปวด และความรู้สึกอื่นๆ ไปยังสมอง
  • เส้นประสาทสั่งการอักเสบ (motor neuropathy)-คือมีความเสียหายเกิดขึ้นที่เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เส้นประสาทอัตโนมัติอักเสบ (autonomic neuropathy)-คือมีความเสียหายเกิดขึ้นที่เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานอัตโนมัติของร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และการควบคุมระดับความดันโลหิต
  • เส้นประสาทอักเสบเส้นเดียว (mononeuropathy)-คือมีความเสียหายเกิดขึ้นที่เส้นประสาทนอกระบบประสาทส่วนกลางเพียงเส้นเดียว

ในหลายๆ ครั้งจะพบว่าผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบอาจเป็นโรคปลายประสาทอักเสบร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดในเวลาเดียวกันโดยมักพบเส้นประสาทรับความรู้สึกอักเสบ ร่วมกับ เส้นประสาทสั่งการอักเสบบ่อยครั้ง (sensorimotor polyneuropathy) สำหรับอาการของโรคปลายประสาทอักเสบชนิดหลักๆ ได้ถูกอธิบายไว้ด้านล่างนี้

อาการของเส้นประสาทรับความรู้สึกอักเสบ (Sensory neuropathy)

เส้นประสาทรับความรู้สึกอักเสบจะมีอาการดังนี้:

  • รู้สึกแสบ เสียวซ่า เป็นเหน็บ รู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่ม
  • รู้สึกชาและรู้สึกปวดน้อยลง รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อยลง โดยเฉพาะที่เท้า
  • ปวดแสบร้อน หรือปวดเจ็บแปลบ โดยเฉพาะที่เท้า
  • รู้สึกปวดจากสิ่งที่ไม่ควรปวด เช่น การสัมผัสที่เบามาก
  • สูญเสียการทรงตัว หรือการประสานงาน เนื่องจากความสามารถในการบอกตำแหน่งของเท้าและมือลดน้อยลง

อาการของเส้นประสาทสั่งการอักเสบ (motor neuropathy)

เส้นประสาทสั่งการอักเสบ จะมีอาการดังนี้:

  • กล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อใดกล้ามเนื้อหนึ่งหรือมากกว่า
  • กล้ามเนื้อเล็กลง
  • เท้าห้อยตก-ยกเท้าหรือนิ้วเท้าได้ยากลำบากมากขึ้น จะเห็นได้ชัดเมื่อเดิน

อาการของเส้นประสาทอัตโนมัติอักเสบ (Autonomic neuropathy)

ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เส้นประสาทอัตโนมัติจะทำให้มีอาการหลากหลายขึ้นกับบริเวณของร่างกายที่ได้รับความเสียหาย

อาการของเส้นประสาทอัตโนมัติอักเสบ ได้แก่:

  • ท้องผูก หรือ ท้องเสีย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • รู้สึกคลื่นไส้ ท้องอืด เรอ
  • ความดันโลหิตต่ำ (ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง) ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เมื่อลุกขึ้นยืน
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ หรือเหงื่อออกน้อยผิดปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ เช่น หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
  • ไม่สามารถขับปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะได้หมด
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่ (สูญเสียการควบคุมลำไส้)

อาการของเส้นประสาทอักเสบเส้นเดียว (mononeuropathy)

ขึ้นอยู่บริเวณของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจมีอาการดังนี้:

  • การรับความรู้สึกเปลี่ยนไป หรืออ่อนแรงที่นิ้วมือ
  • มองเห็นภาพซ้อน หรือปัญหาอื่นในการมองเห็น ในบางครั้งจะพบร่วมกับอาการปวดตา
  • อ่อนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า (Bell's palsy)
  • เท้าหรือหน้าแข็ง ปวด อ่อนแรง หรือการรับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป

ชนิดของเส้นประสาทอักเสบเส้นเดียวที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ (carpal tunnel syndrome) โดย carpal tunnel คืออุโมงค์ขนาดเล็กที่ข้อมือ

โรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ คือมีการกดทับของเส้นประสาท median nerve ที่ผ่านอุโมงค์นี้ อาจทำให้มีอาการเสียวซ่า ชา ปวด ที่นิ้วมือ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/peripheral-neuropathy#symptoms


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Peripheral neuropathy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/peripheral-neuropathy/)
Peripheral neuropathy: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/147963)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป