กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Sleep Apnea (หยุดหายใจขณะหลับ)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นยากต่อการวินิจฉัย เนื่องจากมีหลายอาการที่เกิดขึ้นขณะที่คุณกำลังหลับอยู่ การมีคนคอยช่วยสังเกตอาการขณะนอนหลับ และให้ความเห็นจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก หรืออาจเป็นการอัดคลิปวีดีโอ หรืออัดเสียงขณะคุณหลับเพื่อให้เห็นอาการที่เกิดขึ้นตลอดทั้งคืนก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้เช่นกัน สำหรับการวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ซักประวัติเกี่ยวกับอาการของคุณ และอาจให้เข้ารับการตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test)

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • กรนเรื้อรังเสียงดัง
  • มีการสำลัก หายใจรุนแรง หายใจเฮือก ขณะกำลังหลับ
  • มีการหยุดหายใจขณะหลับ
  • สะดุ้งผวา รู้สึกเหมือนขาดอากาศหายใจ
  • รู้สึกปากแห้ง หรือเจ็บคอเมื่อตื่นนอน
  • ปวดศีรษะตอนเช้า
  • นอนหลับให้สนิทลำบาก
  • มีปัสสาวะบ่อยขึ้นตอนกลางคืน
  • หงุดหงิดอารมณ์แปรปรวน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ หรือสมาธิ
  • นอนตะแคง พลิกตัว
  • มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน แม้ว่าจะนอนหลับมามากแค่ไหนก็ตาม
  • มีอาการเผลอหลับ ขณะนั่งเงียบๆ ในช่วงเวลาระหว่างวัน

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นยากที่จะตรวจพบได้ในเด็ก แต่ในเด็กภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะส่งผลทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น

  • ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หรือมีพฤติกรรมรบกวนและขัดขวางอย่างผิดปกติ (Disruptive)
  • การเรียนในโรงเรียนไม่ดี (Poor school performance)
  • ฉี่รดที่นอน (Bedwetting)
  • ฝันผวา (Night Terror)
  • มีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน

และอีกอาการของเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคือ เด็กจะหายใจผ่านทางปากในช่วงระหว่างวัน แทนการหายใจด้วยจมูก

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ไม่ว่าใครก็สามารถมีภาวะหยุดหายใจได้ทั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับเพศ อายุ หรือเชื้อชาติ เพียงแต่คุณจะมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจเพิ่มขึ้นได้ ถ้าคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • น้ำหนักเกิน
  • มีต่อมทอนซิล (Tonsil) หรือ ต่อมอดีนอยด์ (Adenoid) โต
  • อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • มีคนในครอบครัว หรือญาติที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เพศชาย
  • สูบบุหรี่
  • มีโรคทางกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) หรือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดถุงน้ำในรังไข่ ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)
  • มีผิวเข้ม 
  • มีคอหนา (เส้นรอบวงรอบคอมากกว่า 15.75 นิ้ว)
  • ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated nasal septum) หรือ คางสั้น (Receding chin)
  • ภูมิแพ้ หรือมีปัญหาอื่นที่ทำให้เกิดการคัดจมูกได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในหญิงตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และสรีระร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในหญิงตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง หรือ เป็นเบาหวาน

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep apnea test)

แพทย์อาจจะให้คุณเข้าตรวจสุขภาพการนอนหลับในการช่วยวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยจะบันทึกการหายใจ และการทำงานต่างๆ ของร่างกายขณะคุณกำลังนอนหลับ

วิธีวินิจฉัยความผิดปกติระหว่างนอนหลับ

การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ (Nocturnal polysomnogram) การทดสอบนี้คุณต้องนอนค้างที่ศูนย์การนอนหลับ (Sleep center or lab) โดยระหว่างที่คุณนอนหลับ จะมีตัวจับสัญญาณที่คอยบันทึกการทำงานของปอด หัวใจ และสมอง รวมถึงการขยับตัวของร่างกาย รูปแบบการหายใจ และระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้าน (Home sleep tests) 

คุณจะได้รับชุดทดสอบเพื่อที่จะใช้ตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้านได้ ชุดการตรวจนี้จะเป็นเครื่องขนาดพกพาได้ ซึ่งจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ รูปแบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และกระแสลมที่ผ่านระหว่างที่คุณนอนหลับ นอกจากนี้ อุปกรณ์ชุดนี้ยังมีความซับซ้อนน้อยกว่าการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ (Nocturnal Polysomnogram) ด้วย

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apena) จะสามารถลดอาการและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ได้ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับเพียงเล็กน้อย แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนกิจวัตรชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจะมีเนื่อเยื่อบริเวณหลังคอมาก การลดน้ำหนักจึงจะสามารถช่วยเปิดทางเดินหายใจและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ 

