January 24, 2017 13:08
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
"แบ่งโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจตามสาเหตุได้เป็น 3 ชนิดได้แก่
ชนิดเกิดจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea หรือเรียกย่อว่า โอเอสเอ /OSA)
ชนิดเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (Central sleep apnea หรือเรียกย่อว่า ซีเอสเอ/CSA)
และชนิดผสมโดยเป็นชนิดเกิดร่วมกันทั้งจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจและจากความ ผิดปกติของสมองส่วนกลางเรียกว่า Complex sleep apnea หรือ Mixed sleep apnea
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจชนิดเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 85% ของโรคนี้ โดยเกิดจากเมื่อนอนหลับจะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจตอนบน (จมูก ช่องปากและ/หรือลำคอ) จากสาเหตุต่างๆส่ง ผลให้ทางเดินลมหายใจตอนบนตีบแคบ จึงส่งผลให้ร่างกายขาดอากาศ สมองก็ขาดอากาศด้วย จึงทำงานลดลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหายใจลดหรือหยุดการทำงาน เกิดการหายใจได้เพียงตื้นๆ หรือเกิดการหยุดหายใจ แต่เมื่อหยุดหายใจแล้วจะเกิดภาวะคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน ร่างกาย ซึ่งภาวะนี้จะย้อนกลับไปกระตุ้นสมองให้กลับมาสั่งงานอีก ผู้ป่วยจึงสะดุ้งตื่นและกลับ มาหายใจอีก วนเวียนซ้ำๆเป็นพักๆไปตลอดทั้งคืน ก่อให้เกิดการนอนหลับไม่สนิท มีการไอกระ โชกตื่นเป็นระยะๆ ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาในการหยุดหายใจอาจนานเป็นเพียงวินาทีหรือเป็นนาที รวมทั้งจำนวนครั้งที่เกิดการสะดุ้งตื่นจะถี่หรือห่างขึ้นกับความรุนแรงของสาเหตุ โดยทั่วไปพบได้ตั้งแต่ 5 ครั้งไปจนถึง 30 ครั้งหรือมากกว่าต่อชั่วโมง
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจชนิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (Central sleep apnea)เป็นชนิดพบได้น้อยมากประมาณ 0.4% โดยเกิดจากโรคของสมองส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเนื้องอก หรือโรคมะเร็งสมอง หรือจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่กดสมองส่วนกลางเช่น ยานอนหลับ สมองจึงไม่สามารถสั่งงานได้ตามปกติโดยเฉพาะช่วงนอนหลับ รวมทั้งในการสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อช่วยการหายใจ ดังนั้นจึงเกิดภาวะผิดปกติในการหายใจ หายใจได้ตื้นๆหรือหยุดหายใจเป็นพักๆในช่วงนอนหลับ และเนื่องจากพบโรคจากสา เหตุนี้ได้น้อยมาก บทความนี้จึงจะไม่กล่าวถึงโรคจากสาเหตุนี้
โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจชนิดผสม (Complex sleep apnea) พบได้ประมาณ 15% ของโรค ซึ่งอาการและการรักษาจะเป็นไปตามสาเหตุของโรคเช่นเดียวกับทั้งในชนิดโรคเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจและโรคเกิดจากสมองส่วนกลาง ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดในบท ความนี้เช่นกัน แนวทางการรักษาโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ใน โรคระดับที่ไม่รุนแรง การรักษาอาจเพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการนอนเช่น การลดน้ำหนัก การฝึกนอนตะแคงแทนการนอนหงาย และการนอนในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง (เอนตัว) เป็น ต้น หรือการผ่าตัดต่อมทอนซิล เมื่อโรคเกิดจากต่อมทอนซิลโต หรือผ่าตัดรักษาผนังกั้นจมูกคด เมื่อโรคเกิดจากผนังจมูกคด เป็นต้น
เมื่ออาการมีระดับความรุนแรงปานกลาง อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องเฉพาะเพื่อช่วยเพิ่มความ ดันอากาศช่วงนอนหลับ เพื่อช่วยให้หายใจเอาอากาศเข้าได้ในปริมาณสูงขึ้น ซึ่งลักษณะเครื่องคล้ายกับการสวมหน้ากากป้องกันควันพิษ ซึ่งอาจเป็นที่ครอบจมูกและปากหรือสวมเข้าในโพรงจมูกโดยตรง
เมื่ออาการรุนแรงหรือใช้วิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล การรักษาอาจเป็นการผ่าตัดเพดานแข็งและเพดานอ่อน หรือผ่าตัดกระดูกกราม หรือการเจาะคอเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ
อนึ่ง การจะเลือกวิธีรักษาอย่างไรขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะประเมินจากสาเหตุ ความรุนแรงของอาการ การล้มเหลวจากการใช้วิธีการรักษาต่างๆ และความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาที่ผ่านมา"
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ระหว่างนอนหากมีอาการหยุดหายใจเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)