แต่หากผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงไปกว่านั้น ก็ต้องได้รับการรักษาที่นอกเหนือไปจากนี้ เช่น 

1. การรักษาด้วยเครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ 

การรักษาโดยใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้เครื่องเป่าความดันอากาศผ่านทางหน้ากากที่จะให้ผู้ป่วยใส่ขณะนอนหลับ และความดันนี้จะช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนบนให้เปิดออก เพื่อป้องกันการหยุดหายใจและการกรน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เครื่อง CPAP จะใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และการรักษานี้จะให้ผลดีที่สุด หากผู้ป่วยใช้เครื่องนี้ตลอดการนอนหลับทุกคืน

นอกจากนี้ การรักษาด้วยเครื่อง CPAP จะทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น และไม่รู้สึกอ่อนเพลียในวันถัดไปด้วย อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลังภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง 

แต่ในข้อดีของการรักษาวิธีนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่ นั่นคือความใหญ่เทอะทะของตัวเครื่องซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัว และผู้ป่วยหลายรายก็ไม่สามารถทนต่อการใช้เครื่อง CPAP ต่อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการรักษา

นอกจากเครื่อง CPAP แล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นๆ สำหรับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีก ได้แก่

  • เครื่อง CPAP ที่ปรับความดันอัตโนมัติ (Auto-CPAP) : เครื่องมือชนิดนี้จะช่วยปรับระดับความแรงของความดันอากาศให้ระหว่างที่ผู้ป่วยนอนหลับได้
  • เครื่องช่วยหายใจแบบความดันบวก 2 ระดับ (Bilevel Positive Airway Pressure: BiPAP) : ความดันบวกแบบ 2 ระดับจะช่วยอัดแรงดันมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยหายใจเข้า และจะลดต่ำลงเมื่อหายใจออก ซึ่งจะส่งผลให้ปอดของผู้ป่วยมีการขยายตัว และการหายใจออกระหว่างนอนหลับก็จะเป็นไปอย่างง่ายดายขึ้น
  • การรักษาด้วยการใช้โหมดการหายใจแบบเอเอสวี (Adaptive Support Ventilation: ASV) : สำหรับลักษณะการรักษาด้วยวิธีนี้คือ เครื่องช่วยหายใจจะจำลักษณะการหายใจปกติของผู้ป่วยและเก็บไว้เป็นข้อมูล จนเมื่อผู้ป่วยหลับอีกครั้ง เครื่องช่วยหายใจก็จะสร้างแรงดันโดยคงลักษณะการหายใจปกติของผู้ป่วยไว้ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างซับซ้อนมักจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ 
  • เครื่องมือในช่องปาก (Oral appliances) : เป็นการรักษาโดยให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ไว้ในปากเพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจทรุดตัว โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยพยุงลิ้นและขากรรไกรไม่ให้ตกไปด้านหลัง แต่ให้เลื่อนมาข้างหน้าแทน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น การรักษาโดยเครื่องมือในช่องปากจะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับน้อยถึงปานกลาง อีกทั้งยังเป็นการรักษาที่ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการรักษาแบบใช้เครื่อง CPAP ด้วย
  • ใช้ออกซิเจนเสริม (Supplemental oxygen) : เป็นการรักษาโดยใช้เครื่องมือเสริมเพื่อให้มีออกซิเจนเติมเข้าปอดมากขึ้น ส่วนมากมักใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรง

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

โดยปกติแล้ว การรักษาโดยใช้วิธีการผ่าตัดนั้นจะกระทำก็ต่อเมื่อวิธีการรักษาแบบอื่นใช้ไม่ได้ผล แต่ในผู้ป่วยบางราย การผ่าตัดก็จะถูกพิจารณาให้เป็นการรักษาในอันดับต้นๆ แล้วแต่อาการและการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งการผ่าตัดโดยทั่วไปแล้วมีวิธีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่และเพดานอ่อน (Uvulopalatopharyngoplasty: UPPP) : ในการผ่าตัดนี้ แพทย์จะตัดเนื้อเยื่อที่หย่อนยานบริเวณคอหอย ต่อมทอนซิล และลิ้นไก่ออก เพื่อให้เพดานปากส่วนหลัง หรือที่เรียกอีกชื่อว่า "เพดานอ่อน" มีความกระชับและสั้นลง แต่ข้อเสียของการผ่าตัดแบบนี้คือ ผู้ป่วยอาจต้องเสียเลือดจากการผ่าตัดในปริมาณมากและจะมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัดมากกว่า รวมถึงต้องพักฟื้นเป็นระยะเวลานาน
  • การใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction: RFVTR) : เป็นการผ่าตัดโดยแพทย์จะใช้เข็มพิเศษเจาะเข้าไปในบริเวณเพดานอ่อน ต่อมทอนซิลและโคนลิ้น จากนั้นภายในเข็มจะนำคลื่นความถี่สูงซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนได้และทำให้เนื้อเยื่อที่อุดกั้นทางเดินหายใจโดยรอบหดตัวเล็กลง จากนั้นทางเดินหายใจของผู้ป่วยก็จะกว้างมากขึ้น ส่งผลให้หายใจได้สะดวกดีขึ้นกว่าเดิม
  • การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาด้านหน้า (Maxillomandibular Advancement) : เป็นการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนโครงสร้างขากรรไกร และทำให้พื้นที่ของคอหอยส่วนจมูก คอหอยส่วนปาก คอหอยส่วนกล่องเสียง และทางเดินหายใจส่วนหลังมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้การหย่อนของเนื้อเยื่อคอหอยมีขนาดลดลง และทำให้การอุดกั้นช่องทางเดินหายใจส่วนหลังของผู้ป่วยลดลงไปด้วย
  • การฝังไหมที่เพดานอ่อน (Implants) : แพทย์จะเลือกใส่วัสดุคล้ายไหมพลาสติก (plastic rods) เข้าไปยังเพดานอ่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวยึดแข็งตัวมากขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้ไปขัดขวางทางเดินหายใจ
  • การเจาะหลอดลมคอ (Tracheostomy) : ในการผ่าตัดนี้ แพทย์จะทำการเปิดทางเดินหายใจหรือหลอดลมคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจเข้าไป โดยผู้ป่วยสามารถปิดท่อช่วยหายใจในช่วงระหว่างวันได้ แต่ในตอนกลางคืนต้องเปิดเพื่อให้มีอากาศผ่านเข้าไปในปอดได้โดยไม่มีอะไรในลำคอขัดขวาง การผ่าตัดนี้มักไว้สำหรับรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรง หรือในผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาแบบอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
  • การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) และ การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์ (Adenoidectomy) : เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะตัดต่อมทอนซิลหรือต่อมอดีนอยด์ออก
  • การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric surgery) : การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักอาจช่วยบรรเทาอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน นอกจากนี้ วิธีการผ่าตัดแบบนี้ยังเป็นที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแทรกซ้อนอื่นซึ่งเป็นผลมาจากภาวะที่มีน้ำหนักตัวมากเกินอีกด้วย
  • การผ่าตัดในโพรงจมูก (Nasal surgery) เพื่อเปิดช่องให้อากาศผ่านเข้าทางโพรงจมูกได้ง่ายขึ้น เช่น การผ่าตัดเพื่อตัดริดสีดวงจมูกออก (Nasal Polyps) หรือ การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด (Septoplasty

4. การรักษาอื่นๆ ด้วยตนเองที่บ้าน

นอกเหนือจากการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันบางอย่างก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่น

  • นอนตะแคง: หากผู้ป่วยเป็นผู้ที่ชอบนอนหงาย การนอนแบบนี้จะทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกลงมาจนไปปิดกั้นทางเดินหายใจได้ การเปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคงอาจช่วยให้การหายใจสะดวกขึ้น
  • เปิดทางเดินโพรงจมูกให้โล่ง: โดยอาจเลือกใช้น้ำเกลือพ่น หรือ แผ่นแปะจมูกแก้กรน (Breathing strips) เพื่อช่วยให้โพรงจมูกเปิดโล่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ: เพราะยาเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังคอคลายตัวและทำให้การหายใจแย่ลง
  • นอนพักผ่อนให้เป็นเวลา: การเข้านอนและตื่นเวลาเดิมเป็นกิจวัตรจะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้ดีขึ้น
  • ร้องเพลง หรือเล่นเครื่องเป่าลมไม้ (Wind instruments) : มีผู้ป่วยหลายรายที่อาการหยุดหายใจขณะหลับลดลงหลังเริ่มทำกิจกรรมดังกล่าว เนื่องมาจากการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อในคอและเพดานอ่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว การทำ Sleep Test ตรวจการนอน ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต | HDmall
รีวิว ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
รีวิว ปรึกษาแพทย์เรื่องนอนไม่หลับ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


43 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MedlinePlus, Sleep apnea (https://medlineplus.gov/sleepapnea.html).
Sleep apnoea. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/sleep-apnoea/)
Obstructive Sleep Apnea: Types, Causes & Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sleep/obstructive-sleep-apnea)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการนอนกรนรักษาให้หายได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนโกรนเกิดจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เคยได้ยินว่าคนที่นอนกรน มีโอกาสออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ จะมีความเสี่ยงอย่างไรค่ะ และจะสามารถรักษาได้อย่างไร รบกวนขอแนวทางด้วยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ระหว่างนอนหากมีอาการหยุดหายใจเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การนอนกรนมีวิธีรักษาให้หายไหม ต้องทำอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
วิธีแก้อาการนอนกรนทำอย่างไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)